ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาตะกรับห้าแถบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
| ordo = [[Perciformes]]
| ordo = [[Perciformes]]
| familia = [[Pomacentridae]]
| familia = [[Pomacentridae]]
| genus = [[Abudefduf]]
| genus = ''[[Abudefduf]]''
| species = '''{{PAGENAME}} (A. vaigiensis)'''
| species = ''A. vaigiensis''
| binomial = '''''Abudefduf vaigiensis'''''
| binomial = '''''Abudefduf vaigiensis'''''
| binomial_authority = (Quoy and Gaimard, [[ค.ศ. 1825|1825]])
| binomial_authority = (Quoy and Gaimard, [[ค.ศ. 1825|1825]])

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:34, 16 กันยายน 2554

ปลาตะกรับห้าแถบ
ปลาตะกรับห้าแถบในแนวปะการังที่ทะเลแดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Pomacentridae
สกุล: Abudefduf
สปีชีส์: A.  vaigiensis
ชื่อทวินาม
Abudefduf vaigiensis
(Quoy and Gaimard, 1825)
ชื่อพ้อง
  • Abudefduf caudobimaculatus Okada and Ikeda, 1939
  • Abudefduf quinquilineatus von Bonde, 1934
  • Chaetodon tyrwhitti Bennett, 1830
  • Glyphisodon quadrifasciatus Bleeker, 1847
  • Glyphisodon vaigiensis Quoy and Gaimard, 1825

ปลาตะกรับห้าแถบ[1] หรือปลาสลิดหินลายบั้ง หรือปลาตะกรับเขียวเหลือง[2]หรือปลานายสิบอินโดแปซิฟิก (อังกฤษ: Indo-Pacific sergeant) เป็นปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae)

ลักษณะ

ปลาตะกรับห้าแถบมีลำตัวสั้นและแบนทางด้านข้าง เกล็ดตามผิวลำตัวค่อนข้างใหญ่ ครีบหลังทั้งสองตอนเชื่อมต่อกันตลอด ปลายครีบหลังและครีบทวารยื่นยาวออกไปข้างหลังเป็นชายธง ครีบหูและครีบท้องยาวแหลม ครีบหางเป็นสองแฉก ขนาดความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวมีลายพาดสีฟ้าอมดำ 4-6 แถบ สลับกับสีเขียวน้ำทะเลอมเหลือง

ถิ่นอาศัย

ปลาตะกรับห้าแถบ เป็นปลาประจำถิ่นในชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (ออสเตรเลีย - ญี่ปุ่น) แต่ก็มีรายงานว่าพบในทะเลดำ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในประเทศไทยเป็นปลาที่พบได้ทั่วไป ตามอุทยานแห่งชาติทางทะเลของฝั่งอันดามัน โดยเฉพาะบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่

ปลาตะกรับห้าแถบ อาศัยอยู่ตามโขดหินโสโครก และหินปะการังน้ำตื้น ในน้ำอุ่นเขตศูนย์สูตร ระดับความลึกไม่เกิน 15 เมตร จึงสามารถพบเห็นได้เฉพาะตามชายฝั่งและกองหินใต้น้ำเท่านั้น

อุปนิสัย

โดยปกติ ปลาตะกรับห้าแถบ เป็นปลารวมฝูงมักอยู่รวมกับปลาอื่นๆในแนวปะการังได้บ้าง แต่มีการพบว่าฝูงปลาที่คุ้นชิน และได้รับอาหารจากนักท่องเที่ยว มันจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลาตามธรรมชาติ

อันตราย

มีรายงานว่าการบริโภคเนื้อปลาชนิดนี้ทำให้ได้รับสารพิษจากปลาทะเล[2][3] (ซิกัวเทอรา) (Ciguatera)

อ้างอิง

  1. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๔๙
  2. 2.0 2.1 Fishbase.org
  3. ความปลอดภัยด้านอาหาร กะทรวงสาธารณสุข