ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรจีนตัวเต็ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
タチコマ robot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: jv:Aksara Cina tradhisional
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
[[it:Caratteri cinesi tradizionali]]
[[it:Caratteri cinesi tradizionali]]
[[ja:繁体字]]
[[ja:繁体字]]
[[jv:Aksara Cina tradhisional]]
[[ka:ვრცელი (ტრადიციული) ნიშნები]]
[[ka:ვრცელი (ტრადიციული) ნიშნები]]
[[kk:Дәстүрлі қытай жазуы]]
[[kk:Дәстүрлі қытай жазуы]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:33, 15 พฤศจิกายน 2554

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม
Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ

อักษรจีนตัวเต็ม (อังกฤษ : Traditional Chinese character) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese character (อักษรจีนดั้งเดิม) ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese Character ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

การถกเถียงเกี่ยวกับการเรียกชื่อ

ชาวจีนแต่ละที่จะเรียกชื่ออักษรจีนตัวเต็มนี้ต่างกัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีน หรือไต้หวัน เรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า "ตัวอักษรมาตรฐาน" (อักษรจีนตัวเต็ม: 正體字; อักษรจีนตัวย่อ: 正体字; พินอิน: zhèngtǐzì เจิ้งถี่จื้อ) โดยอ้างว่าอักษรจีนตัวเต็มเป็นอักษรดั้งเดิมที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้ใช้อักษรจีนตัวย่อ จะเรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า "ตัวอักษรซับซ้อน" (อักษรจีนตัวเต็ม: 繁體字; อักษรจีนตัวย่อ: 繁体字; พินอิน: fántǐzì ฝานถี่จื้อ) หรือเรียกว่า "ตัวอักษรเก่า" (老字; พินอิน: lǎozì เหล่าจื้อ) โดยอ้างว่าอักษรจีนตัวเต็มถูกแทนที่แล้ว และไม่ได้นำมาใช้อีก

กลุ่มผู้ใช้อักษรจีนตัวเต็ม โต้แย้งว่า อักษรจีนตัวเต็มไม่ควรถูกเรียกว่า "ตัวอักษรซับซ้อน" เนื่องด้วยอักษรจีนตัวเต็มไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ซับซ้อนขึ้นแต่อย่างใด เป็นเพียงการใช้มาแต่โบราณ ในทางกลับกัน กลุ่มผู้ใช้อักษรจีนตัวย่อ ก็โต้แย้งกับชื่อ "ตัวอักษรมาตรฐาน" ด้วยเห็นว่าอักษรจีนตัวย่อเป็นอักษรมาตรฐานใหม่ และยังแย้งอีกว่าอักษรจีนตัวเต็มไม่ใช่อักษรดั้งเดิมที่แท้จริง เพราะอักษรจีนมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดแต่โบราณ

ชาวจีนสูงอายุมักเรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า "ตัวอักษรสมบูรณ์" (正字; พินอิน: zhèngzì เจิ๋งจื้อ) และเรียกอักษรจีนตัวย่อว่า "ตัวอักษรขีดง่าย" (อักษรจีนตัวเต็ม: 簡筆字; อักษรจีนตัวย่อ: 简笔字; พินอิน: jiǎnbǐzì เจี๋ยนปี่จื้อ) หรือ "ตัวอักษรลดขีด" (อักษรจีนตัวเต็ม: 減筆字; อักษรจีนตัวย่อ: 减笔字; พินอิน: jiǎnbǐzì เจี๋ยนปี่จื้อ)

หมายเหตุ: คำว่า ง่าย 簡 และ ลด 減 ทั้งคู่อ่านออกเสียงว่า jiǎn เจี่ยน เหมือนกัน

สิ่งพิมพ์

ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ตามปกติแล้ว ประชาชนในจีนแผ่นดินใหญ่และสิงคโปร์นิยมใช้อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน พัฒนาขึ้นในยุค 1950 อย่างไรก็ตาม ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนพิมพ์สื่อที่จะนำเผยแพร่นอกจีนแผ่นดินใหญ่โดยใช้อักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในการเขียน คนส่วนมากจะเขียนตัวอักษรแบบหวัด ขีดบางขีดของตัวอักษรอาจถูกย่อ ซึ่งแล้วแต่ลายมือของแต่ละบุคคล โดยส่วนมากแล้ว คนนิยมเขียนโดยใช้ตัวอักษรที่เลือกได้ (異體字) คือ การเลือกเขียนตัวอักษรที่มีความหมายเดียวกัน แต่เลือกตัวที่ขีดน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น เขียน 体 แทน 體 ตัวอักษรที่เลือกได้เหล่านี้ยังคงเป็นตัวอักษรตัวเต็ม แต่ผู้คนมักเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆว่าเป็นอักษรจีนตัวย่อ แม้การใช้ตัวอักษรที่เลือกได้จะไม่เป็นมาตรฐาน แต่ก็เป็นที่ยอมรับโดยที่วไป และใช้กันอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างที่สำคัญเช่น คำว่า ไต้หวัน (台灣 Táiwān ไถวาน) นิยมใช้ 台 แทน 臺 ซึ่งเป็นตัวอักษรมาตรฐาน

อ้างอิง

  • Huang, Jack. Huang, Tim. [1989] (1989) Introduction to Chinese, Japanese, and Korean Computing. World Scientific publishing. ISBN 9971-5-0664-5