ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พายุเฮอริเคนไอรีน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต เพิ่ม: be:Ураган Ірына, 2011
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1+) (โรบอต เพิ่ม: zh:飓风艾琳 (2011)
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
[[sv:Orkanen Irene (2011)]]
[[sv:Orkanen Irene (2011)]]
[[uk:Ураган Айрін]]
[[uk:Ураган Айрін]]
[[zh:飓风艾琳 (2011)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:07, 28 สิงหาคม 2554

ไฟล์:Hurricane Irene Aug 27 2011 at 0102 UTC.jpg
เฮอร์ริเคนไอรีน

พายุเฮอร์ริเคนไอรีน เป็นพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติกมีพลัง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อหลายประเทศแถบแคริบเบียน และปัจจุบันกำลังพัดขึ้นฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาและแอตแลนติกแคนาดา พายุดังกล่าวเป็นพายุลูกที่เก้าที่ถูกตั้งชื่อ และเป็นพายุเฮอร์ริเคนลูกแรกและลูกใหญ่ในฤดู 2554 ไอรีนก่อตัวขึ้นจากคลื่นกระแสลมจากทะเลแอตแลนติกซึ่งระบุไว้ชัดเจน โดยแสดงสัญญาณก่อตัวทางตะวันออกของแอนทิลลิสน้อย ต่อมามีความกดอากาศหมุนเวียน และศูนย์กลางการหมุนของพายุหมุนแบบปิด ซึ่งทำให้ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติเริ่มแนะนำต่อสาธารณะถึงพายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวในวันที่ 20 สิงหาคม ความกดอากาศก่อตัวขึ้นตามมาหลังพายุพัดผ่านหมู่เกาะลีวาร์ด และจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม พายุได้พัดเข้าใกล้เกาะเซนต์ครอยมาก วันรุ่งขึ้น พายุไอรีนขึ้นฝั่งใกล้กับเปอร์โตริโก ซึ่งได้สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินเป็นอันมาก

พายุเฮอร์ริเคนดังกล่าวทวีกำลังแรงขึ้นขณะที่พัดผ่านหมู่เกาะบาฮามาส กลายเป็นพายุเฮอร์ริเคนใหญ่ ขณะที่พัดผ่านนั้นก็ได้สร้างความเสียหายแก่หมู่เกาะดังกล่าวไปด้วย ก่อนจะเปลี่ยนทิศทางมุ่งขึ้นเหนือ และไอรีนเลียบผ่านฟลอริดา โดยแถบพายุรอบนอกทำให้เกิดลมกำลังพายุหมุนเขตร้อน ปัจจุบัน พายุลูกดังกล่าวกำลังพัดเข้าสู่ชายฝั่งนอร์ทแคโรไลนา และพยากรณ์ว่าจะขึ้นฝั่งภายใน 24 ชั่วโมง[1] ตลอดเส้นทางการพัดผ่านของมัน ไอรีนสร้างความเสียหายใหญ่หลวง และทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยเจ็ดคน ความเสียหายทางการเงินประเมินไว้เบื้องต้นที่ 3,100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[2]

อ้างอิง

  1. "Coastal Watches/Warnings and 5-Day Forecast Cone for Storm Cente". National Hurricane Center. 2011-08-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-26.
  2. Fieser, Ezra (2011-08-25). "Hurricane Irene barrels toward US as Caribbean islands take stock of damage". The Christian Science Monitor. Christian Science Publishing Society. สืบค้นเมื่อ 2011-08-26.