ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็องเดร ดูว์ แปลซี เดอ รีเชอลีเยอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Redakie (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Andreas du Plessis de Richelieu.jpg|thumb|250px|อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออใน พ.ศ. 2446]]
[[ไฟล์:Andreas du Plessis de Richelieu.jpg|thumb|250px|อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออใน พ.ศ. 2446]]


'''พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)''' หรือ '''กัปตัน ริเชอลิเออ''' (Andreas du Plésis de Richelieu, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2475) อดีต[[ผู้บัญชาการทหารเรือ]]ของ[[กองทัพเรือสยาม]] เป็นรองผู้บัญชาการการรบของไทยใน[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112]] เมื่อวันที่ [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2436]] และเป็นผู้ออกแบบ[[ป้อมพระจุลจอมเกล้า]]
'''พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)''' หรือ '''กัปตัน ริเชอลิเออ''' ({{lang-fr|Andreas du Plésis de Richelieu}}, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2475) อดีต[[ผู้บัญชาการทหารเรือ]]ของ[[กองทัพเรือสยาม]] เป็นรองผู้บัญชาการการรบของไทยใน[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112]] เมื่อวันที่ [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2436]] และเป็นผู้ออกแบบ[[ป้อมพระจุลจอมเกล้า]]


ในปี พ.ศ. 2428 กัปตันริเชอลิเออเป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าบริเวณปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ตำบลแหลมฟ้าผ่า [[อำเภอพระสมุทรเจดีย์]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] ใช้ป้อมปืนแบบทันสมัยล่าสุดจาก[[ประเทศอังกฤษ]] ที่มีชื่อว่า "ปืนเสือหมอบ" ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2436 ทำการทดลองยิงครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2436 ก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เพียงเดือนเศษ
ในปี พ.ศ. 2428 กัปตันริเชอลิเออเป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าบริเวณปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ตำบลแหลมฟ้าผ่า [[อำเภอพระสมุทรเจดีย์]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] ใช้ป้อมปืนแบบทันสมัยล่าสุดจาก[[ประเทศอังกฤษ]] ที่มีชื่อว่า "ปืนเสือหมอบ" ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2436 ทำการทดลองยิงครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2436 ก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เพียงเดือนเศษ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:51, 16 กันยายน 2554

อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออใน พ.ศ. 2446

พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) หรือ กัปตัน ริเชอลิเออ (ฝรั่งเศส: Andreas du Plésis de Richelieu, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2475) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือของกองทัพเรือสยาม เป็นรองผู้บัญชาการการรบของไทยในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 และเป็นผู้ออกแบบป้อมพระจุลจอมเกล้า

ในปี พ.ศ. 2428 กัปตันริเชอลิเออเป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้ป้อมปืนแบบทันสมัยล่าสุดจากประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อว่า "ปืนเสือหมอบ" ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2436 ทำการทดลองยิงครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2436 ก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เพียงเดือนเศษ

กัปตันริเชอลิเออ เป็นชาวเดนมาร์ก เชื้อสายฝรั่งเศส เข้ามารับราชการในกองทัพเรือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2418 เป็นผู้บังคับกองเรือ พิทยัมรณยุทธ (Regent) ที่ภูเก็ต

ในปี พ.ศ. 2430 กัปตันริเชอลิเออ ร่วมหุ้นกับ กัปตันอัลเฟรด จอห์น ลอฟตัล หรือพระนิเทศชลที เปิดบริษัททำการเดินรถราง เป็นครั้งแรก เส้นทางจากตำบลบางคอแหลม ผ่านถนนเจริญกรุง ไปสิ้นสุดที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นรถรางสายแรกในเอเชีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้พัฒนาเป็นรถรางเดินด้วยไฟฟ้า เริ่มเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2437 ก่อตั้งบริษัทไฟฟ้าสยาม ทำการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ท่านยังก่อตั้งบริษัทรถไฟปากน้ำซึ่งเปิดดำเนินการรถไฟสายกรุงเทพ-สมุทรปราการ ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นสายแรก เมื่อ พ.ศ. 2436

โลงหินของพระยาชลยุทธโยธินทร์ ที่โบสถ์โฮลเมนส์ (Holmens Kirke) กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 กัปตันริเชอลิเออ เป็นผู้นำทหารเรือชาวเดนมาร์กเข้าร่วมรบต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศสที่ปากน้ำ ทั้งที่กงสุลเดนมาร์กมีคำสั่งไม่ให้ชาวเดนมาร์กเข้ายุ่งเกี่ยวในการศึกครั้งนี้ ขณะนั้นท่านมียศเป็นพลเรือจัตวา ตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารเรือ ภายหลังการรบท่านได้รับพระราชทานยศเป็น พลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์ และต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2443 - 29 มกราคม พ.ศ. 2444 กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ เพื่อเดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก[1]

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป พระยาชลยุทธโยธินทร์รับหน้าที่กัปตันเรือพระที่นั่งทุกครั้ง

พระยาชลยุทธโยธินทร์ สมรสกับนางสาวดัคมาร์ เลิช ธิดานายเอฟ. เลิช ผู้พิพากษาชาวเดนมาร์ก มีบุตรธิดา 3 คน คือ[2]

  • Mr. Louis de Richelieu
  • Mr. Helge de Richelieu
  • Madame Schestede Juul

เกร็ด

อ้างอิง

  1. http://www.exnavalcadet.com/sara/view.php?No=50101
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ หม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล. จดหมายถึงหญิงใหญ่ (ฉบับชำระใหม่). กรุงเทพ : สถาพรบุ๊คส์, 2551. ISBN 9789741665358

บรรณานุกรม

  • ณัฐนันท์ สอนพรินทร์ (2550). เจาะลึก สมาคมลับ กับการปฏิวัติโลก. อมรินทร์บุ๊ค. ISBN 9789747489880.
ก่อนหน้า อ็องเดร ดูว์ แปลซี เดอ รีเชอลีเยอ ถัดไป
นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
(16 มกราคม พ.ศ. 2443 - 29 มกราคม พ.ศ. 2444)
จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช