ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนหัวหิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Akkhaporn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Akkhaporn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
| motto = ปญฺญา โลกฺสมิ ปชฺโชโต (ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)
| motto = ปญฺญา โลกฺสมิ ปชฺโชโต (ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)
| song = มารช์โรงเรียนหัวหิน
| song = มารช์โรงเรียนหัวหิน
| color = [[สีฟ้า|{{แถบสีสามกล่อง|#0BFFF}} สีฟ้า]]-[[สีขาว|{{แถบสีสามกล่อง|#FFFFFF} สีขาว]]
| color = [[สีฟ้า|{{แถบสีสามกล่อง|#0BFFF}} สีฟ้า]]-[[สีขาว|{{แถบสีสามกล่อง|#FFFFFF}} สีขาว]]
| campus =
| campus =
| branch =
| branch =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:16, 21 กันยายน 2554

โรงเรียนหัวหิน
Huahin school
ตราโรงเรียนหัวหิน
ที่ตั้ง
184 ถนนชมสิทธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110
ข้อมูล
ชื่ออื่นHH
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญปญฺญา โลกฺสมิ ปชฺโชโต (ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)
สถาปนา1 มิถุนายน พ.ศ. 2494
หน่วยงานกำกับสพม. เขต 10
รหัส1005770701
ผู้อำนวยการผู้อำนวยการระดับ 8
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สี███ สีฟ้า-███ สีขาว
เพลงมารช์โรงเรียนหัวหิน
เว็บไซต์โรงเรียนหัวหิน


โรงเรียนหัวหิน

ประวัติ

โรงเรียนหัวหิน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2549 เดิมเรียกว่า โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ ระยะแรกอาศัยห้องเรียนของโรงเรียนเทศบาลประชาธิปถัมภ์ (โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหินในปัจจุบัน) 1 ห้อง มีนักเรียนระดับชั้นมัธยม 1 จำนวน 23 คน ทางกรมวิสามัญศึกษาได้ส่งครูจากโรงเรียนประจวบวิทยาลัยมาช่วยสอน 2 คน คือ นายสิน สุหร่าย และนายสุรินทร์ สุภาพสวัสดิ์ใช้อักษรย่อโรงเรียนว่า ป.ข.5 ซึ่งหมายถึง โรงเรียนรัฐบาลลำดับที่ 5 ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2495 ได้ขยายชั้นเรียนเพิ่ม เป็นชั้น ม.2 จึงจำเป็นต้องเพิ่มห้อง โดยการแบ่งกั้นห้องด้วยฝาเสื่อลำแพน ในปีเดียวกันนี้ กรมวิสามัญศึกษาได้อนุมัติให้จัดซื้อที่ดิน 1 แปลง ริมถนนหัวหิน ที่ดินดังกล่าวติดป่าช้าวัดหัวหิน เป็นจำนวนเงิน 9,000 บาท และมอบให้โรงเรียนช่างไม้ประจวบฯ เป็นผู้ก่อสร้าง ในวงเงิน 15,00 บาท เป็นอาคารไม้ขนาด 3 ห้องเรียน ใต้ถุนสูง นับเป็นอาคารไม้หลังแรก เสร็จใช้การได้ในปี พ.ศ. 2496 ในปีเดียวกันนี้กรมวิสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งนายสวัสดี ณ พัทลุง มาเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน มีครูเพิ่มขึ้นรวมเป็น 5 คน โรงเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนการสอนและอาคารสถานที่ให้ร่มรื่น สวยงาม จนได้รับการกล่าวขวัญชมเชย นักเรียนมีสัมมาคารวะ มีความสมัครสมานสามัคคี

ต่อมากรมวิสามัญ มีหนังสือแจ้งจังหวัดว่า ไม่มีนโยบายจะขยายชั้นเรียนในระดับ ม.4 ทำให้เกิดความระส่ำระสายในกลุ่มผู้ปกครอง ผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงนำบุตรหลานของตนไปเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนอื่น คงเหลือนักเรียนเพียง 10 คนเท่านั้น ที่ยังหวังว่ากรมวิสามัญศึกษาจะอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนได้ กลุ่มผู้ปกครองได้พยายามต่อรองโดยยินดีรับผิดชอบในเรื่องที่กรมฯ อ้างถึงข้อจำกัดกำลังครู เป็นต้น ในที่สุดด้วยความพยายามและความตั้งใจจริงของผู้ปกครอง ซึ่งนำโดยคุณพร้อม สุวัฒนา ทำให้กรมฯ อนุญาตให้เปิดสอนในระดับ ม.4 ต่อไปได้ โดยผู้ปกครองของนักเรียนทั้ง 10 รายที่เหลืออยู่ ได้จัดสร้าง โต๊ะเรียนเองคนละ 1 ชุด ชุดละ 150 บาท และบริจาคเงินซื้อวัสดุสร้างห้องเรียน 1 ห้อง ผู้ปกครองนกเรียนที่เป็นช่างท่านหนึ่ง ได้อุทิศเวลาช่วยควบคุมการก่อสร้างต่อเติมห้องเรียนขนาด 9x12 เมตร ใช้แรงงานนักเรียนชาย 78 คน ที่อยู่ในรุ่นแรก

ในเรื่องอัตรากำลังครูที่ประสบปัญหาขาดแคลน ก็ได้รับความกรุณาจากผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอหัวหิน คือ นายพรหม สว่างแจ้ง พร้อมด้วยครูช่วยราชการสำนักงานศึกษาธิการอำเภอหัวหิน อีก 2 ท่าน คือ นายบุญลือ สัมพันธารักษ์ และนายมนัส ประกอบชาติ ซึ่งเป็นคนหัวหินได้อุทิศเวลาช่วยสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทนแต่อย่างใดตลอดปีการศึกษานั้น นอกจากนี้ในด้านสถานที่ยังได้รับความอนุเคราะห์จากพระศีลวัตรวิมล เจ้าอาวาสวัดหัวหิน มอบเนื้อที่ส่วนที่เป็นป่าช้าของวัดให้ ทำให้เนื้อที่ของโรงเรียนขยายเพิ่มขึ้นอีกมาก

โรงเรียนหัวหินได้เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ มีผู้บริหารและครูหลายต่อหลายท่านที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนมาปฏิบัติหน้าที่ สร้างความก้าวหน้าให้แก่โรงเรียนมาจนถึงปัจจุบันมีศิษย์เก่ามากมายหลายรุ่นที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงาน สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม อันบ่งบอกถึงศักยภาพของโรงเรียนหัวหิน อาคารสถานที่ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับดังนี้

  1. พ.ศ. อาคารแบบ ฝ 101 ใช้เป็นโรงฝึกงาน งบประมาณ 60,000 บาท (ขออนุญาตรื้อถอนปี พ.ศ. 2537)
  2. พ.ศ. 2514 อาคารแบบ 002/12 ใช้เป็นโรงอาหาร งบประมาณ 200,000 บาท
  3. พ.ศ. 2515 อาคารเรียนแบบ 318 ป 18 ห้องเรียน งบประมาณ 1,800,000 บาท
  4. พ.ศ. 2517 ส้วมแบบ 8 ที่ 2 หลัง
  5. พ.ศ. 2519 อาคารชั่วคราว 9 ห้องเรียน ใช้เป็นห้องเรียน งบประมาณ 270,00 บาท บ้านพักครูเรือนแถว จำนวน 16 ห้อง งบประมาณ 545,00 บาท (ปรับปรุงจากอาคารเรียนไม้หลังแรก)
  6. พ.ศ. 2520 อาคารเรียนแบบ 318 ค 18 ห้องเรียน งบประมาณ 3,200,000 บาท
  7. พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2521 บ้านพักครูเดี่ยว 14 หลัง งบประมาณ 100,000 บาท/หลัง
  8. พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2522 บ้านพักภารโรง 3 หลัง งบประมาณ 50,000 บาท/หลัง
  9. พ.ศ. 2522 อาคารเรียนชั่วคราว ใช้เป็นห้องหมวดศิลปะและศิลปะ งบประมาณ 1600,000 บาท บ้านพักครูเรือนแถว 1 หลัง งบประมาณ 960,000 บาท
  10. พ.ศ. 2524 บ้านพักครูเรือนแถว 1 หลัง งบประมาณ 320,000 บาท
  11. พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2525 บ้านพักครูแบบ 202 ก 2หลัง งบประมาณ 208,000 บาท/หลัง
  12. พ.ศ. 2525 อาคารโรงฝึกงานแบบ ฝ 102 ใช้เป็นโงฝึกงาน งบประมาณ 614,411 บาท อาคารเกษตร ใช้เป็นห้องปฏิบัติการเกษตร งบประมาณ 90,000 บาท หอประชุมแบบ 005/23 ใช้เป็นหอประชุม งบประมาณ 1,548,000 บาท สนามฟุตบอล จัดสร้างเอง
  13. พ.ศ. 2527 อาคารเรียนแบบ 318 ค 18 ห้องเรียน งบประมาณ 3,950,000 บาท
  14. พ.ศ. 2529 อาคารเรียนแบบ ฝ 204/27 ใช้เป็นโรงฝึกงาน งบประมาณ 1,548,000 บาท บ้านพักครูแบบ 204 1 หลัง งบประมาณ 210,000 บาท
  15. พ.ศ. 2530 หอถังประปา 1 หลัง งบประมาณ 149,500 บาท
  16. พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2531 ส้วม 6 ที่ 5 หลัง งบประมาณ 87,690/90,000 บาท/หลัง
  17. พ.ศ. 2534 อาคารเรียนแบบ 216 ล (ปรับปรุง 29) 16 ห้องเรียน งบประมาณ 7,040,000 บาท
ในปัจจุบันมีอาคารเรียนถาวร 4 หลัง อาคารชั่วคราว 3 หลัง โรงฝึกงาน 2 หลังอาคารพยาบาล 1 หลัง หอประชุมอเนกประสงค์ 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง ห้องสุขานักเรียนแบบ 8 ที่ 2หลัง ห้องสุขานักเรียนแบบ 6 ที่ 5 หลัง และสนามฟุตบอล 1 สนามบ้านพักครูเดี่ยว 17 หลัง บ้านพักครูแบบเรือนแถว 3 หลัง บ้านพักภารโรงเดี่ยว 1 หลัง
มีบุคลากรที่เป็นผู้บริหารระดับ 8 จำนวน 1 คน รองผู้บริหารระดับ 7 จำนวน 4 คน ครูจำนวน 83 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 9 คน นักเรียน จำนวน 2,200 คน เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา โดยแบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับชั้น ม.1 มี 12 ห้อง, ระดับชั้น ม.2 มี 12 ห้อง มัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับชั้น ม.4 มี 8 ห้อง, ระดับชั้น ม.5 มี 8 ห้อง, ระดับชั้น ม.6 มี 8 ห้อง, รวม 60 ห้อง

ที่ตั้ง

โรงเรียนหัวหินเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพชรบุรี เขต 10 เป็นโรงเรียนสหศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 184 ถนนชมสินธุ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ของโรงเรียน 29 ไร่ 1 งาน 71 ตารางวา

สัญลักษณ์

=เครื่องหมายประจำโรงเรียน

เครื่องหมายประจำโรงเรียนประกอบด้วย

  • เลข ๕ พร้อมรัศมี หมายถึง โรงเรียนรัฐบาลโรงเรียนที่ 5 ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • เรือใบในวงกลม หมายถึง การเปรียบโรงเรียนเป็นเรือ โดยมีครูเหมือนนายท้ายเรือนำนักเรียนไปสู่ฝั่ คือ ความสำเร็จ
  • คติพจน์ประจำโรงเรียน
  • พ.ศ. ที่ก่อตั้งโรงเรียน
  • ชื่อเต็มของโรงเรียน

สิ่งสักการบูชา

  • พระบรมรูปประทับยืนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประดิษฐานอยู่ทางเข้าโรงเรียนด้านหน้า ชาวฟ้าขาว เรียกว่า พ่อราม (รามวชิราวุธ)
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน พระพุทธบวรสันติมิ่งมงคล เป็นพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ซึ่ง นางวิไล จรรยากูล เป็นผู้สร้าง และมอบให้โรงเรียน

เพลงประจำโรงเรียน

มาร์ชหัวหิน เนื้อร้อง

พวกเราเหล่านักเรียนโรงเรียนหัวหิน

ใฝ่ถวิลให้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา รุ่งเรืองเฟื่องการกีฬา เคารพบูชาครูบาอาจารณ์ด้วยความจริงใจ (ซ้ำ)

เรียนดีมีวินัยใฝ่คุณธรรม ประกอบกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทั่วไป

พ่อรามที่เคารพนบไว้ สวนไฝ่รวมกอก่อสามัคคี (ซ้ำ)

ใต้ร่มธงสีฟ้าขาว โบกสะบัดพริ้วพราวงามเด่นเป็นศักดิ์ศรี

เรายึดเป็นแนวทางล้ำค่ารักษาคุณธรรมความดี ร่วมสามัคคีด้วยน้ำใจไมตรีทุกคน (ซ้ำ)

แหล่งข้อมูลอื่น