ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชะอม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Vagobot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: my:ဆူးပုပ်ကြီး
บรรทัด 47: บรรทัด 47:


[[en:Acacia pennata]]
[[en:Acacia pennata]]
[[my:ဆူးပုပ်ကြီး]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:25, 16 ธันวาคม 2554

ชะอม
ไฟล์:ชะอม.jpg
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Acacia
สปีชีส์: A.  pennata
ชื่อทวินาม
Acacia pennata
(L.) Willd.

ชะอมเป็นพืช ที่นิยมรับประทานในทุกภาค เป็นพืชยื่นต้น ใช้ใบแก่และอ่อน เป็นสมุนไพร ของไทย

ข้อมูล

ลำต้นของชะอมมีหนาม ใบมีขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุน ใบอ่อนของชะอมหรือส่วนยอดของใบสามารถนำมารับประทานได้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแต่ละภาค โดยมากมักปลูกตามรั้วบ้านเนื่องจากมีหนามแล้วยังเป็นผักที่ทานได้ตลาดทั้งปี


ชื่อทางวิทยาศาสตร์

Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen[1]


การปลูก

ปลูกโดย การปักชำ เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน โดยไม่ได้ต่อตาหรือชำกิ่ง ส่วนมากใช้การเพาะเมล็ด เนื่องจากได้ต้นที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศและยังมีหนามมากกว่าการปลูกด้วยวิธีปลูกแบบอื่น

รูปแบบการเพาะนำเมล็ดใส่ถุงพลาสติก รดน้ำวันละครั้ง เมื่อเมล็ดงอกทำการย้ายลงดิน ปลูกห่างกันประมาณ 1 เมตร บำรุงต้นด้วย ปุ๋ยสดหรือมูลสัตว์ การเก็บยอดควรเหลือยอดไว้ 3-4 ยอด เพื่อให้ต้นได้โต ควรปลูกในฤดูร้อนช่วยรดน้ำเจริญดีกว่าปลูกในฤดูฝนหากปลูกในฤดูฝนชะอม มีโอากาศเมล็ดเน่าได้มาก ชะอมไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวนหากพบโรคป้องกันโดยใช้ ปูนขาวโรยรอบโคนต้นหรือจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาวก่อนปลูก ส่วนแมลงมีหนอนกินยอดชะอม ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุก ๆ 8 วัน ควรเก็บยอดชะอมหลังฉีดยาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วันสามารถเก็บเกี่ยวจากต้นที่ปลูกกิ่งตอนได้ประมาณ 10 -15 วัน ตัดยอดขายได้ ทุก ๆ 2 วัน ควรบำรุงและดูแลต้นอย่างสม่ำเสมอ

การรับประทาน

ไฟล์:ชะอมไข่.jpg
รูปไข่ทอดกับชะอม
  • นำยอดชะอมมาต้มหรือลวก รับประทานร่วมกับน้ำพริก
  • ใส่ลงพร้อมใข่เจียว

หรือนำไปประยุกต์กับอาหารตามชอบ

สรรพคุณทางยา

  • ราก แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ่อ ขับลมในลำใส้[2]
  • แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง[3]

รายอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น