ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิกิริยารีดอกซ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rubinbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.4) (โรบอต แก้ไข: uk:Окисно-відновна реакція
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต เพิ่ม: kk:Балқытпа қалдық
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
[[it:Ossidoriduzione]]
[[it:Ossidoriduzione]]
[[ja:酸化還元反応]]
[[ja:酸化還元反応]]
[[kk:Балқытпа қалдық]]
[[ko:산화·환원 반응]]
[[ko:산화·환원 반응]]
[[lt:Oksidacijos-redukcijos reakcija]]
[[lt:Oksidacijos-redukcijos reakcija]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:37, 19 กรกฎาคม 2554

ปฏิกิริยารีดอกซ์
ไฟล์:Redox Halves.png
ปฏิกิริยารีดอกซ์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือปฏิกิริยารีดักชั่น (reduction) และปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation)

ปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นปฏิกิริยาเกี่ยวกับการรับส่งอิเล็กตรอน แบ่งได้เป็น 2 ครึ่งปฏิกิริยาคือ ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เป็นปฏิกิริยาที่เสียอิเล็กตรอน และปฏิกิริยารีดักชั่น เป็นปฏิกิริยาที่รับอิเล็กตรอน

ปฏิกิริยารีดอกซ์ของสารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิต

ไม่ต่างจากสารอนินทรีย์ เพียงแต่ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในสิ่งมีชีวิตจะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาดีไฮโดรจีเนชั่น (dehydrogenation reaction) โดยสารอินทรีย์ที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน (reduced form) จะมีไฮโดรเจนมากกว่าออกซิเจน ส่วนสารอินทรีย์ที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน (oxidized form) จะมีออกซิเจนมากกว่าไฮโดรเจน ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนจากสารประกอบหนึ่งไปยังสารประกอบหนึ่ง เกิดได้ 4 แบบ คือ

  • เคลื่อนย้ายในรูปอิเล็กตรอนโดยตรง
  • เคลื่อนย้ายในรูปอะตอมไฮโดรเจน เพราะอะตอมไฮโดรเจนประกอบด้วย H+ และ e-
  • เคลื่อนย้ายในรูปไฮไดรด์ ไอออน (hydride ion, :H-) ซึ่งมีอิเล็กตรอน 2 ตัว
  • เคลื่อนย้ายในรูปของออกซิเจน ในกรณีที่ออกซิเจนรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสารอินทรีย์ เช่นการเปลี่ยนไฮโดรคาร์บอนเป็นแอลกอฮอล์