ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีวงเวียนใหญ่ (รถไฟฟ้าบีทีเอส)"

พิกัด: 13°43′16″N 100°29′43″E / 13.721097°N 100.495244°E / 13.721097; 100.495244
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nutnano (คุย | ส่วนร่วม)
Smirnoff (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 117: บรรทัด 117:
|-
|-
| style="background-color:orange;color:white;text-align:center;font-weight:bold" | 84 || วัดไร่ขิง || คลองสาน || รถปรับอากาศเดินรถถึงวัดไร่ขิง
| style="background-color:orange;color:white;text-align:center;font-weight:bold" | 84 || วัดไร่ขิง || คลองสาน || รถปรับอากาศเดินรถถึงวัดไร่ขิง
|-
| style="background-color:blue;color:white;text-align:center;font-weight:bold" | 84ก || หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา || คลองสาน ||
|-
|-
| style="background-color:blue;color:white;text-align:center;font-weight:bold" | 105 || มหาชัยเมืองใหม่ || คลองสาน || เดินรถฝั่งมุ่งหน้าท่าน้ำคลองสานเท่านั้น
| style="background-color:blue;color:white;text-align:center;font-weight:bold" | 105 || มหาชัยเมืองใหม่ || คลองสาน || เดินรถฝั่งมุ่งหน้าท่าน้ำคลองสานเท่านั้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:56, 2 สิงหาคม 2554

แม่แบบ:BTS infobox

สถานีวงเวียนใหญ่ (อังกฤษ: Wongwian Yai Station, รหัส S8) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สายสีลม ส่วนต่อขยายตากสิน-บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน-แยกตากสิน) ยกระดับเหนือถนนกรุงธนบุรี ใกล้สี่แยกตากสิน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

สถานีวงเวียนใหญ่ เป็นสถานีที่ก่อสร้างพร้อมกับสถานีกรุงธนบุรี ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีลม ส่วนต่อขยายตากสิน-บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน-แยกตากสิน) ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ซึ่งสถานีทั้ง 2 แห่งได้ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนแล้วเสร็จและมีกำหนดเปิดให้บริการกลางปี พ.ศ. 2550 แต่เนื่องจากทางกรุงเทพมหานคร ประสบปัญหาการจัดจ้างบริษัทติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณที่เสนอราคาสูง ประกอบกับทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ได้ปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอสมาเป็นระบบของบริษัทบอมบาดิเอร์ ทำให้การติดตั้งระบบการเดินรถล่าช้ากว่ากำหนดการไปมาก

จนกระทั่งวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กทม. ได้ลงนามสัญญาจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ ส่วนที่ 1 (ระบบอาณัติสัญญาณ) กับบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) งบประมาณ 368 ล้านบาท กรอบระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน และเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ส่วนที่ 2 (ระบบสื่อสาร, ระบบจ่ายไฟฟ้า, ระบบควบคุมและจัดเก็บข้อมูล และระบบประกอบอาคารในสถานีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้า) กับกลุ่มบริษัท AAT Consortium จำกัด งบประมาณ 675 ล้านบาท และลงนามในสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 ใช้ระยะเวลาติดตั้งระบบประมาณ 300 วัน[1] [2]

เมื่อส่วนต่อขยายนี้ดำเนินการเสร็จสิ้น กทม. ได้เปิดทดลองเดินรถไฟฟ้าช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก โดยทดสอบระบบอาณัติสัญญาณและระบบที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-12 เมษายน พ.ศ. 2552 และเริ่มทดลองให้บริการ (trial run) โดยไม่มีผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ต่อมา กทม. ได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการโดยไม่คิดค่าโดยสารระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม-12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นจึงจะเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบว่าสถานีวงเวียนใหญ่มีผู้ใช้บริการ 28,800 เที่ยวคน/วัน และสถานีกรุงธนบุรีมีผู้ใช้บริการ 12,000 เที่ยวคน/วัน รวม 40,800 เที่ยวคน/วัน และวันที่ 18 พฤษภาคม มีผู้โดยสารมากขึ้นเป็น 43,500 เที่ยวคน/วัน คาดว่าในอนาคต จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการส่วนต่อขยายนี้ถึงวันละ 50,000 เที่ยวคน/วัน[3]

ในอนาคต เมื่อมีการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลมเพิ่มเติม สถานีวงเวียนใหญ่จะเป็นสถานีต้นทางของส่วนต่อขยายตากสิน-บางหว้า ช่วงที่ 2 ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร โดยมีสถานีโพธินิมิตรเป็นสถานีต่อไป มีกำหนดเปิดให้บริการช่วงปี พ.ศ. 2554 นอกจากนี้ยังมีโครงการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ช่วงทางวิ่งใต้ดิน เตาปูน-วังบูรพา-ราษฎร์บูรณะ ที่สถานีวงเวียนใหญ่ ในอนาคต

ที่ตั้ง

ถนนกรุงธนบุรี เชิงสะพานลอยข้ามสี่แยกตากสิน (จุดตัดระหว่างถนนกรุงธนบุรี, ราชพฤกษ์ และถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน) บริเวณปากซอยสารภี 3 (ซอยกรุงธนบุรี 1 และ 4) ในพื้นที่แขวงบางลำพูล่าง และแขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

บริเวณโดยรอบสถานีเป็นชุมชนที่พักอาศัยหนาแน่น มีโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมใหม่เป็นจำนวนมากหลังจากที่มีโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเกิดขึ้น จากสถานีสามารถเดินทางไปยังชุมชนและย่านค้าเครื่องหนังบริเวณถนนเจริญรัถ ใกล้ตลาดวงเวียนใหญ่และถนนลาดหญ้าได้ โดยใช้เส้นทางผ่านซอยสารภี 3 ระยะทางประมาณ 400 เมตร

ก่อนหน้าที่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการ ผู้โดยสารจากฝั่งธนบุรีจำนวนมากต้องโดยสารเรือข้ามฟากที่ท่าเรือเป็ปซี่ หรือเดินทางข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าที่สถานีสะพานตากสินและสถานีสุรศักดิ์ แต่จากการเปิดให้บริการที่สถานีวงเวียนใหญ่ ทำให้ผู้โดยสารรถประจำทางจากถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินและบริเวณวงเวียนใหญ่สามารถเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าได้โดยตรง ซึ่งที่ตั้งของสถานีวงเวียนใหญ่ห่างจากสถานีแรกของฝั่งธนบุรี คือสถานีกรุงธนบุรีเพียง 640 เมตรเท่านั้น

สถานีแห่งนี้เคยใช้ชื่อในโครงการระหว่างการก่อสร้างว่า "สถานีแยกตากสิน" เพราะตั้งอยู่ใกล้สี่แยกตากสิน (แต่จุดกึ่งกลางสถานียังห่างจากทางแยกถึงประมาณ 400 เมตร เนื่องด้วยข้อจำกัดจากโครงสร้างสะพานข้ามสี่แยกตากสิน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีวงเวียนใหญ่" ในปัจจุบัน สอดคล้องกับวงเวียนใหญ่ที่ถือเป็นจุดหมายตาที่สำคัญในย่านนี้ แม้ที่ตั้งวัดจากจุดกึ่งกลางสถานีจะอยู่ห่างจากสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ของเส้นทางรถไฟสายแม่กลองถึง 800 เมตร และห่างจากพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ กว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งทางกรุงเทพมหานครเคยมีแนวคิดที่จะสร้างสะพานทางเดินจากสถานีวงเวียนใหญ่ ไปตามเกาะกลางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และเชื่อมต่อไปยังพระบรมราชานุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สัญจรบริเวณนี้

แผนผังสถานี

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 แม่แบบ:BTS Lines สถานีปลายทาง
ชานชาลา 4 แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารไทยวีรวัฒน์, ซอยสารภี 3, สี่แยกตากสิน

รูปแบบของสถานี

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

ทางเข้า-ออก

  • 1 ป้ายรถประจำทางไปสะพานตากสิน, สี่แยกตากสิน, ตลาดวงเวียนใหญ่ (บันไดเลื่อน)
  • 2 ป้ายรถประจำทางไปแยกตากสิน, อาคารลีแมชชีนทูลส์, สี่แยกตากสิน
  • 3 ซอยกรุงธนบุรี 1, ป้ายรถประจำทางไปสะพานตากสิน
  • 4 ซอยกรุงธนบุรี 4, ป้ายรถประจำทางไปแยกตากสิน, อาคารไทยวีรวัฒน์ (บันไดเลื่อน)
  • 5 จุดจอดแล้วจร เกาะกลางถนนกรุงธนบุรี

เวลาให้บริการ

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ 06.00 00.00

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • ลิฟต์ สำหรับผู้พิการ บริเวณกึ่งกลางสถานี จากทางเท้าถนนกรุงธนบุรีทั้ง 2 ฝั่ง
  • บันไดทางขึ้น-ลงสถานีจากทางเท้า 4 จุด (มีบันไดเลื่อน 2 จุด)
  • บันไดขึ้น-ลง บริเวณเกาะกลางถนนกรุงธนบุรีด้านทิศตะวันตก เป็นทางเดินเชื่อมต่อจุดแล้วจร และระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ในอนาคต
  • อาจมีการก่อสร้างสะพานทางเดินบนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเชื่อมต่อสถานีกับบริเวณวงเวียนใหญ่

โครงการรถรับ-ส่ง (shuttle bus)

  • ในอนาคต ทาง กทม. จะจัดให้บริการรถประจำทาง (shuttle bus) เพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารในฝั่งธนบุรีมายังสถานีวงเวียนใหญ่ 10 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดง (สายใต้ใหม่), สายสีส้ม (ตั้งฮั่วเส็ง), สายสีชมพู (สนามหลวง 2), สายสีม่วง (เดอะมอลล์), สายสีน้ำเงิน (แมคโครบางบอน), สายสีฟ้า (โลตัสพระราม 2), สายสีน้ำตาล (จัสโก้ประชาอุทิศ), สายสีเขียวอ่อน (สุขสวัสดิ์), สายสีเขียวเข้ม (บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ) และสายสีเหลือง (แมคโครจรัญสนิทวงศ์) [3]

นิทรรศการภายในสถานี

จัดแสดงบริเวณชั้นขายบัตรโดยสาร ด้านทิศตะวันตกของสถานี มีแบบจำลองของสถานีวงเวียนใหญ่-กรุงธนบุรี และประวัติของโครงการรถไฟฟ้าสายสีลม ส่วนต่อขยายตากสิน-บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน-แยกตากสิน)

รถโดยสารประจำทาง

ถนนกรุงธนบุรี
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
3 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) คลองสาน เดินรถฝั่งมุ่งหน้าท่าน้ำคลองสานเท่านั้น
20 ท่าน้ำพระสมุทรเจดีย์ ท่าดินแดง รถเสริม
76 แสมดำ ประตูน้ำ
84 อ้อมใหญ่ (ฟาร์มจระเข้สามพราน) คลองสาน
84 วัดไร่ขิง คลองสาน รถปรับอากาศเดินรถถึงวัดไร่ขิง
84ก หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา คลองสาน
105 มหาชัยเมืองใหม่ คลองสาน เดินรถฝั่งมุ่งหน้าท่าน้ำคลองสานเท่านั้น
รถเอกชนร่วมบริการ
84 สามพราน คลองสาน
120 สมุทรสาคร คลองสาน
167 บางขุนเทียน คลองสาน
172 การเคหะธนบุรี หมู่บ้านนักกีฬา

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

  • อาคารไทยวีรวัฒน์
  • อาคารสินสยาม
  • อาคารลีแมชชีนทูลส์
  • อาคารสยาม มาเจสติค เจมส์
  • อาคารธนธร
  • อาคารเอสเค

เหตุการณ์สำคัญในอดีต

  • วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 23.00 ถึงเวลา 1.00 น. ของวันถัดมา ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมคณะผู้บริหาร กทม. ประธานสภา กทม. และสื่อมวลชน ร่วมทดสอบระบบการให้บริการผู้โดยสารของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-แยกตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร จากสถานีวงเวียนใหญ่ไปสถานีกรุงธนบุรี และร่วมงาน “ ความทรงจำ...ที่แสนภูมิใจ ” ที่มีการจัดนิทรรศการประวัติความเป็นมาจากวันเริ่มต้นดำเนินงาน จนกระทั่งมาเป็นรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 2.2 กิโลเมตร ที่สถานีวงเวียนใหญ่[4]
  • วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 05.49 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “ Bangkok’s Morning Smile เช้าวันใหม่...แสนสดใส...ที่คนกรุงเทพฯ รอคอย” และทำพิธีปล่อยขบวนรถไฟฟ้าสายแรกของฝั่งธนบุรี ส่วนต่อขยายสายสีลม 2.2 กิโลเมตร โดยนายกรัฐมนตรีสอดบัตรโดยสารใบแรกเข้าช่องสอดบัตรเพื่อใช้บริการรถไฟฟ้ารอบปฐมฤกษ์จากสถานีวงเวียนใหญ่ร่วมกับคณะผู้บริหาร กทม. และสมาชิกสภา กทม. โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สั่นกระดิ่งปล่อยขบวนรถ และนายกิตพล เชิดชูกิจกุล ประธานสภากรุงเทพมหานคร โบกธงเดินขบวนรถ โดยทั้งหมดขึ้นรถไฟฟ้าจากสถานีวงเวียนใหญ่ ไปส่งนายกรัฐมนตรีที่สถานีสุรศักดิ์ ขบวนรถสิ้นสุดที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วกลับมายังสถานีวงเวียนใหญ่อีกครั้ง ก่อนเปิดให้บริการสำหรับประชาชนโดยไม่เก็บค่าโดยสารในเวลา 8.00 น.[5]

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′16″N 100°29′43″E / 13.721097°N 100.495244°E / 13.721097; 100.495244

อ้างอิง

  1. กลุ่มAATเฉือนอิตาเลียนไทยฯ คว้างานวางระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายฝั่งธนฯ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 22 กุมภาพันธ์ 2551
  2. สานฝันคนฝั่งธนฯ อภิรักษ์เดินหน้ารถไฟฟ้า ดันวงเวียนใหญ่ -บางหว้า เปิดใช้ปี 53 หนังสือพิมพ์สวัสดีกรุงเทพ 6 มิถุนายน 2551
  3. 3.0 3.1 วันแรกประชาชนแห่ใช้รถไฟฟ้าส่วนขยายสายสีลมกว่า 4 หมื่นคน สำนักข่าวกรุงเทพมหานคร 19 พฤษภาคม 2552
  4. กทม. ฉลองความยินดีรถไฟฟ้าสายประวัติศาสตร์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาครั้งแรก สำนักข่าวกรุงเทพมหานคร 23 เมษายน 2552
  5. คลิปเสียงพิธีปล่อยขบวนรถไฟฟ้าสายแรกของฝั่งธนบุรี ส่วนต่อขยายสายสีลม 2.2 กิโลเมตร สำนักข่าวกรุงเทพมหานคร 15 พฤษภาคม 2552

สถานีใกล้เคียง

สถานีก่อนหน้า เส้นทางรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีกรุงธนบุรี
มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีปลายทาง