ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทวทหะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
* [http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=36350 Devadaha เทวทหะ]
* [http://wikimapia.org/5995971/ramgram-stupa-parasi ramgram-stupa-parasi]
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


* [http://maps.google.com/maps?ll=27.517806,83.607502&spn=0.006033,0.013078&t=h&z=17&vpsrc=6&lci=com.panoramio.all maps.google]
* [http://maps.google.com/maps?ll=27.497803,83.681209&spn=0.006034,0.013078&t=h&z=17&vpsrc=6&lci=com.panoramio.all maps.google]
* [http://wikimapia.org/5995971/ramgram-stupa-parasi ramgram-stupa-parasi]
* [http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=36350 Devadaha เทวทหะ]
* [http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=36350 Devadaha เทวทหะ]
{{แคว้นพุทธกาล}}
{{แคว้นพุทธกาล}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:17, 9 กันยายน 2554

เทวทหะ (อังกฤษ: Devadaha) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ 1 ใน มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่ประสูติของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และเป็นเมืองพี่เมืองน้องในฐานะพระประยูรญาติของศากยวงศ์และโกลิยวงศ์แห่งแคว้นสักกะ (กรุงกบิลพัสดุ์) และโกลิยะ (กรุงเทวทหะ) เมืองแห่งนี้ ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณสถานอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือของประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญ

เทวทหะในปัจจุบัน

เทวทหะปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากกบิลพัสดุ์ไปทางทิศตะวันออก 22 กิโลเมตร ห่างจากกับแม่น้ำโรหิณีไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร ปรากฏคันคูเมืองกำแพงเมืองโบราณก่อด้วยหิน ภายในซากเมืองเก่าปรากฏเนินดินโบราณที่ยังไม่ได้ขุดค้นจำนวนมาก เช่น รามคามเจดีย์ สถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่กรุงเทวทหะได้รับจากโฑณพราหมณ์ นักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมากในบริเวณโบราณสถานเมืองเก่าเทวทหะนี้ ปัจจุบันมีเทวาลัยฮินดูหลังหนึ่งที่ชาวบ้านสร้างไว้ ภายในประดิษฐานมูรติสิริมหามายา ประติมากรรมภาพแกะสลักหินทราย ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรูปของพระนางสิริมหามายาด้วย[1]

สภาพของเมืองเก่าเทวทหะในปัจจุบันยังไม่เคยมีนักโบราณคดีสำรวจขุดค้นอย่างจริงจัง คงปล่อยให้เป็นเนินดินฝังซากโบราณสถานจำนวนมากไว้ ทำให้นักจาริกแสวงบุญส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมมาเมืองเทวทหะนี้

อ้างอิง

  1. สุนนท์ ปัทมาคม, รศ. . สมุดภาพแดนพุทธภูมิ ฉลองชนมายุ 80 ปี พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2541.