ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทษประหารชีวิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KamikazeBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: mr:मृत्युदंड
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
'''โทษประหารชีวิต''' คือ โทษสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติให้นักโทษที่ได้รับการพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มีผลต้องถูกทำให้เสียชีวิตตามกระบวนการยุติธรรม
'''โทษประหารชีวิต''' คือ โทษสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติให้นักโทษที่ได้รับการพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มีผลต้องถูกทำให้เสียชีวิตตามกระบวนการยุติธรรม


โดยบุคคลที่กระทำหน้าที่นี้เรียกว่า [[เพชฌฆาต]] (ไม่ควรสะกด "เพชรฆาต")
โดยบุคคลที่กระทำหน้าที่นี้เรียกว่า '''[[เพชฌฆาต]]''' (ไม่ควรสะกด "เพชรฆาต")


ในอดีต จะใช้วิธีประหารชีวิตที่ส่งผลให้ประชาชนเกิดความกลัว และไม่กล้าที่จะกระทำความผิด เช่น
ในอดีต จะใช้วิธีประหารชีวิตที่ส่งผลให้ประชาชนเกิดความกลัว และไม่กล้าที่จะกระทำความผิด เช่น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:56, 21 สิงหาคม 2554

วิธีการประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะโดยใช้ดาบของประเทศญี่ปุ่นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ในภาพ เป็นการประหารชีวิตผู้ที่สังหารกงสุลอังกฤษประจำประเทศญี่ปุ่นที่เมืองโยโกฮามา)

โทษประหารชีวิต คือ โทษสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติให้นักโทษที่ได้รับการพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มีผลต้องถูกทำให้เสียชีวิตตามกระบวนการยุติธรรม

โดยบุคคลที่กระทำหน้าที่นี้เรียกว่า เพชฌฆาต (ไม่ควรสะกด "เพชรฆาต")

ในอดีต จะใช้วิธีประหารชีวิตที่ส่งผลให้ประชาชนเกิดความกลัว และไม่กล้าที่จะกระทำความผิด เช่น

  • การตัดศีรษะ (Beheading, Decapitation)
  • การฝังทั้งเป็น (Buried alive)
  • การโยนลงไปในหลุมงู (Snake pit) หรือ ประหารโดยใช้สัตว์ป่า แมลง
  • การผ่าท้อง (Disembowelment) ตัวอย่างเช่น ฮาราคีรี
  • การเผาทั้งเป็น (Burning to death)
  • การประหารแบบ Sawing

ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีวิธีประหารชีวิตเฉพาะชาติต่างๆ เช่น

ในปัจจุบัน โทษประหารชีวิตในหลายประเทศได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากเหตุผลทางมนุษยชน

โทษประหารชีวิตในปัจจุบัน

ประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิตอยู่ในปัจจุบัน (สีแดง) มีจำนวน 64 ประเทศ

การฉีดสารพิษเข้าร่างกาย

วิธีการประหารชีวิตแบบนี้ เป็นการฉีดสารพิษเข้าไปในร่างกายของนักโทษ การประหารวิธีนี้ถูกใช้ใน มลรัฐเทกซัส และ ในมลรัฐอื่น ๆ มีวิธีการเป็น 3 ขั้นตอน

  • ขั้นตอนที่ 1 ฉีดสารโซเดียมไทโอเพนทอล หรือสารบาร์บิทูเรตเพื่อทำให้นักโทษหมดสติ
  • ขั้นตอนที่ 2 ฉีดสารแพนคูโรเนียม โบรไมด์ (Pancuronium Bromide) เพื่อทำให้กล้ามเนื้อต่างๆผ่อนคลาย และมีผลให้ปอดและกระบังลมหยุดทำงาน
  • ขั้นตอนที่ 3 ฉีดสารโพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium Chroride; KCl) เข้มข้น เพื่อให้หัวใจหยุดทำงาน

หลายฝ่ายให้ความเห็นว่า "การประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษนี้เป็นวิธีการที่มีมนุษยธรรมมากที่สุด" แต่นายแพทย์ กล่าวว่า วิธีการประหารชีวิตวิธีนี้จะกระทำได้ยาก ถ้าหากว่านักโทษผู้นั้นติดยาเสพติดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักโทษประหาร โดยใช้วิธีนี้กรมราชทัณฑ์ รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา เรือนจำทหาร และเรือนจำแต่ละรัฐอีก 32 รัฐ ได้ใช้วิธีนี้ ในการประหารชีวิตนักโทษ ปัจจุบันประเทศไทยใช้วิธีการประหารชีวิตแบบนี้

การนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า

นักโทษจะต้องนั่งอยู่ที่เก้าอี้ซึ่งถูกสร้างโดยเฉพาะ นักโทษจะถูกโกนผมและขนตามร่างกายออกทั้งหมด เพื่อจะทำให้กระแสไฟฟ้าเข้าไปในร่างกายของนักโทษได้ง่าย เมื่อมีการเปิดกระแสไฟฟ้า ร่างกายของนักโทษ ก็จะกระตุกโดยมีผ้าคาดรั้งตัวไว้เกิดอาการอาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระ ออกทั้งหมด ผู้ที่เคยเห็นโทษประหารชีวิตด้วยวิธีการนี้กล่าวว่า จะได้กลิ่นไหม้ด้วย

ปริมาณ กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการประหารชีวิต จะแตกต่างกันไปตามระบบของแต่ละรัฐ โดยจะคำนึงถึงน้ำหนัก ตัวของผู้ต้องขังด้วย เช่น ในมลรัฐจอร์เจีย นักโทษประหารจะได้รับกระแสไฟฟ้า 2,000 โวลต์. เป็นเวลา 4 วินาที จากนั้น 1,000 โวลต์. อีก 7 วินาที และ 208 โวลต์ อีก 2 นาที และนำศพไปแช่ในน้ำอุ่นต่ออีก3 นาที

การประหารโดยการรมแก๊ส

นักโทษจะต้องอยู่ในห้อง หรือตู้ที่ไม่มีอากาศเข้าได้ และมีช่องใส่สารโพแทสเซียมไซยาไนด์ หรือ โซเดียมไซยาไนด์ ผสมกับกรดไฮโดรคลอริก จะทำให้เกิด แก๊สไฮโดรไซยานิก ซึ่งจะทำลายความสามารถในการผลิตฮีโมโกลบิลในเม็ดเลือด นักโทษจะหมดสติในเวลาไม่กี่วินาที และจะเสียชีวิตในเวลาอีกไม่นานนัก หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ซึ่ง สวมชุดและหน้ากากป้องกันแก๊สจะทำความสะอาดศพนักโทษ โดยปราศจากสารพิษ ในประเทศสหรัฐอเมริกามี 7 มลรัฐ ที่ใช้วิธีการประหารแบบนี้

การแขวนคอ

เจ้าหน้าที่จะผูกเชือกที่คอของนักโทษประหาร จากนั้นประตูกลซึ่งอยู่ที่พื้นใต้นักโทษจะเปิดออก นักโทษก็จะตกลงไปซึ่งจะทำให้คอของนักโทษนั้นหักลง ทำให้นักโทษเสียชีวิตในทันที เพื่อป้องกันการที่คอนักโทษจะขาด เจ้าหน้าที่ต้องคำนวณ ความยาวของเชือกให้สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของนักโทษ รัฐวอชิงตัน และ รัฐเดลาแวร์ใช้วิธีการประหารชีวิตแบบนี้ ส่วนรัฐนิวแฮมป์เชียร์ จะใช้วิธีดังกล่าว ถ้าหากวิธีการฉีดสารพิษเข้าร่างกายถูกห้ามใช้

การยิงเป้า

จะมีเจ้าหน้าที่ 5 คน ถือปืนเล็งไปที่นักโทษประหาร แต่บางคนจะถือปืนที่ไม่มีลูกกระสุน ดังนั้น จะไม่สามารถ ทราบได้ว่าเพชฌฆาต คือใคร

นักโทษชาย แกรรี่ กิลมอร์ ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยวิธีการนี้ที่ รัฐยูทาห์ในปี 1977 ซึ่งนับเป็นนักโทษประหารชีวิตรายแรกของสหรัฐอเมริกา ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าที่มีขึ้นในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1967 ปัจจุบันวิธีการนี้ยังมีใช้อยู่ในรัฐไอดาโฮ และ ยูทาห์ ส่วนในรัฐโอคลาโฮมา จะนำเอาวิธีการนี้มาใช้ถ้าหากวิธีการรมแก๊สถูกสั่งห้าม

อ้างอิง

  • กรมราชทัณฑ์
  • โทษประหารชีวิต 21 สถานสมัยโบราณ
  • กำธร เลี้ยงสัจธรรม (บรรณาธิการ), กฎหมายตรา 3 ดวง : ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่, สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2548
    • เล่ม1 - ISBN: 9744096527
    • เล่ม2 - ISBN: 9744096535
    • เล่ม3 - ISBN: 9744096543 - พระไอยการกบฎศึก (พระไอยการกระบถศึก) อยู่ในเล่ม 3


แม่แบบ:Link FA