ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระสุปฏิปันโน ผู้ปักธงกรรมฐานกลางมหานคร
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระสุปฏิปันโน ผู้ปักธงกรรมฐานกลางมหานคร


เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรเถระ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (วัดสัมพันธวงศาราม [[พระอารามหลวง]]ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร), [[กรรมการมหาเถรสมาคม]], [[คณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช]] <ref>ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ถาวรมหาเถระ), [[http://www.watsamphan.com/oldpic/somdej90/]]</ref> มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสาย[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลส่าเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค และได้น้อมน่าหลักธรรมค่าสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ น่าความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม<ref>สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.๙), [[http://www.lib.ubu.ac.th/monkubon/file/MO54.pdf]]</ref>
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรเถระ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (วัดสัมพันธวงศาราม [[พระอารามหลวง]]ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร), [[กรรมการมหาเถรสมาคม]], [[คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช]] <ref>ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ถาวรมหาเถระ), [[http://www.watsamphan.com/oldpic/somdej90/]]</ref> มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสาย[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลส่าเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค และได้น้อมน่าหลักธรรมค่าสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ น่าความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม<ref>สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.๙), [[http://www.lib.ubu.ac.th/monkubon/file/MO54.pdf]]</ref>


== ชาตภูมิ ==
== ชาตภูมิ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:18, 23 กันยายน 2554

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

(มานิต ถาวโร)
ส่วนบุคคล
เกิด29 ธันวาคม 2460 (106 ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาป.ธ.9
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท8 พฤษภาคม 2480
พรรษา86
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์, กรรมการมหาเถรสมาคม

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระสุปฏิปันโน ผู้ปักธงกรรมฐานกลางมหานคร

เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรเถระ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (วัดสัมพันธวงศาราม พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร), กรรมการมหาเถรสมาคม, คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช [1] มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลส่าเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค และได้น้อมน่าหลักธรรมค่าสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ น่าความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม[2]

ชาตภูมิ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เกิด ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) โยมบิดาชื่อช่วย โยมมารดาชื่อกา สกุล ก่อบุญ เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวนพี่น้อง ๑๑ คน [3] นอกจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วยังมีผลผลิตทางธรรมจากบ้านบ่อชะเนงและเป็นญาติกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีก ๒ รูป คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดบ่อชะเนง และเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ (รูปปัจจุบัน) [4]

บรรพชาและอุปสมบท

  • บรรพชา พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่วัดบ้านบ่อชะเนง ซึ่งเป็นวัดประจ่าหมู่บ้าน โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ ญาคูโม้ เป็นพระอุปัชฌาย์
  • อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๒๐ ปี ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยมีท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณรังษี (สุวรรณ ชุตินฺธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัดเส็ง ทินฺนวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ภายหลังรับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระเนกขัมมมุนี)

การศึกษาพระปริยัติธรรม

ช่วงแรก

พ.ศ. ๒๔๗๕ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดโพนแก้ว) อ่าเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม หลังจากที่บรรพชาเป็นสามเณรมาแล้ว ๓ ปี สอบได้ ดังนี้

  • พ.ศ. ๒๔๗๖ นักธรรมชั้นตรี
  • พ.ศ. ๒๔๗๘ นักธรรมชั้นโท

ช่วงที่สอง

พ.ศ. ๒๔๗๔ เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนต่อที่กรุงเทพมหานครและจำพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์ตลอดมา โดยส่าเร็จการศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี ดังนี้

  • พ.ศ. ๒๔๘๐ เปรียญธรรม ๓ ประโยค
  • พ.ศ. ๒๔๘๑ เปรียญธรรม ๔ ประโยคและนักธรรมชั้นเอก
  • พ.ศ. ๒๔๘๔ เปรียญธรรม ๕ ประโยค
  • พ.ศ. ๒๔๘๖ เปรียญธรรม ๖ ประโยค
  • พ.ศ. ๒๔๘๘ เปรียญธรรม ๗ ประโยค
  • พ.ศ. ๒๔๙๒ เปรียญธรรม ๘ ประโยค
  • พ.ศ. ๒๔๙๙ เปรียญธรรม ๙ ประโยค

สมณศักดิ์

  • ๕ ธันวาคม ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยเมธี
  • ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชกวี
  • ๕ ธันวาคม ๒๕๑๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพปัญญามุนี
  • ๕ ธันวาคม ๒๕๑๙ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมบัณฑิต
  • ๕ ธันวาคม ๒๕๓๒ได้รับการสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ "พระอุดมญาณโมลี"
  • ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธพจนมธุรธรรมวาที ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจารวัตร พุทธบริษัทปสาทกร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระราชาคณะ"

ตำแหน่งปัจจุบัน

  • เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
  • ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธรรมยุต)
  • กรรมการมหาเถรสมาคม[5]
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • คณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช [6]

อ้างอิง

  1. ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ถาวรมหาเถระ), [[1]]
  2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.๙), [[2]]
  3. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.๙), [[3]]
  4. ๓ พี่น้องแห่งบ้านบ่อชะเนงผู้เจริญในธรรม, [[4]]
  5. หมวดหมู่:กรรมการมหาเถรสมาคม, [[5]]
  6. คณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, [[6]]