ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:


การทบทวนพระราชบัญญัติธนาคารญี่ปุ่นครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1997 มีจุดประสงค์เพื่อให้ธนาคารกลางมีอิสระมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีอิสระในการดำเนินการมากเกินไป และขาดการตรวจสอบได้ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะผ่านแล้ว อย่างไรก็ตาม นับแต่การใช้บังคับกฎหมายใหม่นี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นปฏิเสธคำขอของรัฐบาลที่ขอให้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
การทบทวนพระราชบัญญัติธนาคารญี่ปุ่นครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1997 มีจุดประสงค์เพื่อให้ธนาคารกลางมีอิสระมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีอิสระในการดำเนินการมากเกินไป และขาดการตรวจสอบได้ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะผ่านแล้ว อย่างไรก็ตาม นับแต่การใช้บังคับกฎหมายใหม่นี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นปฏิเสธคำขอของรัฐบาลที่ขอให้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

== ภารกิจ ==
ภารกิจของธนาคารกลางญี่ปุ่นตามพระราชบัญญัติก่อตั้ง มีดังนี้
* พิมพ์และจัดการธนบัตร
* นำนโยบายการเงินไปปฏิบัติ
* จัดหาบริการชำระหนี้และรับประกันเสถียรภาพของระบบการเงิน
* ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการคลังและหลักประกันภาครัฐ
* กิจการระหว่างประเทศ
* รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมวิจัย


[[หมวดหมู่:ธนาคารกลาง]]
[[หมวดหมู่:ธนาคารกลาง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:29, 28 สิงหาคม 2554

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本銀行โรมาจิ: 'Nippon Ginkō') มักเรียกย่อว่า นิชิงิน (ญี่ปุ่น: 日銀) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในชูโอะ กรุงโตเกียว

ประวัติศาสตร์

ธนาคารกลางญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลังการปฏิรูปเมจิ เช่นเดียวกับสถาบันสมัยใหม่ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ก่อนหน้าการปฏิรูป ที่ดินศักดินา (fief) ของญี่ปุ่นทั้งหลายต่างออกเงินตราของตัวเอง เรียกว่า ฮันซัตสุ (hansatsu) ซึ่งเป็นระเบียบหน่วยเงินที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่แห่งปีเมจิที่ 4 (ค.ศ. 1871) ยกเลิกระบบเหล่านี้ และสถาปนาเงินสกุลเยน เป็นเงินตราระบบทศนิยมใหม่ คล้ายกันกับเงินดอลล่าร์เงินของเม็กซิโก ระบบฮัน (han) กลายมาเป็นจังหวัด และโรงกษาปณ์ในดินแดนต่าง ๆ กลายมาเป็นธนาคารที่เอกชนเป็นผู้ถือใบอนุญาต ซึ่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกธนาคารเหล่านี้ยังมีสิทธิที่จะพิมพ์เงินออกมาอยู่ มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่รัฐบาลกลางและที่เรียกว่า ธนาคาร "แห่งชาติ" เหล่านี้ได้ออกเงินตรา ช่วงแห่งผลสืบเนื่องที่ผิดคาดนี้สิ้นสุดลงเมื่อธนาคารกลางญี่ปุ่นถูกก่อตั้งขึ้นในปีเมจิที่ 15 (ค.ศ. 1882) ตามแบบของเบลเยียม และได้ถือครองบางส่วนโดยเอกชนนับแต่นั้น มีการปรับเปลี่ยนอีกหลายครั้งยึดตามธนาคารกลางของประเทศอื่น ซึ่งแวดล้อมภายในระเบียบข้อบังคับที่ธนาคารจัดตั้งขึ้น สถาบันได้รับการผูกขาดการควบคุมปริมาณเงินใน ค.ศ. 1884 แต่ต้องรอหลังจากนั้นอีก 20 ปี ก่อนที่ธนบัตรที่ออกไปก่อนหน้านี้จะหมดอายุ

หลังการผ่านระเบียบธนบัตรธนาคารที่เปลี่ยนแปลงได้ (พฤษภาคม ค.ศ. 1884) ธนาคารกลางญี่ปุ่นออกธนบัตรธนาคารเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1885 (ปีเมจิที่ 18) แม้จะมีข้อบกพร่องเล็กน้อยบางประการ แต่การทำงานของธนาคารกลางประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ใน ค.ศ. 1897 ญี่ปุ่นเข้าร่วมมาตรฐานทองคำ และใน ค.ศ. 1899 อดีตธนบัตรธนาคาร "แห่งชาติ" ได้หมดอายุลงอย่างเป็นทางการ

ธนาคารกลางญี่ปุ่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องนับแต่ก่อตั้งขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการจัดระบบองค์กรใหม่ใน ค.ศ. 1942 ภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารญี่ปุ่น ค.ศ. 1942 (ญี่ปุ่น: 日本銀行法 昭和17年法律第67号) และมีช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองสั้น ๆ ระหว่างการยึดครองญี่ปุ่น เมื่อการทำงานของธนาคารถูกชะลอไป และมีการออกเงินตราทางทหาร ใน ค.ศ. 1949 มีการจัดระบบองค์กรใหม่อีกครั้ง

ระหว่างช่วงหลังสงครามทั้งหมด กระทั่งถึงอย่างน้อย ค.ศ. 1991 นโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นดำเนินการผ่านการควบคุมเครดิต "แนะนำหน้าต่าง" (窓口指導) เป็นหลัก ซึ่งเป็นรูปแบบเครื่องมือหลักของธนาคารกลางจีนสำหรับการนำนโยบายการเงินไปปฏิบัติ โดยธนาคารกลางจะกำหนดโควตาสินเชื่อธนาคารแก่ธนาคารพาณิชย์ เครื่องมือดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิด "เศรษฐกิจฟองสบู่" ในคริสต์ทศวรรษ 1980 จากนั้น นโยบายดังกล่าวถูกนำไปปฏิบัติโดย "แผนกธุรกิจ" (営業局) ในเวลานั้น ซึ่งเป็นผู้นำระหว่าง "ปีฟองสบู่" จาก ค.ศ. 1986 ถึง 1989 โดยมีโทชิฮิโกะ ฟุกุอิ เป็นหัวหน้า ต่อมาเป็นรองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นในคริสต์ทศวรรษ 1990 และผู้ว่าการใน ค.ศ. 2003

การทบทวนพระราชบัญญัติธนาคารญี่ปุ่นครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1997 มีจุดประสงค์เพื่อให้ธนาคารกลางมีอิสระมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีอิสระในการดำเนินการมากเกินไป และขาดการตรวจสอบได้ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะผ่านแล้ว อย่างไรก็ตาม นับแต่การใช้บังคับกฎหมายใหม่นี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นปฏิเสธคำขอของรัฐบาลที่ขอให้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ภารกิจ

ภารกิจของธนาคารกลางญี่ปุ่นตามพระราชบัญญัติก่อตั้ง มีดังนี้

  • พิมพ์และจัดการธนบัตร
  • นำนโยบายการเงินไปปฏิบัติ
  • จัดหาบริการชำระหนี้และรับประกันเสถียรภาพของระบบการเงิน
  • ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการคลังและหลักประกันภาครัฐ
  • กิจการระหว่างประเทศ
  • รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมวิจัย