ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สไมลีย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
[[hr:Smješko]]
[[hr:Smješko]]
[[hsb:Smjejkotak]]
[[hsb:Smjejkotak]]
[[hu:Szmájli (egyértelműsítő lap)]]
[[hu:Smiley]]
[[hy:Ժպիտիկ]]
[[hy:Ժպիտիկ]]
[[it:Smiley]]
[[it:Smiley]]
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
[[scn:Smiley]]
[[scn:Smiley]]
[[simple:Smiley]]
[[simple:Smiley]]
[[ta:நகைமுகம் (குறியீடு)]]
[[ta:புன்னகை தவழும் முகம்]]
[[tr:Smiley]]
[[tr:Smiley]]
[[zh:表情符號 (圖片)]]
[[zh:表情符號 (圖片)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:57, 8 กรกฎาคม 2554

สไมลีย์นี้ได้กลับมาเป็นที่นิยมหลายครั้ง แต่รูปร่างลักษณะเด่นก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

สไมลีย์ (อังกฤษ: smiley) คนไทยนิยมเรียก อมยิ้ม เป็นรูปวาดคร่าว ๆ ใช้แสดงใบหน้าที่กำลังยิ้ม ปกติจะเป็นสีเหลือง บางครั้งอาจใช้หมายถึงอีโมติคอนบางรูปแบบด้วย เช่น ^_^ หรือ :-)

ประวัติ

หน้าสไมลีย์ปกติมีลักษณะกลมแบน ขอบมน เป็นรูปคล้าย กระดุม ลูกอม หรือ อมยิ้ม มีลายเส้นวาดเป็นปากในลักษณะกำลังยิ้ม และสีดำสองจุดเป็นตา ผู้สร้างคือ ฮาร์วีย์ บอล (en:Harvey Ball) ในปี ค.ศ. 1963 สำหรับบริษัทประกันชีวิตในเมืองวูสเตอร์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามที่จะใช้มันเป็นเครื่องหมายการค้า แต่สัญลักษณ์นี้ก็ได้แพร่กระจายสู่สาธารณะเสียก่อน

พี่น้อง เมอร์เรย์ และ เบอร์นาด สเปน (Murray and Bernard Spain) ได้ทำให้รูปสไมลีย์นี้เป็นที่นิยม ในช่วงยุคปี ค.ศ. 1970 โดยการขายทั้งเข็มกลัด ถ้วยกาแฟ เสื้อยืด สติ๊กเกอร์ปะกันชนรถ และสินค้าอื่น ๆ ที่มีรูปสไมลีย์และข้อความ "Have a happy day" (ขอให้มีวันที่มีความสุข) ซึ่งเขียนขึ้นโดยเมอร์เรย์ ในปี ค.ศ. 1972 คาดว่ามีเข็มกลัดสไมลีย์นี้กระจายอยู่ทั่วสหรัฐอเมริการาว 50 ล้านอัน ซึ่งก็เป็นจุดที่ความนิยมเริ่มตกต่ำลง

รูปสไมลีย์นี้ เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์หลักของกลุ่มที่นิยมเพลงประเภทที่เรียกว่า "acid house dance music" ในยุคช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ในอังกฤษนั้น รูปสัญลักษณ์นี้ยังใช้ในกลุ่มเต้นรำมั่วสุมใต้ดินที่มั่วยาเอกซ์ตาซี (en:Ecstasy)

กลุ่มสไมลีย์เวิร์ลด์

สไมลีย์เป็นสินค้าที่คิดขึ้นโดยแฟรงคลิน ลูฟรานี่ตั้งแต่ปี 1971 เขาควบคุมกลุ่มสไมลีย์เวิร์ลด์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งหวังให้โลกเป็นสถานที่ที่อยู่ที่มีความสุขมากขึ้น โลโก้สไมลีย์ถูกขายไปทั่วโลกในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป รูปแบบของมันช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆให้มีความสร้างสรรค์และแปลกใหม่มากขึ้น และเราสามารถเห็นได้จากการสะสมสไมลีย์และสไมลีย์ความงาม

ยี่ห้อผลิตจากฝ้ายเพื่อช่วยเหลือและป้องกันสิ่งแวดล้อมและชีวิตของมนุษย์รวมถึงการผลิตด้วย 10เปอร์เซ็นต์ของกำไรจะแบ่งให้กับการกุศลหรือที่เรียกว่า ชมรมสไมลีย์เวิร์ลด์ ซึ่งจะร่วมทำงานด้านสังคมกับประเทศต่างๆ โดยจะเน้นหลักการ ร่วมยิ้มกับผู้ที่ขาดแคลน

ในปี 1997 บุตรของแฟรงคลิน นิโคลาส์ ลูฟรานี่ได้คิดสร้างโลกใหม่คือไอคอนส์จากตัวสไมลีย์โลโก้ ทุกวันนี้มากกว่า 1200 ไอคอนส์นี้จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่เรียกว่าสไมลีย์เวิร์ลด์ สินค้าตัวนี้จะมีหลักการสื่อสารที่จะช่วยเหลือผู้คนเพื่อให้ติดต่อสื่อสารได้ดีขึ้นจากการใช้สินค้าที่สามารถแสดงออกได้ทางสังคม (บัตรแสดงความยินดี ของขวัญ) และยังมีแผนการศึกษากับหนังสือ ของเล่น สินค้าด้านการเรียนรู้ เช่นเดียวกับสินค้าในชีวิตประจำวันทั่วไปสำหรับเด็ก (ของตามสมัย เครื่องประดับต่างๆ)

ตามกฎหมาย

สไมลีย์ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสินค้าตั้งแต่ปี 1971 ชื่อและโลโก้ของสไมลีย์ได้ถูกจดทะเบียนและใช้ในกว่า 100 ประเทศในสินค้าและการบริการ 25 ประเภท มีการจดทะเบียนโลโก้สไมลีย์มากกว่า 1,200 โลโก้ที่ห้องสมุดสภาวอชิงตันและถูกป้องกันลิขสิทธิ์โดยกฎสากล ตั้งแต่ 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มสไมลีย์เวิร์ลด์ได้ตกลงสัญญากว่า 800 สัญญาทั่วโลกและให้ลิขสิทธิ์กับสินค้าและบริการต่าง ๆ กับประเทศต่าง ๆ ใน 5 ทวีป กลุ่มสไมลีย์เวิร์ลด์ทำงานร่วมกับองค์กรกฎหมายกว่า 60 องค์กรเพื่อปกป้องไอพีหรือที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ต

แหล่งข้อมูลอื่น