ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
}}
}}


'''พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)''' (2474-2553) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์และเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ท่านเป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของ[[พระโพธิญาณเถร]] (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
'''พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)''' (2474-2553) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์และเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ท่านเป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของ[[พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)]] วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:35, 23 กันยายน 2554

พระมงคลกิตติธาดา

(อมร เขมจิตฺโต)
ชื่ออื่นหลวงพ่ออมร
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2474 (79 ปี)
มรณภาพพ.ศ. 2553
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อุบลราชธานี
อุปสมบทพ.ศ. 2494
พรรษา59
ตำแหน่งอดีตเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ

พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต) (2474-2553) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์และเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ท่านเป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติ

พระมงคลกิตติธาดา (หลวงพ่อมหาอมร เขมจิตโต ปธ. 6) เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2474 ในตระกูลบุตรศรี ที่บ้านหนองขุ่น ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี [1][2]

บรรพชา-อุปสมบท-การศึกษา

บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2487 โดยมีพระครูอัครธรรมวิจารณ์ (เลิศ ฉนโน) เจ้าอาวาสวัดหนองหลัก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาสามเณรอมร บุตรศรีก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนโดยสามารถสอบได้นักธรรมตรีได้ในปีแรกที่บรรพชา และสอบได้นักธรรมโทในอีก 2 ปีถัดมา หลังจากนั้นท่านเริ่มมีความคิดอยากจะไปศึกษาต่อในตัวเมืองอุบลราชธานี แต่พระอุปัชฌาย์แนะให้ไปเรียนที่กรุงเทพฯ โดยฝากให้ไปอยู่กับท่านเจ้าคุณปริยัติยานุรักษ์ ที่วัดทองนพคุณ คณะ 10 เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยสามเณรอมร บุตรศรีก็็เดินทางเข้ามาศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร ในปีพ.ศ. 2491 ท่านมีความอุตสาหวิริยะจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค (ได้คะแนนเต็มทุกวิชา) และสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ.2494 ขณะที่ยังเป็นสามเณร จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี (พ.ศ. 2494) ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระเทพวิมล (ชุ่ม ติสาโร ปธ.3) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภัทรมุนี (อิ๋น ภัทรมุนี ป.ธ. 9) เป็นพระ กรรมวาจารย์ พระปริยัตยานุรักษ์ (สมบูรณ์ เตมิโย ปธ. 5) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน ปธ.9) เป็นพระธรรมวาจาจารย์ หลังจากอุปสมบทท่านก็ยังไม่ได้ละมานะที่จะเรียนบาลี โดยท่านสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยคในปี พ.ศ.2497 และในปี พ.ศ.2499 ท่านได้เดินทางกลับวัดหนองขุ่น ท่านเป็นเปรียญธรรมรูปแรกของบ้านหนองขุ่น [3]

วุฒิการศึกษาสูงสุด

นักธรรมเอกและเปรียญธรรม ุ6 ประโยค

หน้าที่การงาน

ด้านการปกครอง

  • พ.ศ. 2517 ดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดม่วงสามสิบ
  • พ.ศ. 2518 ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
  • พ.ศ. 2525 เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตอำเภอม่วงสามสิบ
  • พ.ศ. 2529 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ [4]
  • พ.ศ. 2530 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
  • พ.ศ. 2531 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ

ด้านการศึกษา

เมื่อจบเปรียญธรรม 6 ประโยค ก็เดินทางกลับบ้านเกิดและจำพรรษาที่วัดหนองขุ่น ได้ตั้งสำนักเรียนจัดการเรียนการสอนให้พระภิกษุสามเณร เปิดสอนโดยทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่ทั้งแผนกธรรมและบาลี ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนตามแบบอย่างสำนักเรียนวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร นอกจากจัดการเรียนการสอนแผนกธรรมและบาลีแล้ว สำนักเรียนหนองขุ่น ยังได้จัดให้มีการสอนวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์เพิ่มเติมให้แก่ลูกศิษย์ในสำนักเรียนด้วย ทำให้สำนักเรียนมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป พระภิกษุสามเณรจากจังหวัดใกล้เคียงจึงเดนทางมาศึกษาจำนวนมาก ในแต่ละปี ลูกศิษย์ของสำนักเรียนวัดหนองขุ่นสามารถสอบนักธรรม และเปรียญธรรมได้จำนวนมาก [5] แม้เมื่อภายหลังท่านได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แล้วจะไม่ได้ทำการสอน แต่ท่านก็ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักเรียนวัดหนองขุ่น [6]

การปฏิบัติวิปัสสนาธุระ

  • พ.ศ. 2508 ได้พบกับพระโพธิญาณเถร (ชา สุภฺทโท) หรือ “หลวงปู่ชา เจ้าอาวาส วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นครั้งแรกที่วัดหนองหลัก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี แต่ด้วยมิจฉาทิฏฐิและยึดอัตตาในภูมิปริยัติของตน ซึ่งเป็นถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค จึงยังไม่เกิดความเลื่อมใสมากนักจนกระทั่งได้อ่านหนังสือ “วิปัสสนาสาร” ของวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระครูอรรคธรรมวิจารย์พระอุปัชฌาย์มอบให้จึงเริ่มคิดที่จะศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างจริงจัง
  • พ.ศ. 2511 จึงตัดสินใจเดินทางไปวัดหนองป่าพง เพื่อทดลองศึกษาดูก่อน เมื่อเหยียบย่างเข้าไปในวัดหนองป่าพงครั้งแรก ก็เกิดความรู้สึกประทับใจในความสะอาดร่มรื่น สงบเงียบ พระภิกษุสามเณรภายในวัดทำกิจวัตรด้วยความสำรวมระวัง จึงกราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา[7] ท่านได้ปฏิบัติรับใช้ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ผู้เป็นอาจารย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ ได้รับการฝึกหัดขัดเกลาจนทำให้ลดมานะทิฐิ มีศิลาจารวัตรที่งดงาม ตามวัตรปฏิบัติของพระภิกษุวัดหนองป่าพง จนกระทั่งพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ได้ส่งไปเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวก (ธรรมชาน์) สาขาวัดหนองป่าพงที่ 7 อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. 2523 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอกที่ “พระครูศรีปัญญาคุณ”
  • พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ (เฉลิมพระเกียรติ) ที่ “พระมงคลกิตติธาดา” ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530

รางวัลและเกียรติคุณ

  • พ.ศ. 2542 รางวัลเสาเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา
  • พ.ศ. 2547 มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ถวายปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวัฒนธรรมศึกษา
  • พ.ศ. 2553 คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ถวายโล่ประกาศเกียรติคุณพระเถระผู้มีพุทธคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา ระดับกาญจนเกียรติคุณ [8]

มรณภาพ

พระมงคลกิตติธาดาได้อาพาธและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ด้วยอาการโรคหัวใจ ความดันโลหิต และโรคปอดบวม ทางแพทย์ได้ดูแลเยียวจนสุดความสามารถ แต่อาการก็มีแต่ทรงและทรุดมาตลอด จนมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2553 สิริอายุ 79 ปี 59 พรรษา

อ้างอิง

  1. พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต ป.ธ.6),[1]
  2. พระมงคลกิตติธาดา (พระมหาอมร เขมจิตโต) ศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่ชา,[2]
  3. ประวัติพระมงคลกิตติธาดา ,[3]
  4. วัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์) สาขา 7 วัดหนองป่าพง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี, [4]
  5. วัดหนองขุ่น อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี, [5]
  6. ประมวลภาพประทับใจ, [6]
  7. พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต ป.ธ.6),[7]
  8. รายนามผู้ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553, [8]

แม่แบบ:พระสังฆาธิการเจ้าอาวาส