ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพราเซลซัส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ช้างดำ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ช้างดำ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 82: บรรทัด 82:


[[หมวดหมู่:ผู้คิดค้นระบบการเขียน]]
[[หมวดหมู่:ผู้คิดค้นระบบการเขียน]]





[[af:Paracelsus]]
[[als:Paracelsus]]
[[ar:باراسيلسوس]]
[[az:Parasels]]
[[be:Парацэльс]]
[[be-x-old:Парацэльс]]
[[bg:Парацелз]]
[[bs:Paracelsus]]
[[ca:Paracels]]
[[cs:Paracelsus]]
[[de:Paracelsus]]
[[el:Παράκελσος]]
[[en:Paracelsus]]
[[eo:Paracelsus]]
[[es:Paracelso]]
[[et:Paracelsus]]
[[eu:Paracelso]]
[[fa:پاراسلسوس]]
[[fi:Paracelsus]]
[[fr:Paracelse]]
[[ga:Paracelsus]]
[[gd:Paracelsus]]
[[gl:Paracelso]]
[[he:פאראצלסוס]]
[[hr:Paracelsus]]
[[hu:Paracelsus]]
[[id:Paracelsus]]
[[it:Paracelso]]
[[ja:パラケルスス]]
[[ko:파라셀수스]]
[[la:Paracelsus]]
[[lt:Paracelsas]]
[[mdf:Парацельс]]
[[mk:Парацелзус]]
[[ms:Paracelsus]]
[[nl:Paracelsus]]
[[no:Paracelsus]]
[[pl:Paracelsus]]
[[pt:Paracelso]]
[[qu:Paracelsus]]
[[ro:Paracelsus]]
[[ru:Парацельс]]
[[scn:Paracelsu]]
[[sh:Paracelsus]]
[[simple:Paracelsus]]
[[sk:Paracelsus]]
[[sl:Paracelzij]]
[[sq:Paracelsus]]
[[sr:Парацелзус]]
[[sv:Paracelsus]]
[[tl:Paracelsus]]
[[tr:Paracelsus]]
[[uk:Теофраст Парацельс]]
[[zh:帕拉塞尔苏斯]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:11, 7 ตุลาคม 2554

พารารเซลซัส

ชีวประวัติ

พาราเซลซัส(Paracelsus)มีชื่อเดิมว่า Philippus Areolus Theophrastus Bombastus von Hohenheim เกิดและเติบโตที่หมู่บ้าน Einsiedeln

ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ เป็นลูกชายของ วิลฮิม บอมบาสต์ นักเคมีและฟิสิกส์ กับ หญิงชาวสวิส ในตอนเด็กเขาได้ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ที่เหมือง จนเมื่ออายุได้ 16 ปี เขาก็ได้เข้าศึกษาต่อด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยBasel ภายหลังจากที่ย้ายไปที่ Vienna เขาก็ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยFerrara

จากการเป็นนักฟิสิกส์เร่ร่อนและช่างขุดแร่ทำให้เขาได้เดินทางไปในหลายๆประเทศทั้งเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน ฮังการี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน และรัสเซีย
บรรทัดที่ย่อหน้าพาราเซลซัสศึกษาวิชาหลายแขนง หนึ่งในนั้นคือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญในการพัฒนาวิชาการแพทย์ของเขา หลังจากการศึกษาครั้งนี้เขาได้คิดค้นเครื่องรางของขลังทางดาราศาสตร์สำหรับป้องกันโรคด้วยใช้สัญลักษณ์12นักษัตรโดยแต่สัญลักษณ์ก็จะป้องกันโรคได้แตกต่างกัน และเขายังได้ประดิษฐ์อักษรเวทย์มนตร์เพื่อสลักชื่อเทพลงในเครื่องรางของเขาอีกด้วย
บรรทัดที่ย่อหน้าพาราเซลซัสเป็นผู้ริเริ่มนำสารเคมีและแร่ธาตุมาใช้เป็นยารักษาโรค เขาใช้คำว่าซิงค์แทนธาตุสังกะสีในปี1526 โดยมาจากศัพท์เยอรมันซิงค์ที่แปลว่าแหลมคมตามรูปร่างของตัวผลึกสังกะสี เขาใช้ในการทดลองเพื่อศึกษาร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้เขายังมีส่วนรับผิดชอบในการผลิตทิงเจอร์ฝิ่นอีกด้วย
บรรทัดที่ย่อหน้าด้วยความหยิ่งยโสของพาราเซลซัสเป็นที่เลื่องลืออย่างมากทำให้นักฟิสิกส์ทั่วทั้งยุโรปโกรธเกลียดเขา นั่นทำให้เขาดำรงตำแหน่งแพทย์ที่มหาวิทยาลัยBaselได้ไม่ถึงปี ในขณะที่มีเพื่อนร่วมงานของเขากล่าวหาว่าเขาเป็นคนเผาตำราแพทย์พื้นเมือง จากนั้นเขาก็ถูกขับไล่ออกจากเมือง

หลังจากถูกขับออกจากเมืองพาราเซลซัสก็ได้ระเหเร่ร่อนไปยัง ยุโรป แอฟริกา และเอเชียบางส่วนเพื่อศึกษาความหาความรู้เพิ่มเติม เขาได้แก้ไขตำราและเขียนขึ้นใหม่ แต่เขาก็ต้องพบกับปัญหาในการหาผู้ผลิต จนกระทั่งปี 1536 หนังสือเรื่อง Die Grosse Wundartznei (การผ่าตัดที่สมบูรณ์) ของเขาได้ตีพิมพ์และกู้เชื่อเสียงของเขาคืนมาได้ ในชีวิตของพาราเซลซัสได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกำเนิดลัทธิลูเธอร์รันและความคิดเห็นของเขาในเรื่องธรรมชาติจักรวาลก็มีความเข้าใจมากกว่าคำบรรยายในทางศาสนา

บรรทัดที่ย่อหน้าพาราเซลซัสเสียชีวิตเมื่อตอนอายุได้ 48ปีตามธรรมชาติ ศพของเขาก็ได้รับการฝังที่ป่าช้าโบสถ์เซบาสเตียนในSalzburgตามปรารถนาของเขา และได้ย้ายมาไว้ในสุสานนอกชานโบสถ์ในปัจจุบัน

หลังจากการตายของพาราเซลซัส ศาสตร์ความรู้ของเขาก็ได้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายโดยผู้ที่ต้องการล้มล้างฟิสิกส์แบบเก่า คติประจำตัวของพาราเซลซัสก็คือ "Alterius non sit qui suus esse potest” หมายความว่า “อย่าปล่อยให้มีใครที่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ไปเป็นของผู้อื่น”

ปรัชญา

บรรทัดที่ย่อหน้าพาราเซลซัสเชื่อในแนวคิดของชาวกรีกเรื่องธาตุทั้งสี่ แต่เขาก็ได้เสนอแนวคิดเพิ่มเติมในอีกระดับหนึ่งว่า จักรวาลได้ถูกสร้างขึ้นจาก tria prima ซึ่งประกอบด้วย ปรอท กำมะถัน และเกลือ ธาตุทั้งสามนี้ไม่ใช่ธาตุที่เรารู้จักในปัจจุบัน แต่เป็นหลักการกว้างๆ ที่ให้กับทุกวัตถุทั้งแก่นเนื้อภายในและรูปร่างภายนอก ปรอทเป็นตัวทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงสถานะ(การหลอมเหลวและการระเหย) กำมะถันเป็นตัวเชื่อมระหว่างวัตถุและการเปลี่ยนแปลงสถานะ(การเผาไหม้) และเกลือเป็นตัวทำให้เกิดการแข็งตัว (การแข็งตัวและการควบแน่น) ยกตัวอย่างเช่น การเผาไม้จะได้ ควันเกิดจากปรอท ไฟเกิดจากกำมะถัน และขี้เถ้าเกิดจากเกลือ
บรรทัดที่ย่อหน้าแนวคิดคิดนี้ก็ใช้นิยามกับเอกลักษณ์ของมนุษย์ได้เช่นกัน คือกำมะถันปรากฏเป็นจิตวิญญาณ (อารมณ์และความใคร่) เกลือแทนร่างกาย และปรอทเป็นตัวแทนความคิด (จินตนาการ การแยกแยะดีชั่ว และปัญญาระดับสูง) จากการทำความเข้าใจธรรมชาติของ tria prima ในเชิงเคมีทำให้แพทย์สามารถค้นพบวิธีการรักษาโรคติดต่อได้


การสนับสนุนทางการแพทย์

บรรทัดที่ย่อหน้าพาราเซลซัสเป็นผู้ริเริ่มการใช้แร่ธาตุและสารเคมีในทางการแพทย์ ในทางลึกลับเขามองว่าโรคภัยไข้เจ็บและสุขภาพนั้นขึ้นอยู่กับความลงตัวของมนุษย์และธรรมชาติ เขาใช้วิธีที่แตกต่างไปจากคนอื่นก่อนหน้านี้ การใช้การเปรียบเทียบนี้ไม่ได้อยู่ในลักษณะ ของจิตวิญญาณบริสุทธิ์ แต่อยู่ในลักษณะที่มนุษย์ต้องอยู่ในสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย และอาการเจ็บป่วยบางประการของร่างกายก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยสารเคมี

ผลจากแนวคิดเรื่องความสมดุลนี้ เปรียบมนุษย์ได้กับจักรวาลเล็กๆ ในจักรวาลใหญ่ๆ ด้วยความรู้ภูมิปัญญาในสมัยนั้น ที่รู้จักดาวเคราะห์ 7 ดวง โลหะบนโลก 7 ชนิด และอวัยวะภายใน 7 อย่าง ด้วยความที่ 7 เป็นเลขพิเศษจึงแทนดาวเคราะห์ โลหะ และอวัยวะต่างๆ ตามตารางดังนี้

ดวงดาว โลหะ อวัยวะ
ดวงอาทิตย์ ทอง หัวใจ
ดวงจันทร์ เงิน สมอง
ดาวพฤหัส ดีบุก ตับ
ดาวศุกร์ ทองแดง ไต
ดาวเสาร์ ตะกั่ว ม้าม
ดาวอังคาร เหล็ก ถุงน้ำดี
ดาวพุธ ปรอท ปอด
บรรทัดที่ย่อหน้าเชื้อโรคเกิดจากยาพิษจากดวงดาว แต่ยาพิษไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป เพราะสารพิษบางตัวก็สามารถล้างพิษด้วยกันเองได้ ดังสุภาษิตที่ว่า สิ่งชั่วร้ายก็ทำลายกันเองได้ ด้วยเหตุนั้นจึงทำให้สารพิษเป็นผลดีในทางการแพทย์ เพราะทุกอย่างในจักรวาลมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน สารที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์สามารถพบได้ในสมุนไพร และสารประกอบทางเคมี ความเห็นของพาราเซลซัสในเรื่องนี้ทำให้เขาถูกขับออกจากคริสตจักร ในฐานะผู้ที่ถามหาความแตกต่างระหว่างผู้สร้างและผู้ถูกสร้าง
บรรทัดที่ย่อหน้าเขาสรุปแนวความคิดของเขาว่า “คนจำนวนมากได้กล่าวถึงการเล่นแร่แปรธาตุว่าเราศึกษาเพื่อสร้างทองและเงินแต่สำหรับฉัน นั่นไม่ใช่เป้าหมายของการศึกษาเรื่องนี้เพราะเป้าหมายของฉันคือ การวิเคราะห์ฤทธิ์และคุณสมบัติในทางการแพทย์เท่านั้น”
บรรทัดที่ย่อหน้าHippocrates ได้หยิบยกเรื่องทฤษฏีที่ว่าอาการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากความไม่สมดุลของของเหลวสี่อย่างในร่างกายอันได้แก่ เลือด เสมหะ น้ำดีดำ และน้ำดี แนวความคิดนี้ถูกนำไปต่อยอดโดย Galen ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากและถาวรต่อความเชื่อทางการแพทย์ จนกระทั่งช่วงกลางของทศวรรษที่ 185 การรักษาที่มีข้อโดดเด่นคือใช้อาหารเฉพาะที่จะช่วยในการช่วยชะล้างของเสียออกควบคู่กับการถ่ายเลือดออกเพื่อคืนความสมดุลให้กับของเหลวสี่ชนิดในร่างกาย ได้ถูกพาราเซลซัสเสนอแนวคิดใหม่ว่าอาการเจ็บป่วยในคนเรานั้นไม่ได้เกิดจากภายในแต่เกิดจากร่างกายถูกทำลายด้วยปัจจัยภายนอก

ผลงานชิ้นโบว์แดงของพาราเซลซัสคือการรักษาและแนวทางการป้องกันคนงานเหมืองจากเจ็บป่วยและอันตรายจากงานโลหะและเขายังเขียนหนังสือเรื่องร่างกายมนุษย์โต้แนวคิดของ Galen อีกด้วย


พาราเซลซัสกับพิษวิทยา

บรรทัดที่ย่อหน้าพาราเซลซัสผู้ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพิษวิทยากล่าวไว้ว่า “สารทุกชนิดเป็นพิษและไม่มีสารใดที่ไม่เป็นพิษ ยาบางปริมาณเท่านั้นที่จะเป็นพิษ” หรือเรียกง่ายๆว่า “ปริมาณยาทำให้เป็นพิษ” จากคำกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า สารที่พิจารณาว่ามีพิษมากถ้าใช้ในปริมาณน้อยก็จะปลอดภัย แต่ในทางกลับกันสารที่พิจารณาว่าไม่เป็นพิษถ้าใช้มากก็เกิดพิษได้เหมือนกัน

ผลงาน

ผลงานตีพิมพ์ขณะยังมีชีวิตอยู่ • Die große Wundarzney Ulm, 1536 (Hans Varnier); Augsburg (Haynrich Stayner (=Steyner)), 1536; Frankfurt/ M. (Georg Raben/ Weygand Hanen), 1536. • Vom Holz Guaico, 1529. • Vonn dem Bad Pfeffers in Oberschwytz gelegen, 1535. • Prognostications, 1536. ผลงานหลังเสียชีวิต • Wundt unnd Leibartznei. Frankfurt/ M., 1549 (Christian Egenolff); 1555 (Christian Egenolff); 1561 (Chr. Egenolff Erben). • Von der Wundartzney: Ph. Theophrasti von Hohenheim, beyder Artzney Doctoris, 4 Bücher. (Peter Perna), 1577. • Von den Krankheiten so die Vernunfft Berauben. Basel, 1567. • Opus Chirurgicum, Bodenstein, Basel, 1581. • Huser quart edition (medicinal and philosophical treatises), Basel, 1589. • Chirurgical works (Huser), Basel, 1591 und 1605 (Zetzner). • Straßburg edition (medicinal and philosophical treatises), 1603. • Kleine Wund-Artzney. Straßburg (Ledertz) 1608. • Opera omnia medico-chemico-chirurgica, Genevae, Vol3, 1658. • Philosophia magna, tractus aliquot, Cöln, 1567. • Philosophiae et Medicinae utriusque compendium, Basel, 1568. • Liber de Nymphis, sylphis, pygmaeis et salamandris et de caeteris spiritibus