ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงปู่ไข่ อินทสโร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sethasilp (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล พระสงฆ์ไทย |ชื่อ = ไข่ |ชื่อภาพ = |ฉายา = อินทสโร |ชื่...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:21, 8 ตุลาคม 2554

หลวงปู่ไข่ อินทสโร

(ไข่ อินทสโร)
ชื่ออื่นหลวงปู่ไข่
ส่วนบุคคล
เกิด5 มิถุนายน พ.ศ. 2400(หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์)
5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 (72 ปี)
มรณภาพ16 มกราคม พ.ศ. 2475
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2422
พรรษา52
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเชิงเลน

หลวงปู่ไข่ อินทสโร (5 มิถุนายน พ.ศ. 240216 มกราคม พ.ศ. 2475) เป็นพระคณาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยพุทธาคม มีความสามารถสูงในทางวิปัสสนากรรมฐานเจริญพระกรรมฐานเป็นอารมณ์จนสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ได้ล่วงหน้าและท่านสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ได้ล่วงหน้าและท่านยังมีชื่อเสียงทางเทศนามหาชาติ นอกจากนี้ ท่านยังมีความสามารถทางแพทย์แผนโบราณได้อีกด้วย ศิษย์ของท่านมีทั้งไทย จีน และแขกซิกซ์เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาท่านให้ช่วยรักษา ซึ่งท่านก็จะช่วยรักษาทุกครั้ง ไม่เคยแบ่งแยกชาติ ศาสนา เชื้อตระกูล จิตใจของท่านใสบริสุทธิ์ วัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากในวงการพระเครื่องก็คือ พระอรหันต์กลีบบัว พระปิตตาคลุกรัก และเหรียญรูปเหมือน [1]

ประวัติ

หลวงปู่ไข่ ท่านเป็นบุตรของนายกล่อม และ นางบัว จันทร์สัมฤทธิ์ เกิดที่ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2422 ที่วัดลัดด่าน อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีพระสนิทสมณคุณ (เนตร) เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ [2] ท่านเป็นพระปฏิบัติสมถกรรมฐาน ซึ่งโบราณเรียกว่าพระรุกขมูล คือท่องจาริกไปอาศัยตามโคนไม้ในป่า มุ่งแสวงหาความหลุดพ้นท่านมีอุปนิสัยพูดน้อย เคร่งขรึม รักสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ประพฤติตนตามพุทธบัญญัติทุกประการ [3] เมื่อมีเวลาว่างท่านก็จะสร้างพระเครื่องตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาลูกศิษย์ ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่กรุงเทพ ณ วัดเชิงเลน ได้ทำการสอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้ที่เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวของท่าน ให้ และชักชวนสานุศิษย์มาร่วมทำบุญกับท่าน[2] เช่น การสร้างพระพุทธปฏิมากร และบูรณะซ่อมแซมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้นมาก สร้างพระไตรปิฎกโดยท่านลงมือจารใบลาน ด้วยตนเองด้วย ให้ช่างทำขึ้นบ้าง ครั้นถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2475 ก็ถึงแก่มรณภาพ สิริรวมอายุได้ 72 ปี พรรษา 52 พรรษา [3]

อ้างอิง

  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์
  2. 2.0 2.1 ประวัติหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "หลวงปู่" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. 3.0 3.1 หลวงปู่ไข่ อินทสโร พระเครื่อง อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "หลวงพ่อ" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน