ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์จักรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Q123 (คุย | ส่วนร่วม)
ให้ใช้พระนามเติม เพิ่มสยามบรมราชกุมารีด้วย
Q123 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 178: บรรทัด 178:
| width = 50% colspan=2| '''ลำดับ'''| '''พระนามเมื่อสถาปนา''' || width=15%| '''โปรดเกล้าฯ สถาปนา''' || width=15%| '''สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง''' || width=20%| '''หมายเหตุ'''
| width = 50% colspan=2| '''ลำดับ'''| '''พระนามเมื่อสถาปนา''' || width=15%| '''โปรดเกล้าฯ สถาปนา''' || width=15%| '''สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง''' || width=20%| '''หมายเหตุ'''
|-
|-
| [[ไฟล์:Princess Maha Chakri Sirindhorn 2010-12-7.jpg|120px]] || bgcolor="#E9E9E9"| '''[[ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี]]'''<br /> || [[5 ธันวาคม ]] [[พ.ศ. 2520]]<br /> || ปัจจุบัน<br /> || align=left|
| [[ไฟล์:Princess Maha Chakri Sirindhorn 2010-12-7.jpg|120px]] || bgcolor="#E9E9E9"| '''[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี| สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี]]'''<br /> || [[5 ธันวาคม ]] [[พ.ศ. 2520]]<br /> || ปัจจุบัน<br /> || align=left|
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:57, 11 สิงหาคม 2554

ราชวงศ์จักรี
ตราประจำราชวงศ์จักรี
พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม
(พ.ศ. 2325 - 2492)
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
(พ.ศ. 2492-ปัจจุบัน)
ปกครองราชอาณาจักรไทย
เชื้อชาติไทย ไทย
จำนวนพระมหากษัตริย์9 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ช่วงระยะเวลา2325 - ปัจจุบัน
สถาปนาพ.ศ. 2325
ราชวงศ์ก่อนหน้าราชวงศ์ธนบุรี
(กรุงธนบุรี)

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์"

ที่มาของชื่อและสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรี

ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คำว่า "จักรี" นี้พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน

พระปฐมบรมมหาชนกแห่งราชวงศ์จักรี - พระมหาชนกพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก "จะกล่าวถึงเจ้านายจำพวกซึ่งเป็นปฐมเป็นต้นแซ่ต้นสกุลเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์แลเจ้าราชินิกุลที่เรียกนามว่า คุณ ว่า หม่อม มีบรรดาศักดิ์เนื่องในพระบรมราชวงศ์นี้ ซึ่งบัดนี้เป็นจำพวกต่างๆอยู่ จะให้รู้แจ้งว่าเนื่องมาแต่ท่านผู้ใด พระองค์ใด เป็นเดิมแต่แรกตั้งกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยานี้มา พึงรู้โดยสังเขปว่าบุรุษนารีมีบรรดาศักดิ์ ซึ่งเรียกว่าเป็นจำพวกเจ้า คือเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ทั้งปวงนั้น ล้วนปฏิพัทธ์พัวพันสืบต่อลงมาแต่องค์สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี คือ องค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระเจ้าหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรโมรุถชามหาจักรีบรมนาถ ซึ่งปรากฏพระนามในบัดนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นปฐมบรมอัครมหาราชาธิราชในพระบรมมหาราชวัง"

  • จึงนับได้ว่า สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี หรือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระมหาชนกพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี และเป็นเจ้านายแห่งราชวงศ์จักรีพระองค์แรกอย่างแท้จริง โดย พระมหาสังข์เดิม ซึ่งเป็นพระมหาสังข์ที่ใช้บรรจุพระบรมอัฐของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งปัจจุบันใช้รดน้ำในพระราชพิธีมงคลให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น

พระบรมวงศานุวงศ์

พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต้นราชสกุลมหิดล[1] กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ผู้เป็นพระอนุชาจึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น และภายหลังได้อภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์)

รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์

เครือญาติและผู้เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์

พระบรมวงศานุวงศ์ที่สิ้นพระชนม์

รายพระนาม

พระมหากษัตริย์ไทย

ลำดับ พระนาม ขึ้นครองราชย์ บรมราชาภิเษก พ้นจากราชสมบัติ
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 6 เมษายน พ.ศ. 2325 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 7 กันยายน พ.ศ. 2352
รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 7 กันยายน พ.ศ. 2352 วันที่ขึ้นครองราชย์ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 วันที่ขึ้นครองราชย์ 2 เมษายน พ.ศ. 2394
รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 เมษายน พ.ศ. 2394 6 เมษายน พ.ศ. 2394 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ครั้งที่ 1 :11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411
ครั้งที่ 2 :16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416
23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 วันที่ขึ้นครองราชย์ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 วันที่ขึ้นครองราชย์ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)
สละราชสมบัติ :2 มีนาคม พ.ศ. 2477
สวรรคต :30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) ไม่ได้บรมราชาภิเษก 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ยังอยู่ในราชสมบัติ

พระบรมราชินี

ลำดับ พระนาม เสกสมรส ดำรงตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่ง
รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ประมาณปี พ.ศ. 2303 6 เมษายน พ.ศ. 2325 7 กันยายน พ.ศ. 2352
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 2 ไฟล์:สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี.jpg สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประมาณปี พ.ศ. 2344 7 กันยายน พ.ศ. 2352 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 4 ไฟล์:สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี.jpg สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี 1 เมษายน พ.ศ. 2394 ประมาณ พ.ศ. 2396 9 กันยายน พ.ศ. 2404
(เสด็จสวรรคต)
รัชกาลที่ 5 ไฟล์:สมเด็จพระศรีพัชริน.jpg สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ)
พ.ศ. 2421 พ.ศ. 2440 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 6 ไฟล์:Princessconsortofkingramasixth.jpg สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา พ.ศ. 2464 พ.ศ. 2465 15 กันยายน พ.ศ. 2468
(ลดพระอิสริยยศเป็นพระวรราชชายา)[3]
รัชกาลที่ 7 ไฟล์:พระนางเจ้ารำไพ.jpg สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี สิงหาคม พ.ศ. 2461 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 2 มีนาคม พ.ศ. 2478
(พระสวามีสละราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ)
28 เมษายน พ.ศ. 2493 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ยังอยู่ในตำแหน่ง

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

พระนามเมื่อสถาปนา โปรดเกล้าฯ สถาปนา สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พ.ศ. 2325
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศรสุนทร
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

พ.ศ. 2349
7 กันยายน พ.ศ. 2352
รัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พ.ศ. 2352
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
พ.ศ. 2367
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
ไฟล์:พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว.jpg พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศอิศเรศรังสรรค์ฯ
พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394
7 มกราคม พ.ศ. 2408
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
ไฟล์:กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ.jpg กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พ.ศ. 2411
28 สิงหาคม พ.ศ. 2428
ทิวงคตก่อนได้รับราชสมบัติ

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

พระนามเมื่อสถาปนา โปรดเกล้าฯ สถาปนา สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
ไฟล์:วังหลัง.jpg สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข

ไม่มีข้อมูล
20 ธันวาคม พ.ศ. 2349

สยามมกุฎราชกุมาร

ลำดับ| พระนามเมื่อสถาปนา โปรดเกล้าฯ สถาปนา สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร
14 มกราคม พ.ศ. 2429
4 มกราคม พ.ศ. 2437
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร
พ.ศ. 2437
23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
สืบราชสมบัติพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
28 ธันวาคม พ.ศ. 2515
ปัจจุบัน

สยามบรมราชกุมารี

ลำดับ| พระนามเมื่อสถาปนา โปรดเกล้าฯ สถาปนา สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
5 ธันวาคม พ.ศ. 2520
ปัจจุบัน

แผนผัง

 
 
 
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
พระอัครชายา (ดาวเรือง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
(2279-2325-2352)
 
กรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีสุลาไลย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(2310-2352-2367)
 
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2330-2367-2394)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2347-2394-2411)
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2351-2394-2408)
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2396-2411-2453)
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2424-2453-2468)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2436-2468-2478-2484)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
(2468-2478-2489)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(2470-2489-ปัจจุบัน)

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕, เล่ม ๔๖, ตอน ๐ ก, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๒๑
  2. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์, เล่ม ๘๙, ตอน ๑๑๒ ก ฉบับพิเศษ, ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕, หน้า ๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ว่าด้วยการที่จะออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๑๕๙

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ราชวงศ์จักรี ถัดไป
ราชวงศ์ธนบุรี
(ปกครองกรุงธนบุรี)

ราชวงศ์ที่ปกครองประเทศไทย
(พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)
ยังใช้ในการปกครองอยู่