ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: ar:هنري الثاني (المملكة المتحدة)
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: ar:هنري الثاني ملك إنجلترا
บรรทัด 128: บรรทัด 128:
[[af:Hendrik II van Engeland]]
[[af:Hendrik II van Engeland]]
[[an:Henrique II d'Anglaterra]]
[[an:Henrique II d'Anglaterra]]
[[ar:هنري الثاني (المملكة المتحدة)]]
[[ar:هنري الثاني ملك إنجلترا]]
[[arz:هنرى التانى ملك إنجلترا]]
[[arz:هنرى التانى ملك إنجلترا]]
[[bg:Хенри II (Англия)]]
[[bg:Хенри II (Англия)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:14, 17 กันยายน 2554

พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ
ครองราชย์25 ตุลาคม ค.ศ. 11546 กรกฎาคม ค.ศ. 1189
ราชาภิเษก19 ธันวาคม ค.ศ. 1154
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าสตีเฟน แห่งอังกฤษ
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ
ประสูติ25 มีนาคม ค.ศ. 1133
เลอ มองส์ ในประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต6 กรกฎาคม ค.ศ. 1189
ชินอง ในประเทศฝรั่งเศส
พระอัครมเหสีเอเลเนอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระราชบุตรสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ
สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ
ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท
พระราชบิดาเจฟฟรีที่ 5 เคานท์แห่งอองจู
พระราชมารดาสมเด็จพระจักรพรรดินีมาทิลดา

สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Henry II of England หรือ “Curtmantle”) (25 มีนาคม ค.ศ. 11336 กรกฎาคม ค.ศ. 1189) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทองค์แรกของราชอาณาจักรอังกฤษ

พระเจ้าเฮนรีที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1133 ที่เลอ มองส์ ในประเทศฝรั่งเศส ทรงเป็นพระราชโอรสของเจฟรีที่ 5 เคานท์แห่งอองจู และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมาทิลดา ทรงเสกสมรสกับดัชเชสเอเลเนอร์แห่งอากีแตน และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1154 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1189 ที่ชินอง ในประเทศฝรั่งเศส พระอิสริยยศต่างๆ ที่พระเจ้าเฮนรีทรงดำรงก็ได้แก่ เคานท์แห่งอองจู, ดยุคแห่งนอร์มังดี, ดยุคแห่งอากีแตน, เคานท์แห่งนองท์, เจ้าแห่งไอร์แลนด์ และบางครั้งก็จะทรงปกครองส่วนหนึ่งของเวลส์ สกอตแลนด์ และด้านตะวันตกของฝรั่งเศส

เบื้องต้น

พระเจ้าเฮนรีที่ 2 เสด็จพระราชสมภพที่เลอ มองส์ ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1133 ซึ่งเป็นวันปึใหม่ตามประเพณีในเวลานั้น[1] เจฟฟรีที่ 5 เคานท์แห่งอองจู และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมาทิลดาพระราชบิดาและมารดาทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษเพราะพระจักรพรรดินีมาทิลดาเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อยังทรงพระเยาว์เฮนรีใช้ชีวิตอยู่ที่บริเวณอองจู เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา โรเบิร์ต เอิร์ลแห่งกลอสเตอร์ที่ 1 ก็นำตัวเฮนรีไปอังกฤษปีหนี่ง ซึ่งเป็นที่ที่เฮนรีได้รับการศึกษาจากมาสเตอร์แม็ทธิวแห่งบริสตอล จากนั้นเฮนรีก็กลับไปอังกฤษอีกเมื่อ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษาเพื่อช่วยพระมารดาราชบัลลังก์อังกฤษ

เสกสมรสและพระราชบุตร

พระเจ้าเฮนรีทรงเสกสมรสเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1152 ที่ มหาวิหารบอร์โดซ์เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษากับเอเลเนอร์แห่งอากีแตนเป็นพิธีอย่างง่าย “โดยไม่มีพิธีรีตองตามที่ควรแก่ตำแหน่ง”[2] ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะสองเดือนก่อนหน้านั้นการแต่งงานของเอเลเนอร์กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสเพิ่งถูกประกาศให้เป็นโมฆะ ความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์เป็นความสัมพันธ์ที่รุนแรงและในที่สุดก็สิ้นสุดลงหลังจากที่เอเลเนอร์ยุให้พระโอรสแข็งข้อต่อเฮนรีในปี ค.ศ. 1173 เฮนรีจึงทรงกักตัวเอเลเนอร์ไว้ในวังเป็นเวลา 16 ปี [3]

พระเจ้าเฮนรีและเอเลเนอร์แห่งอากีแตนมีพระโอรสและธิดาด้วยกัน 8 พระองค์: วิลเลียม เคานท์แห่งปอยเตียร์, เฮนรียุวกษัตริย์, พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ, เจฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริตานี, พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ, มาทิลดาแห่งอังกฤษ ดัชเชสแห่งแซ็กโซนี, เลโอโนราแห่งอังกฤษ พระราชินีแห่งคาสตีล และ โจนแห่งอังกฤษ พระราชินีแห่งซิซิลี วิลเลียมสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เฮนรีเคานท์แห่งอองจูจึงได้สวมมงกุฏเป็นพระมหากษัตริย์ร่วมแทนที่ แต่ในเมื่อเฮนรีมิได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ด้วยพระองค์เองจึงได้เรียกกันในพระนาม “เฮนรียุวกษัตริย์” (Henry the Young King) แทนที่จะมีพระนามว่าเฮนรีที่ 3 ตามนิตินัยเฮนรีควรจะเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา ริชาร์ดควรจะได้ดินแดนของพระราชมารดา และจอห์นควรจะเป็นเจ้าแห่งไอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์มิได้เป็นไปตามที่คาดหมายกันว่าควรจะเป็น

จอห์น สปีดสันนิษฐานกันว่าพระเจ้าเฮนรีและเอเลเนอร์มีพระโอรสด้วยกันอีกองค์หนึ่งเป็นผู้ชายชื่อฟิลลิป[4]แต่คงจะเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก[5]

นอกพระราชโอรสธิดากับเอเลเนอร์แล้วพระเจ้าเฮนรีก็ยังทรงมีพระราชบุตรนอกสมรสอีกหลายคน ถึงแม้ว่าพระราชบุตรเหล่านี้จะไม่มีสิทธิในราชบัลลังก์ตามกฎหมายแต่ก็ยังเป็นสิ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหากับผู้มิสิทธิโดยตรงต่อมา[6] วิลเลียมแห่งลองสปีเป็นหนึ่งในจำนวนพระราชบุตรนอกสมรสแต่ก็เป็นผู้ที่มีความพอใจกับตำแหน่งและที่ดินที่ได้มาในฐานะลูกนอกกฎหมาย แต่เจฟฟรี บาทหลวงแห่งยอร์คเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเห็นกันว่าอาจจะเป็นปัญหาแก่พระเจ้าริชาร์ดที่ 1ได้ในอนาคต[6] เจฟฟรีเป็นผู้เดียวที่ดูแลพระเจ้าเฮนรีเมื่อใกล้จะสวรรคตซึ่งแม้แต่จอห์น แล็คแลนด์พระราชโอรสองค์โปรดก็ทรงละทิ้งพระราชบิดา[7] เพื่อให้เจฟฟรีเลิกความหวังที่จะมีตำแหน่งสูงการปกครองพระเจ้าริชาร์ดก็ทรงบังคับให้เจฟฟรีไปบวชที่ยอร์ค[6] พระราชบุตรนอกสมรสอีกองค์หนึ่ง มอร์แกนเป็นบาทหลวงแห่งเดอแรมแต่ก็มิได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเพราะถูกขัดขวางโดยพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3.[8]

ศึกสายเลือด

ความรู้สึกรักใคร่ผูกพันกันภายใน ครอบครัวของพระองค์นั้น เห็นได้ชัดจากภาพที่ทรงสั่งให้วาดประดับอยู่ในท้องพระโรง ของมหาวิหารเวสต์มินเตอร์ ซึ่งเป็นภาพลูกเหยี่ยวสี่ตัวที่จ้องจะขย้ำพ่อเหยี่ยว โดยลูกนกตัวที่สี่เล็งจ่อคอหอยของพ่อเหยี่ยว และเตรียมพร้อมที่จะจิกลูกตา ทั้งสองข้าง กล่าวกันว่า พระองค์ได้ตรัสว่า "ลูกเหยี่ยวทั้งสี่ คือโอรสทั้งสี่ของเรา ซึ่งไม่ยอมหยุดจองล้างจองผลาญเราจนกว่าเราจะตาย ตัวเล็กสุดที่เรากำลังกกกอด ด้วยความรัก จะลบหลู่เรา และในที่สุดจะนำทุกข์ภัยมหันต์มาสู่เรายิ่งกว่าตัวอื่นๆ"

อนิจจา คำพยากรณ์ของพระองค์กลายเป็นความจริง ด้วยภายหลังจากที่ทรงประสบ ความสำเร็จในการแผ่ขยายอาณาเขตปกครองของอังกฤษออกไปถึงบางส่วนของยุโรป พระเจ้าเฮ็นรีที่ 2 ทรงเผชิญกับการก่อการกบฎของบรรดาโอรสครั้งแล้วครั้งเล่า แม้ว่า พระองค์จะทรงแต่งตั้งเจ้าชายเฮ็นรี โอรสองค์ใหญ่เป็นรัชทายาท โดยเป็นเจ้าชาย องค์เดียวที่ดำรงตำแหน่งนี้ในขณะพระบิดายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ แต่ก็ไม่ได้ช่วย แก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ และแม้ว่าเจ้าชายเฮ็นรีและโอรสอีกสององค์ถัดไป ได้แก่เจ้าชายเจฟฟรี และเจ้าชายริชาร์ด จะได้รับยศศักดิ์พร้อมแบ่งปันที่ดินอาณาจักร อันกว้างใหญ่ไปแล้วก็ตาม บรรดาโอรสต่างก็ยังไม่พอใจ เนื่องจากประสงค์จะได้ ครอบครองทั้งยศศักดิ์และทรัพย์สิน ไม่ต้องการที่จะรอจนกว่าจะสิ้นพระบิดา

ดังนั้น ตลอดระยะเวลาหลายปี โดยมีพระนางเอลานอร์แห่งอากิแตน พระมารดา คอยยุยงอยู่อีกแรงหนึ่ง เนื่องจากพระนางขมขื่นที่พระเจ้าเฮ็นรีที่2 ทรง เหินห่างหมางเมิน มิหนำซ้ำยังทรงสั่งคุมขังพระนางอยู่เนืองๆ บรรดาโอรสจึง รวมกลุ่มต่อต้านพระองค์อยู่เนืองๆ โดยมีพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ของฝรั่งเศสเป็นแนวร่วม ด้วยความเต็มใจ จวบแม้กระทั่งเจ้าชายเฮ็นรี่สิ้นชีวิตเมื่อปีค.ศ. 1183 และ เจ้าชายเจฟฟรีย์ปราชัยถูกสังหารจากการประลองยุทธ์ เมื่อปี ค.ศ. 1186 พระเจ้าเฮ็นรีที่ 2 ก็ยังทรงไม่มีความสงบสุขอยู่ดี เนื่องจากเจ้าชายริชาร์ดโกรธเคืองที่พระองค์โปรดปราน เจ้าชายจอห์นมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด จึงเข้าร่วมกับพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1189 ทำให้พระเจ้าเฮ็นรีที่2 ทรงพ่ายแพ้ในการรบครั้งอัปยศนี้ ครั้นรายชื่อของแนวร่วมต่างๆที่ต่อต้านถูกเปิดเผย ทรงตกพระทัยยิ่งนักเมื่อพบว่า มีชื่อของเจ้าชายจอห์นรวมอยู่ด้วย พระโอรสองค์เล็กพระองค์นี้ ตระหนักถึงความปราชัย ของพระองค์ จึงแปรเปลี่ยนไปเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ เมื่อทรงทราบว่าถูกพระโอรส องค์เล็กทรยศหักหลัง พระองค์จึงทรงท้อแท้ทอดอาลัย ตามจดหมายเหตุได้บันทึก ถ้อยคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า "พอกันที อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด เราจะไม่ใส่ใจอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นตัวเรา หรือใครๆ….น่าละอายนัก กษัตริย์ผู้ปราชัย" จากนั้นไม่นาน พระเจ้าเฮ็นรีที่ 2 ผู้สิ้นหวังทรงสิ้นพระชนม์ในที่บรรทม และเจ้าชายริชาร์ดขึ้นครองราชย์ เจ้าชายจอห์นก็เจริญรอยตามขัติยประเพณีด้วยการพยายามล้มล้างพระเชษฐาหลายครั้ง แต่ก็ได้รับการอภัยโทษทุกครั้ง จวบจนเจ้าชายริชาร์ดสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิเมื่อปี ค.ศ. 1199 เจ้าชายจอห์นจึงได้ขึ้นครองบัลลังก์สมความปรารถนา


อ้างอิง

  1. Harvey, The Plantagenets, p.47
  2. Harvey, The Plantagenets, p.49
  3. Harvey, The Plantagenets, p.51
  4. John Speed's 1611 book, History Of Great Britain. His sources no longer exist
  5. Weir, Alison, Eleanor of Aquitaine: A Life, pp.154-155, Ballantine Books, 1999
  6. 6.0 6.1 6.2 Turner & Heiser, The Reign of Richard Lionheart
  7. Harvey, The Plantagenets
  8. British History Online Bishops of Durham. Retrieved 25 October 2007.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

http://www.geocities.com/wilaip/royal_scandals4.html

ก่อนหน้า พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าสตีเฟน
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
(ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท)

(ค.ศ. 1154ค.ศ. 1189)
สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1

แม่แบบ:Link FA