ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผังอาสนวิหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ca:Planta de catedral
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
ด้านหน้าวัดหรือด้านที่มีการตกแต่งจะเรียกกันว่า Facade หรือ façade ตามความหมายของศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า “ด้านหน้าวัด” ซึ่งถ้ากล่าวถึงมหาวิหารจะเป็นความหมายที่ออกจะกำกวม เพราะคำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส “frontage” หรือ “หน้า” ซึ่งด้านหน้าที่กล่าวถึงนี้หมายถึงด้านนอกด้านใดด้านหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นด้านหน้าของตัวอาคารจริงๆ แต่ก็จะไม่เสมอไป “facade” อาจจะอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของมหาวิหารก็ได้ เช่นที่[[มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอาเมียงส์]]ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]]ที่มีการตกแต่ง “facade” ถึงสามด้าน
ด้านหน้าวัดหรือด้านที่มีการตกแต่งจะเรียกกันว่า Facade หรือ façade ตามความหมายของศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า “ด้านหน้าวัด” ซึ่งถ้ากล่าวถึงมหาวิหารจะเป็นความหมายที่ออกจะกำกวม เพราะคำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส “frontage” หรือ “หน้า” ซึ่งด้านหน้าที่กล่าวถึงนี้หมายถึงด้านนอกด้านใดด้านหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นด้านหน้าของตัวอาคารจริงๆ แต่ก็จะไม่เสมอไป “facade” อาจจะอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของมหาวิหารก็ได้ เช่นที่[[มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอาเมียงส์]]ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]]ที่มีการตกแต่ง “facade” ถึงสามด้าน


== โถงทางเข้าโบสถ์ ==
== ปฏิมณฑล ==
{{Main|โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์}}
{{Main|ปฏิมณฑล}}
“[[ปฏิมณฑล]]” (ภาษาอังกฤษ: Narthex) คือบริเวณทางเข้าที่เป็นบริเวณรับรองที่ตั้งอยู่ตอนปลายสุดของ[[ช่องทางเดินกลาง]]ด้านตรงข้ามกับบริเวณที่ตั้งของแท่นบูชาเอกที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวสิ่งก่อสร้างหลัก ตามธรรมเนียมเป็นบริเวณสำหรับผู้ไม่มีสิทธิในการเข้าร่วมพิธีกับศาสนิกชนที่เป็นสมาชิกของวัดอื่นๆ เช่นผู้ที่ยังไม่ได้รับศีลจุ่มหรือผู้ที่มีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งในการเข้าร่วมพิธีในบริเวณที่จัดให้เฉพาะ
“[[โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์|โถงทางเข้าโบสถ์]]” ({{lang-en|narthex}}) คือบริเวณทางเข้าที่เป็นบริเวณรับรองที่ตั้งอยู่ตอนปลายสุดของ[[บริเวณกลางโบสถ์]]ด้านตรงข้ามกับบริเวณที่ตั้งของแท่นบูชาเอกที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวสิ่งก่อสร้างหลัก ตามธรรมเนียมเป็นบริเวณสำหรับผู้ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมพิธีกับศาสนิกชนที่เป็นสมาชิกของวัดอื่น ๆ เช่นผู้ที่ยังไม่ได้รับศีลจุ่มหรือผู้ที่มีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งในการเข้าร่วมพิธีในบริเวณที่จัดให้เฉพาะ


== ช่องทางเดินกลาง ==
== ช่องทางเดินกลาง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:19, 9 พฤศจิกายน 2554

ผังของมหาวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข

แผนผังมหาวิหาร (ภาษาอังกฤษ: Cathedral diagram หรือ Cathedral plan หรือ Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของมหาวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขวา

ด้านหน้าของวัด

ด้านหน้าของวัดที่เรียกว่า “มุขตะวันตก” (West front) เพราะตำแหน่งที่ตั้งของมหาวิหารมักจะเป็นแนวตะวันตกตะวันออก ด้านตะวันตกถือว่าเป็นด้านหน้าของวัด บางวัดที่ไม่สามารถวางตามทิศที่ว่าก็ยังเรียกด้านหน้าวัดว่า “มุขตะวันตก” ด้านนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่สุดภายนอกของวัดและจะมีการตกแต่งมากที่สุดและจะมีประตูใหญ่สำหรับขบวนพิธี ส่วนใหญ่จะมีสามประตูและมักจะตกแต่งด้วยกลุ่มรูปปั้นรอบประตู ทำด้วยหินอ่อน หรือหินที่แกะสลักอย่างวิจิตร เหนือประตูเป็นสามเหลี่ยมมักจะเป็นภาพแกะสลักใหญ่ ที่นิยมแกะกันคือ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” (The Last Judgment) เหนือประตูขึ้นไปบางครั้งจะมีหน้าต่างใหญ่ หรือบางทีก็จะมีหน้าต่างกลมใหญ่เหมือนล้อที่เป็นหิน “ฉลุ” ตกแต่งด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ หรือรูปปั้นเรียงรายเป็นแถวอย่างเช่นที่มหาวิหารซอลสบรี หรือ มหาวิหารเวลส์ นอกจากนั้นมักจะมีหอคอยสองหอขนาบเช่นที่มหาวิหารโนเตรอดามที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ด้านหน้ามหาวิหาร

ผังของมหาวิหารซอลสบรีที่เป็นกางเขน สองชั้น

ด้านหน้าวัดหรือด้านที่มีการตกแต่งจะเรียกกันว่า Facade หรือ façade ตามความหมายของศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า “ด้านหน้าวัด” ซึ่งถ้ากล่าวถึงมหาวิหารจะเป็นความหมายที่ออกจะกำกวม เพราะคำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส “frontage” หรือ “หน้า” ซึ่งด้านหน้าที่กล่าวถึงนี้หมายถึงด้านนอกด้านใดด้านหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นด้านหน้าของตัวอาคารจริงๆ แต่ก็จะไม่เสมอไป “facade” อาจจะอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของมหาวิหารก็ได้ เช่นที่มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอาเมียงส์ที่ประเทศฝรั่งเศสที่มีการตกแต่ง “facade” ถึงสามด้าน

โถงทางเข้าโบสถ์

โถงทางเข้าโบสถ์” (อังกฤษ: narthex) คือบริเวณทางเข้าที่เป็นบริเวณรับรองที่ตั้งอยู่ตอนปลายสุดของบริเวณกลางโบสถ์ด้านตรงข้ามกับบริเวณที่ตั้งของแท่นบูชาเอกที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวสิ่งก่อสร้างหลัก ตามธรรมเนียมเป็นบริเวณสำหรับผู้ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมพิธีกับศาสนิกชนที่เป็นสมาชิกของวัดอื่น ๆ เช่นผู้ที่ยังไม่ได้รับศีลจุ่มหรือผู้ที่มีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งในการเข้าร่วมพิธีในบริเวณที่จัดให้เฉพาะ

ช่องทางเดินกลาง

ช่องทางเดินกลาง” (ภาษาอังกฤษ: Nave) หรือ “โถงกลาง” เป็นเนื้อที่หลักของตัวมหาวิหารจะเป็นส่วนที่แล่นยาวจากตะวันตกไปตะวันออก หรือจากประตูทางเข้าวัดไปจนถึงบริเวณประกอบพิธีกรรม เป็นพื้นที่สำหรับคริสต์ศาสนิกชนผู้มาเข้าร่วมพิธีศาสนาในมหาวิหารนั้น

คำว่า “nave” มาจาก ภาษาละตินที่แปลว่าเรือ มหาวิหารก็เปรียบเหมือนเรือสำหรับบรรทุกผู้ศรัทธาในพระเจ้าฝ่าอุปสรรคต่างๆในชีวิต นอกจากนั้นเพดานไม้ของวัดใหญ่ๆจะมีลักษณะเหมือนท้องเรือ [1]

ช่องทางเดินข้าง

ผังของมหาวิหารเซ็นต์เพาลุส (St.-Paulus-Dom) ที่เมือง (Münster) ประเทศเยอรมนี แสดงให้เห็นชาเปลรอบจรมุขทางด้านหลังของวัด และมุขเล็กด้านหน้าวัด ด้านเหนือเป็นระเบียงคด

“ช่องทางเดินข้าง” (ภาษาอังกฤษ: Aisle) วัดยุคแรกๆ จะไม่มีทางเดินข้างแต่เมื่อมีผู้ร่วมศรัทธาเพิ่มมากขึ้นทางวัดก็ต้องขยายให้กว้างขึ้นโดยเพิ่มทางเดินสองข้างประกบทางเดินกลาง แยกจากทางเดินกลางด้วยแนวเสาหรือซุ้มโค้ง ส่วนใหญ่เพดานเหนือทางเดินข้างจะมีระดับต่ำกว่าทางเดินกลาง “ทางเดินข้าง” ช่วยแบ่งเบาการจราจรจาก “ทางเดินกลาง” โดยเฉพาะเมื่อวัดแน่นไปด้วยผู้เข้าร่วมพิธี นอกจากนั้นยังช่วยทำให้สิ่งก็สร้างแข็งแรงขึ้นเพราะจะใช้เป็นผนังค้ำที่ยันผนังภายในไว้ในตัวทำให้ตัวสิ่งก่อสร้างสามารถรับน้ำหนักกดทับจากหลังคาที่มักจะทำด้วยหินได้

แขนกางเขน

“แขนกางเขน” หรือ “ปีกซ้ายขวา” (ภาษาอังกฤษ: Transept) ส่วนขวางที่ตัดกับช่องทางเดินกลาง มหาวิหารในประเทศอังกฤษบางมหาวิหารก็จะมีปีกซ้ายขวาซ้อนกันสองชั้นที่เป็นลักษณะเอกลักษณ์ของการสร้างมหาวิหารของอังกฤษเช่นที่มหาวิหารซอลสบรี

จุดตัด

ชาเปลที่กระจายออกไปจากมุขตะวันออกของมหาวิหารอาเมียง ที่เรียกว่า “ชาเปลดาวกระจาย” (Chevet)
Catedral de Jaen ประเทศสเปนซึ่งไม่มีมุขโค้งด้านตะวันออกอย่างวิหารอื่นและโครงสร้างสั้น

จุดตัด” (ภาษาอังกฤษ: Crossing) คือจุดที่แขนกางเขนหรือปีกซ้ายขวาตัดกับทางเดินกลาง เหนือจุดตัดมักจะเป็นหอที่มียอดแหลม หรือยอดแหลมเฉยๆ ที่เรียกว่า “มณฑป” (fleche) ที่อาจจะทำด้วยไม้ หิน หรือโลหะก็ได้ เช่นที่มหาวิหารโอเทิง ประเทศฝรั่งเศส หรือมหาวิหารซอลสบรีที่มีหอทำด้วยหินสูงที่สุดในสหราชอาณาจักรอังกฤษ (404 ฟุต) หรืออาจจะเป็นโดม หรือเป็นหอเฉยๆที่ไม่มียอดก็ได้เช่นที่มหาวิหารวินเชสเตอร์ ที่อังกฤษ ถ้าหอเป็นแบบโปร่งซึ่งสามารถให้แสงส่องลงมากลางวัดได้ก็เรียกว่า “หอตะเกียง” เช่นที่ มหาวิหารเบอร์โกส ที่ประเทศสเปน

ด้านหลังวัด

“บริเวณพิธี” หรือ “East end” คือบริเวณจากทางเดินกลางไปจนจรดท้ายสุดของวัด ตอนปลายอาจจะเป็นรูปโค้งเว้าเป็นแฉกออกมาอย่างมหาวิหารอาเมียงหรือเป็นป้านสี่เหลี่ยมอย่างของมหาวิหารซอลสบรีเช่นในรูปก็ได้ บริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่สำคัญที่สุดของวัดเพราะเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาหลัก บริเวณประกอบพิธีทางศาสนา ที่นั่งของนักบวชและผู้ร้องเพลงสวด ที่ตั้งของชาเปล หรือ คูหาสวดมนต์ ทางเดินรอบมุข อนุสาวรีย์ของคนสำคัญๆ ที่เก็บวัตถุมงคล และที่เก็บสิ่งของมีค่าของวัด จะเป็นส่วนที่แตกต่างจากกันมากที่สุดทางรูปทรงสถาปัตยกรรม

บริเวณร้องเพลงสวด

บริเวณร้องเพลงสวด” (ภาษาอังกฤษ: Choir หรือ Quire) เป็นบริเวณที่ใช้เป็นที่นั่งของนักบวชและสำหรับร้องเพลงสวดซึ่งมักจะเป็นผู้ชายหรือเด็กผู้ชาย บริเวณนี้อาจจะแยกจากทางเดินกลางด้วยฉากขวางที่อาจจะทำด้วยไม้ฉลุอย่างละเอียด หรือฉากที่ทำด้วยหินแกะสลัก ในบริเวณนี้ในบางมหาวิหารจะมีที่นั่งจะเป็นไม้สลักเสลาอย่างงดงามเช่นที่มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นที่ตั้งของออร์แกนและบัลลังก์ของบาทหลวง

มุขตะวันออก

มุขตะวันออก” (ภาษาอังกฤษ: Apse) เป็นมุขครึ่งวงกลมมักจะเป็นที่ตั้งแท่นบูชาเอก และบัลลังก์หรืออาสนะบาทหลวง มุขด้านตะวันออกได้รับอิทธิพลมาจากการก่อสร้างแบบบาซิลิกาของโรมัน ซึ่งจะเป็นลักษณะโค้งยื่นออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้างทางด้านหลัง

จรมณฑล

จรมณฑล” (ภาษาอังกฤษ: Ambulatory) คือทางเดินรอบด้านหลังมุขตะวันออกของตัวมหาวิหาร ขนาดจรมุขของมหาวิหารที่มีวัตถุมงคลจะกว้างเพื่อให้ผู้มีศรัทธาได้เข้ามาสักการะวัตถุมงคลที่ประสงค์จะมาเยี่ยมชม

ชาเปลหรือคูหาสวดมนต์

ด้านขวางของมหาวิหารอาเมียง

ชาเปล” หรือ “คูหาสวดมนต์” (ภาษาอังกฤษ: Chapel) มักจะตั้งอยู่ระหว่างช่วงทางเดินข้างของมหาวิหารเป็นระยะๆ หรือสร้างรอบมุขด้านตะวันออกที่เรียกกันว่า “ชาเปลดาวกระจาย” ( “Radiatiating chapels” หรือ “Chevet”) ซึ่งเป็นรัศมียื่นออกไปจากด้านหลังของวัด เช่นที่ มหาวิหารอาเมียง ขนาดของชาเปลจะไม่ค่อยเท่ากัน การตกแต่งก็ไม่เท่าเทียมกันแล้วแต่ฐานะของผู้ศรัทธา บางครอบครัวที่มั่งคั่งหน่อยก็จะทำอย่างหรูหราเป็นคูหาสวดมนต์ส่วนตัวไปเลย

ครีบยัน

ครีบยัน” (ภาษาอังกฤษ: Buttress) เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อรับน้ำหนักของหลังคาและกำแพงของมหาวิหาร มาถึงสมัยกอธิค ครีบยันจะเป็นแบบปีกกางออกมาที่เรียกว่า ครีบยันแบบปีก นอกจากมีประโยชน์ในการช่วยแบ่งรับน้ำหนักจากกำแพงแล้วยังใช้เป็นเครื่องตกแต่งทางสถาปัตยกรรมด้วย

อ้างอิง

  1. W. H. Auden, "Cathedrals, Luxury liners laden with souls, Holding to the East their hulls of stone"

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Cathedral plans