ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
* พ.ศ. 2530 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
* พ.ศ. 2530 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
* พ.ศ. 2531 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
* พ.ศ. 2531 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
[[ไฟล์:หลวงพ่อชาและลูกศิษย์.jpg‎|thumb|right|[[พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)]], หลวงพ่ออมรและคณะศิษย์]]
[[ไฟล์:หลวงพ่อชาและลูกศิษย์.jpg‎|thumb|right|[[พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)]], หลวงพ่ออมรและคณะศิษย์สายวัดหนองป่าพง]]
==สมณศักดิ์==
==สมณศักดิ์==
* พ.ศ. 2523 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอกที่ “พระครูศรีปัญญาคุณ”
* พ.ศ. 2523 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอกที่ “พระครูศรีปัญญาคุณ”

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:27, 28 กันยายน 2554

พระมงคลกิตติธาดา

(อมร เขมจิตฺโต)
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2474 (79 ปี)
มรณภาพพ.ศ. 2553
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อุบลราชธานี
อุปสมบทพ.ศ. 2494
พรรษา59
ตำแหน่งอดีตเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ

พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตโต) (2474-2553) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์และเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ท่านเป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ชาติกำเนิด

เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2474 (ตรงกับวันจันทร์แรม 11 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะแม) ที่บ้านหนองขุ่น ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี [1][2] บิดาชื่อนายหลอด บุตรศรี มารดาชื่อ นางกว้าง บุตรศรี มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน เป็นบุตรคนที่ 2

บรรพชาและอุปสมบท

หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านหนองขุ่นขณะที่มีอายุได้ 13 ปี ก่อนจะบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2487 โดยมีพระครูอัครธรรมวิจารณ์ (เลิศ ฉนโน) เจ้าอาวาสวัดหนองหลัก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาสามเณรอมร บุตรศรีก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนโดยสามารถสอบได้นักธรรมตรีได้ในปีแรกที่บรรพชา และสอบได้นักธรรมโทในอีก 2 ปีถัดมา หลังจากนั้นท่านเริ่มมีความคิดอยากจะไปศึกษาต่อในตัวเมืองอุบลราชธานี แต่พระอุปัชฌาย์แนะให้ไปเรียนที่กรุงเทพฯ โดยฝากให้ไปอยู่กับท่านเจ้าคุณปริยัติยานุรักษ์ ที่วัดทองนพคุณ คณะ 10 เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยสามเณรอมร บุตรศรีก็็เดินทางเข้ามาศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร ในปีพ.ศ. 2491 ท่านมีความอุตสาหวิริยะจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค (ได้คะแนนเต็มทุกวิชา) และสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ.2494 ขณะที่ยังเป็นสามเณร

จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี (พ.ศ. 2494) ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระเทพวิมล (ชุ่ม ติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภัทรมุนี (อิ๋น ภัทรมุนี) เป็นพระ กรรมวาจารย์ พระปริยัตยานุรักษ์ (สมบูรณ์ เตมิโย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) เป็นพระธรรมวาจาจารย์ หลังจากอุปสมบทท่านก็ยังไม่ได้ละมานะที่จะเรียนบาลี โดยท่านสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยคในปี พ.ศ.2497 และในปี พ.ศ.2499 ท่านได้เดินทางกลับวัดหนองขุ่น ท่านเป็นเปรียญธรรมรูปแรกของบ้านหนองขุ่น [3]

วุฒิการศึกษาสูงสุด

นักธรรมเอกและเปรียญธรรม 6 ประโยค

หน้าที่การงาน

  • พ.ศ. 2517 ดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดม่วงสามสิบ
  • พ.ศ. 2518 ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
  • พ.ศ. 2525 เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตอำเภอม่วงสามสิบ
  • พ.ศ. 2529 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ (สาขาที่ 7 ของวัดหนองป่าพง)[4]
  • พ.ศ. 2530 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
  • พ.ศ. 2531 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
ไฟล์:หลวงพ่อชาและลูกศิษย์.jpg
พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท), หลวงพ่ออมรและคณะศิษย์สายวัดหนองป่าพง

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. 2523 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอกที่ “พระครูศรีปัญญาคุณ”
  • พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ (เฉลิมพระเกียรติ) ที่ “พระมงคลกิตติธาดา” ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530

มรณภาพ

พระมงคลกิตติธาดาได้อาพาธและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ด้วยอาการโรคหัวใจ ความดันโลหิต และโรคปอดบวม ทางแพทย์ได้ดูแลเยียวจนสุดความสามารถ แต่อาการก็มีแต่ทรงและทรุดมาตลอด จนมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2553 สิริอายุ 79 ปี 59 พรรษา

อ้างอิง

  1. พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต ป.ธ.6),[1]
  2. พระมงคลกิตติธาดา (พระมหาอมร เขมจิตโต) ศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่ชา,[2]
  3. ประวัติพระมงคลกิตติธาดา ,[3]
  4. วัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์) สาขา 7 วัดหนองป่าพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี, [4]

แม่แบบ:พระสังฆาธิการเจ้าอาวาส