ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักฟิสิกส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มาร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
มาร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
* [[แมก บอร์น]] (Max Born) ([[พ.ศ. 2425]]-[[พ.ศ. 2513]])
* [[แมก บอร์น]] (Max Born) ([[พ.ศ. 2425]]-[[พ.ศ. 2513]])
* [[นีลส์ บอร์]] (Niels Bohr) ([[พ.ศ. 2428]]-[[พ.ศ. 2505]])
* [[นีลส์ บอร์]] (Niels Bohr) ([[พ.ศ. 2428]]-[[พ.ศ. 2505]])
* [[เวอเนอ ไฮเซนเบริก]] (Werner Heisenberg) ([[พ.ศ. 2444]]-[[พ.ศ. 2519]])
* [[แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก]] (Werner Heisenberg) ([[พ.ศ. 2444]]-[[พ.ศ. 2519]])
* [[ริชาร์ด ไฟน์แมน]] (Richard Feynman) ([[พ.ศ. 2461]]-[[พ.ศ. 2531]])
* [[ริชาร์ด ไฟน์แมน]] (Richard Feynman) ([[พ.ศ. 2461]]-[[พ.ศ. 2531]])
* [[สตีเฟน ฮอว์คิง]] (Stephen Hawking) ([[พ.ศ. 2485]]-)
* [[สตีเฟน ฮอว์คิง]] (Stephen Hawking) ([[พ.ศ. 2485]]-)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:41, 11 ธันวาคม 2554

นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้นๆ

การศึกษา

นักฟิสิกส์ได้รับการจ้างงานในหลายสาขา อย่างต่ำที่สุดต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในงานวิจัย ต้องการผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาตรีส่วนใหญ่ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ เคมี และ ฟิสิกส์ ในหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า นิสิตนักศึกษามักต้องเน้นความเชี่ยวชาญไปทางสาขาเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ได้แก่ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ( Astrophysics) , ชีวฟิสิกส์ (Biophysics) , ฟิสิกส์เชิงเคมี (Chemical physics) , ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) , วัสดุศาสตร์ (Material science) , ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (Nuclear physics) , ทัศนศาสตร์ (Optics) , ฟิสิกส์ของอนุภาค (Particle physics) , และฟิสิกส์พลาสมา (Plasma physics) ตำแหน่งนักวิจัยหรือบริหารด้านวิจัยอาจต้องการผู้จบการศึกษาระดับหลังปริญญาเอก

การจ้างงาน

ผู้จ้างงานของนักฟิสิกส์ที่สำคัญมี 3 กลุ่มได้แก่ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐบาล และอุตสาหกรรมภาคเอกชนซึ่งนับเป็นผู้จ้างรายใหญ่ที่สุดในประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนเป็นนักฟิสิกส์ยังสามารถใช้ทักษะของตนในเศรษฐิกิจภาคอื่นได้ด้วย โดยเฉพาะด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์และการเงิน นักฟิสิกส์บางคนอาจศึกษาเพิ่มเติมในสาขาที่ฟิสิกส์สามารถเชื่อมโยงต่อเนื่องได้ เช่น นักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรในภาคอุตสาหกรรม หรือในสำนักงานอิสระ [1]

นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียง

ไฟล์:Feynmanthales.png
ริชาร์ด ไฟน์แมนนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. AIP Statistical Research Center. "Initial Employment Report, Table 1". {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessmonthday= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)

หนังสือเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น