ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอักโษภยพุทธะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:59, 16 สิงหาคม 2554

พระอักโษภยะพุทธะ
'พระธยานิพุทธอักโษภยะ', ทังกาแบบทิเบต, ต้นพุทธศตวรรษที่ 19 (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13), Honolulu Academy of Arts. พื้นหลังเป็นรูปจำนวนมากของเหล่าพระธยานิพุทธะ
สันสกฤตอกฺโษภย
จีน阿閦如来 (āchùrúlái)
ญี่ปุ่น阿閦如来 (Ashuku Nyorai)
มองโกเลียᠬᠥᠳᠡᠯᠦᠰᠢ ᠦᠭᠡᠢ
Хөдөлшгүй
Ködelüsi ügei
ทิเบตམི་བསྐྱོད་པ་ (mikyopa)
ข้อมูล
นับถือในวัชรยาน
พระลักษณะความไม่หวั่นไหว
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

พระอักโษภยะพุทธะเป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง "ไม่หวั่นไหว" ประทับทางทิศตะวันออกของพุทธมณฑล พระกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระ เป็นสัญญลักษณ์แทนโพธิจิตในสรรพสัตว์ ถือดอกบัวที่เป็นสัญญลักษณ์แห่งความกรุณา และระฆังที่หมายถึงอิตถีภาวะแห่งเมตตาและขันติ ทรงช้างคู่สีน้ำเงิน อันเป็นสัญญลักษณ์แห่งพลังมหาศาล พระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระที่รู้จักกันดีคือพระวัชรปาณิโพธิสัตว์และพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์

ความเชื่อ

พระองค์เป็นตัวแทนของปัญญาญาณดังกระจก คือส่องให้เห็นหมดทุกด้าน โดยไม่ปิดบังอำพราง ประจำอยู่ทิศตะวันออกในพุทธมณฑล มีลักษณะใกล้เคียงกับพระไวโรจนพุทธะ โดยอาจสลับตำแหน่งในพุทธมณฑลกันได้ ความเชื่อในคัมภีร์มรณะของทิเบต พระอักโษภยะจะปรากฏในวันที่ 2 พร้อมด้วยพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ตัวแทนแห่งความสมบูรณ์และความงอกงามและพระเมตไตรยโพธิสัตว์[1]

รูปลักษณ์

ท่าทางประจำพระองค์คือภูมิสปรศมุทรา ซึ่งเป็นการวางพระหัตถ์ซ้ายในรูปแบบการทำสมาธิ พระหัตถ์ขวาเหยียดออก นิ้วชี้ชี้ลงสัมผัสพื้นดินเพื่อแสดงการมีชัยเหนือมาร เสียงประจำพระองค์คือเสียง "ฮัม" ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากศูนย์ลมที่หัวใจ แสดงถึงการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เป็นร่างแหอยู่ภายในยานเดียวกัน

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์ปประจำพระองค์คือคฑาเพชร ซึ่งสื่อถึงความมั่นคง ไม่คลอนแคลนของธรรมะ และความไม่หวั่นไหวของผู้บรรลุธรรม

พาหนะ

พาหนะของพระองค์คือช้าง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง ในทิเบตถือว่าช้างเป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญา

อ้างอิง

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
  1. เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช. คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต แปลโดย อนุสรณ์ ติปยานนท์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. มูลนิธิโกมลคีมทอง. 2536

แม่แบบ:พระธยานิพุทธะ