ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สือดิบผู้จ่อง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MystBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: en:Sawndip
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{Multiple image
| align = right
| direction = vertical
| width = 150
| image1 = Manuscripts in the Yunnan Nationalities Museum - DSC03933.JPG
| caption1 = สืบดิบผู้จ่อง
| image2 = Gwn sawndip.png
| caption2 = กิน
| image3 = Lwg roegbit.svg
| caption3 = อ่านตรงตัวว่า ''"เหล่กหร่อกเป๊ด"'' - เด็กนกเป็ด แปลว่า ลูกเป็ดป่า
}}

'''สือดิบผู้จ่อง'''('''古壮字''' gǔ Zhuàngzì หรือ '''方块壮字''' fāngkuài Zhuàngzì,)เป็นตัวอักษรพื้นเมืองของ[[จ้วง|ชาวจ้วง]]ซึ่งเรียกตนเองว่าผู้จ่อง วิวัฒนาการมาจาก[[อักษรจีน]]แบบเดียวกับ[[อักษรจื๋อโนม]]ที่ใช้เขียน[[ภาษาเวียดนาม]] โดยสือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า "นา" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า "หน่า" ผสมกับตัวที่อ่านว่า "หลาย"ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า "นา" เป็นต้น
'''สือดิบผู้จ่อง'''('''古壮字''' gǔ Zhuàngzì หรือ '''方块壮字''' fāngkuài Zhuàngzì,)เป็นตัวอักษรพื้นเมืองของ[[จ้วง|ชาวจ้วง]]ซึ่งเรียกตนเองว่าผู้จ่อง วิวัฒนาการมาจาก[[อักษรจีน]]แบบเดียวกับ[[อักษรจื๋อโนม]]ที่ใช้เขียน[[ภาษาเวียดนาม]] โดยสือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า "นา" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า "หน่า" ผสมกับตัวที่อ่านว่า "หลาย"ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า "นา" เป็นต้น



รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:24, 13 ตุลาคม 2554

สืบดิบผู้จ่อง
กิน
อ่านตรงตัวว่า "เหล่กหร่อกเป๊ด" - เด็กนกเป็ด แปลว่า ลูกเป็ดป่า

สือดิบผู้จ่อง(古壮字 gǔ Zhuàngzì หรือ 方块壮字 fāngkuài Zhuàngzì,)เป็นตัวอักษรพื้นเมืองของชาวจ้วงซึ่งเรียกตนเองว่าผู้จ่อง วิวัฒนาการมาจากอักษรจีนแบบเดียวกับอักษรจื๋อโนมที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยสือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า "นา" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า "หน่า" ผสมกับตัวที่อ่านว่า "หลาย"ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า "นา" เป็นต้น

ต้นกำเนิดของอักษรสือดิบนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่ามีกำเนิดสมัยราชวงศ์ถัง บางส่วนกล่าวว่าเริ่มใช้ในสมัยราชวงศ์ซ้อง อย่างไรก็ตาม สือดิบไม่ได้มีสถานะเป็นอักษรราชการ เพราะชาวจ้วงอยู่ภายใต้การปกครองของจีน จึงใช้ภาษาจีนและอักษรจีนเป็นภาษาและอักษรราชการ ส่วนมากชาวจ้วงใช้สือดิบบันทึกเพลงและวรรณกรรมพื้นบ้าน เขียนจดหมายหรือใช้ในทางไสยศาสตร์ในแวดวงของหมอผีโดยใช้ปนกับอักษรจีน สือดิบจัดว่าเป็นอักษรที่ไม่ได้พัฒนามากนัก ปัจจุบันมีสือดิบเพียง 2,000 ตัวซึ่งถือว่าไม่เพียงพอต่อการใช้งานในฐานะอักษรภาพ นอกจากนั้น ภาษาจ้วงยังมีแตกต่างไปหลายสำเนียง แต่ละท้องถิ่น กำหนดสือดิบของตนขึ้นใช้โดยไม่มีสือดิบมาตรฐานสำหรับคนที่อยู่ต่างท้องที่กัน

นอกจากนี้ การนำอักษรจีนมาใช้ปนกับสือดิบก็มีวิธีใช้ต่างกันไป บางครั้งนำมาใช้แทนเสียงโดยไม่คำนึงถึงความหมาย บางครั้งนำมาใช้โดยยึดความหมายแต่อ่านเป็นภาษาจ้วง ตัวอย่างเช่น อักษรจีนที่แปลว่า "ข้าพเจ้า" เมื่อนำมาใช้ในสือดิบจะใช้แต่ความหมาย โดยอ่านออกเสียงว่าเป็นภาษาจ้วงว่า "กู" เป็นต้น

อ้างอิง

  • เจีย แยนจอง. จากสือดิบผู้จ่องถึงลายสือไทพ่อขุนรามฯ ข้อคิดจากสือจ่อง ใน คนไทไม่ใช่คนไทยแต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กทม. มติชน. 2549 หน้า 417 - 422.