ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คองคอร์ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: ลิงก์บทความคัดสรร hr:Concorde
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: ลิงก์บทความคัดสรร zh:协和飞机
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
{{Link FA|af}}
{{Link FA|af}}
{{Link FA|hr}}
{{Link FA|hr}}
{{Link FA|zh}}


[[af:Concorde]]
[[af:Concorde]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:26, 21 ธันวาคม 2554

เครื่องบินคองคอร์ด

เครื่องบินคองคอร์ด (อังกฤษ: Concorde) เป็นเครื่องบินขนส่งชนิดมีความเร็วเหนือเสียง เป็นหนึ่งในสองแบบของเครื่องบินเหนือเสียงที่ใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร และนำมาให้บริการในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี เครื่องคองคอร์ดต้นแบบเครื่องแรกบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1969 ทดสอบและพัฒนาอีก 4 ปี โดยคองคอร์ดเครื่องแรกออกจากสายการผลิตและเริ่มบินทดสอบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนนำมาผลิตใช้เวลากว่า 13 ปีเต็มใช้เงินในการพัฒนากว่า 1,000 ล้านปอนด์ [1]

เครื่องบินคองคอร์ดมีความเร็วปกติที่ มัค 2.02 และเพดานบินสูงสุด 60,000 ฟุต (18,288 เมตร) มีปีกสามเหลี่ยม และเป็นวิวัฒนาการจากเครื่องบิน Afterburner ที่เดิมนั้นพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในเครื่องบินทิ้งระเบิด Avro Vulcan นับเป็นเครื่องบินพลเรือนแบบแรกที่ติดระบบควบคุมการบินอะนาลอกแบบฟลายบายไวร์ (fly-by-wire)

การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดยบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีเที่ยวบิน “เกษียณอายุ” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3.5 ชั่วโมง

เครื่องบินคองคอร์ด และเครื่องบินคู่แข่ง คือ ตูโปเลฟ ตู-144 มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ ซึ่งส่วนหัวของเครื่องบินจะต้องเชิดขึ้น ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น ลงจอด และขณะอยู่บนแทกซี่เวย์ ส่วนหัวของคองคอร์ดปรับทำมุมกดได้ 12.5°

เครื่องบินคองคอร์ด มีทั้งสิ้น 20 ลำ เป็นเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา 6 ลำ ใช้งานเชิงพาณิชย์ 14 ลำ ตก 1 ลำ

การเกิดอุบัติเหตุ

คองคอร์ดมีสถิติเกิดอุบัติเหตุตกเพียงครั้งเดียว คือ เที่ยวบิน 4590 ของแอร์ฟรานซ์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 หลังทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานใกล้กรุงปารีส มีผู้เสียชีวิต 113 คน

ผลการสอบสวนสรุปว่าสาเหตุการตก เนื่องจากมีชิ้นส่วนโลหะที่หลุดออกมาจากเครื่องบินดีซี-10 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ ซึ่งบินขึ้นก่อนหน้านั้น 4 นาที กระแทกกับยางล้อด้านซ้ายของเครื่องเที่ยวบิน 4590 ขณะกำลังเร่งเครื่องเพื่อบินขึ้น ยางล้อเกิดระเบิดและมีชิ้นส่วนของยางกระเด็นไปกระแทกถังน้ำมัน และสายไฟ และเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น ในขณะนั้นเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินได้แจ้งนักบิน นักบินได้ตัดการทำงานของเครื่องยนต์ และพยายามยกเลิกการบินขึ้น แต่เครื่องบินเสียการทรงตัวและกระแทกพื้น เกิดการระเบิด ผู้โดยสาร 100 คน เจ้าหน้าที่บนเครื่อง 9 คน และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน 4 คน เสียชีวิต

มีการระงับการบินของคองคอร์ดทุกเที่ยวบินเพื่อสอบสวนหาสาเหตุและแก้ไข คองคอร์ดเที่ยวบินแรกหลังอุบัติเหตุ ทำการบินทดสอบเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 และทำการบินพร้อมผู้โดยสารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 วันเดียวกับการเกิดวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

ความตกต่ำของอุตสาหกรรมการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้แอร์ฟรานซ์และบริติชแอร์เวย์ ตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้งานเครื่องบินคองคอร์ดทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนสูง

รายละเอียด คองคอร์ด

คองคอร์ตขณะกำลังบินขึ้น (สังเกต ส่วนหัวของเครื่องบินที่ปรับทำมุมลง เพื่อให้นักบินมองเห็นสภาพสนามบิน)
  • ผู้สร้าง: บริษัท บีเอซี/แอโรสปาติออง (อังกฤษ/ฝรั่งเศส)
  • ประเภท: เจ๊ตโดยสารความเร็วเหนือเสียง เจ้าหน้าที่ 3 นาย อัตราผู้โดยสาร 128 ที่นั่ง
  • เครื่องยนต์: เทอร์โบเจ๊ต รอลส์-รอยซ์/สเนคมา โอลิมปัส 593 หมายเลข 610 ให้แรงขับเครื่องละ 17,260 กิโลกรัม และเพิ่มแรงขับอีก 17% เมื่อใช้สันดาปท้าย จำนวน 4 เครื่อง พร้อมเครื่องเก็บเสียง และ อุปกรณ์กลับแรงขับ
  • กางปีก: 25.60 เมตร
  • ยาว: 62.17 เมตร
  • สูง: 12.19 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 358.25 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 78,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกปกติ: 11,340 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุด: 12,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 185,065 กิโลกรัม
  • น้ำหนักร่อนลงสูงสุด: 111,130 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วเดินทางขั้นสูง: 2.04 มัค (2179กิโลเมตร/ชั่วโมง)
  • อัตราไต่ที่ระดับน้ำทะเล: 1,525 เมตร
  • เพดานบินใช้งาน: ประมาณ 18,290 เมตร
  • อัตราเร็ววิ่งขึ้น: 397 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วร่อนลง: 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • ระยะทางวิ่งขึ้นพ้น 10.7 เมตร: 3,410 เมตร
  • ระยะทางร่อนลงจาก 10.7 เมตร: 2,220 เมตร
  • พิสัยบิน: 4,900 กิโลเมตร เมื่อมีภารกรรมบรรทุกสูงสุด
    • 7,215 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงสูงสุด

[1]

คองคอร์ดในประเทศไทย

เครื่องบินคองคอร์ด เคยลงจอดที่ท่าอากาศยานกรุงเทพหลายครั้ง และเคยมีเที่ยวบินพิเศษ กรุงเทพ-เชียงใหม่ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 [2]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
  2. http://www.thaiflight.com/mach/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=182417&highlight=


แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA