ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ | สี = red | ภาพ = Princess Kikuko of Tak...
 
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
เจ้าหญิงทะคะมัตสึได้เป็นพระกุลเชษฐ์ที่มีพระชันษาสูงที่สุดของราชวงศ์ญี่ปุ่น หลังจากการสวรรคตของ[[สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน]] พระชนนีในรัชกาลปัจจุบันในปี [[พ.ศ. 2543]]
เจ้าหญิงทะคะมัตสึได้เป็นพระกุลเชษฐ์ที่มีพระชันษาสูงที่สุดของราชวงศ์ญี่ปุ่น หลังจากการสวรรคตของ[[สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน]] พระชนนีในรัชกาลปัจจุบันในปี [[พ.ศ. 2543]]


เมื่อครั้งการประสูติกาลของ[[เจ้าหญิงไอโกะ]] พระธิดาเพียงพระองค์เดียวใน[[เจ้าฟ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น|มกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ]] และ[[เจ้าฟ้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น|มกุฎราชกุมารีมะซะโกะ]] พระองค์ถือเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชบัลลังก์ของฝ่ายในต่อสาธารณชน<ref>[http://www.pantown.com/board.php?id=783&area=&name=board7&topic=40&action=view เรื่องราวของเจ้าหญิงมาซาโกะและเจ้าหญิงไอโกะ]</ref> โดยทรงนิพนธ์บทความลงในนิตยสารฟูจิน-โครอน ซึ่งเป็นนิตยสารรายเดือน ซึ่งในเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวความคิดที่จะให้ฝ่ายในสามารถสืบราชสมบัติได้<ref name="taka">{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/1746886.stm|title=Princess backs Japan succession change|publisher=[[บีบีซี|BBC. News]]|date=7 January 2002|accessdate=7 October 2010}}</ref>
เมื่อครั้งการประสูติกาลของ[[เจ้าหญิงไอโกะ]] พระธิดาเพียงพระองค์เดียวใน[[เจ้าฟ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น|มกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ]] และ[[เจ้าฟ้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น|มกุฎราชกุมารีมะซะโกะ]] พระองค์ถือเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชบัลลังก์ของฝ่ายในต่อสาธารณชน<ref>[http://www.pantown.com/board.php?id=783&area=&name=board7&topic=40&action=view เรื่องราวของเจ้าหญิงมาซาโกะและเจ้าหญิงไอโกะ]</ref> โดยทรงนิพนธ์บทความลงในนิตยสารฟูจิน-โครอน ซึ่งเป็นนิตยสารรายเดือน ซึ่งภายในมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวความคิดที่จะให้ฝ่ายในสามารถสืบราชสมบัติได้<ref name="taka">{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/1746886.stm|title=Princess backs Japan succession change|publisher=[[บีบีซี|BBC. News]]|date=7 January 2002|accessdate=7 October 2010}}</ref>


<blockquote>"ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในสามารถครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 127 และก็ไม่เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดแต่อย่างใด เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของญี่ปุ่น"<ref name="taka" /></blockquote>
<blockquote>"ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในสามารถครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 127 และก็ไม่เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดแต่อย่างใด เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของญี่ปุ่น"<ref name="taka" /></blockquote>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:11, 9 ตุลาคม 2554

แม่แบบ:กล่องข้อมูล เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์

คิคุโกะ เจ้าหญิงทะคะมัตสึ (ญี่ปุ่น: 宣仁親王妃喜久子โรมาจิNobuhito Shinnō-hi Kikuko, ประสูติ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2454 - สิ้นพระชนม์ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2547) พระชายาม่ายในเจ้าชายทะคะมัตสึ[1] มีพระนามเดิมว่า คิคุโกะ โทะกุงะวะ (ญี่ปุ่น: 徳川喜久子โรมาจิTokugawa Kikuko) ทรงเป็นพระสุณิสาในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ และทรงมีศักดิ์เป็นสมเด็จอาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ รัชกาลปัจจุบัน

พระประวัติ

เจ้าหญิงทะคะมัตสึ ประสูติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2454 มีพระนามเดิมคือ คิคุโกะ โทะกุงะวะ เป็นธิดาคนที่สองของโทะชิฮิซะ โทะกุงะวะ กับเจ้าหญิงมิเอะโกะแห่งอะริซุงะวะ บิดาเป็นบุตรของโยะชิโนะบุ โทะกุงะวะ โชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น ส่วนมารดาเป็นพระธิดาในเจ้าชายทะเกะฮิโตะแห่งอะริซุงะวะ ทายาทรุ่นที่ 7 ของตำแหน่งเจ้าชายแห่งอะริซุงะวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ราชสกุลที่สืบมาแต่สมัยเอโดะ

คิคุโกะสำเร็จการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกะคุชูอิน ซึ่งเป็นโรงเรียนหญิงล้วน จนเมื่อมีอายุได้ 18 ปี คิคุโกะจึงได้ทำการหมั้นกับเจ้าชายทะคะมัตสึ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในลำดับที่สามของการสืบราชบัลลังก์ญี่ปุ่น

อภิเษกสมรส

เธอได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายทะคะมัตสึ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ที่จัดขึ้นภายในพระราชวังโคเคียว หลังการอภิเษกสมรสได้เพียงไม่นานทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ ไปประกอบพระกรณียกิจในต่างประเทศ ก่อนจะเสด็จฯ นิวัตกลับมายังประเทศญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2474 และเข้าพำนักในทะคะนะวะ เขตมินะโตะ กรุงโตเกียว

เจ้าชายและเจ้าหญิงทะคะมัตสึ ทรงครองคู่มายาวนานแต่ไม่มีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน จนกระทั่งพระสวามีสิ้นพระชนม์เสียก่อนในปี พ.ศ. 2530

เจ้าชายและเจ้าหญิงทะคะมัตสึในกรุงเบอร์ลิน พ.ศ. 2473

ปลายพระชนม์ชีพ

เจ้าหญิงทะคะมัตสึได้เป็นพระกุลเชษฐ์ที่มีพระชันษาสูงที่สุดของราชวงศ์ญี่ปุ่น หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน พระชนนีในรัชกาลปัจจุบันในปี พ.ศ. 2543

เมื่อครั้งการประสูติกาลของเจ้าหญิงไอโกะ พระธิดาเพียงพระองค์เดียวในมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ และมกุฎราชกุมารีมะซะโกะ พระองค์ถือเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชบัลลังก์ของฝ่ายในต่อสาธารณชน[2] โดยทรงนิพนธ์บทความลงในนิตยสารฟูจิน-โครอน ซึ่งเป็นนิตยสารรายเดือน ซึ่งภายในมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวความคิดที่จะให้ฝ่ายในสามารถสืบราชสมบัติได้[1]

"ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในสามารถครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 127 และก็ไม่เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดแต่อย่างใด เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของญี่ปุ่น"[1]

เจ้าหญิงทะคะมัตสึ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ณ ศูนย์การแพทย์เซนต์ลูค กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังเสด็จฯ เข้ารับการรักษาพระโรคบ่อยครั้งตามพระชันษา สิริพระชนมายุได้ 92 พรรษา โดยมีการจัดพระราชพิธีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมปีเดียวกันนั้นเอง ที่โทะชิมะงะโอกะ สุสานบุงเคียว กรุงโตเกียว[3]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Princess backs Japan succession change". BBC. News. 7 January 2002. สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
  2. เรื่องราวของเจ้าหญิงมาซาโกะและเจ้าหญิงไอโกะ
  3. News24.com Japanese Princess buried