ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: nap:Trieno
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
* '''[[สถานีรถไฟ]]'''
* '''[[สถานีรถไฟ]]'''


== Album ==
== รูปภาพ ==
<center><gallery caption="รถไฟ" widths="180px" heights="120px" perrow="3">
<center><gallery caption="รถไฟ" widths="180px" heights="120px" perrow="3">
ไฟล์:ID_diesel_loco_CC_201-05_060327_4217_kta.jpg|GE U20C in [[Indonesia]], #CC201-05
ไฟล์:ID_diesel_loco_CC_201-05_060327_4217_kta.jpg|GE U20C in [[Indonesia]], #CC201-05

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:55, 3 กรกฎาคม 2554

รถดีเซลราง Daewoo ขณะจอดที่สถานีรถไฟดอนเมือง
รถจักรไอน้ำ Krauss-Maffei ซึ่งใช้ในสายแม่กลอง-มหาชัย
รถไฟรูปแบบทันสมัยที่ประเทศนอร์เวย์ ใช้ในการรับส่งระหว่างสนามบิน
รถจักรไอน้ำ ร็อกเก็ต ซึ่ง จอร็จ สตีเฟนสัน เป็นผู้ประดิษฐ์ ในปี พ.ศ. 2357

รถไฟ (อังกฤษ: Train) เป็นกลุ่มของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รางส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยราง 2 เส้นขนานกัน แต่ยังหมายรวมถึงประเภทรางเดี่ยวหรือประเภทที่ใช้พลังแม่เหล็กด้วย รถไฟจะขับเคลื่อนด้วยหัวรถจักรหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หลายๆตัวที่ติดอยู่ใต้ท้องรถ รถไฟสมัยใหม่จะใช้กำลังจากหัวรถจักรดีเซลหรือจากไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟที่อยู่เหนือตัวรถหรือตามรางสาม (Third Rail) เดิม รถไฟขับเคลื่อนโดยใช้หม้อต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดแรงดัน แรงดันจะทำการขับเคลื่อนกลไกทำให้ล้อรถไฟเคลื่อนที่ได้ การที่ใช้ฟืนเป็นแหล่งพลังงานในการต้มน้ำ และฟืนที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ทำให้เรียกรถชนิดนี้ว่า รถจักรไอน้ำ

รถไฟแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ หัวรถจักร, รถดีเซลราง, รถโดยสาร และ รถสินค้า

ประวัติ

รถไฟเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณสามร้อยปีมาแล้ว เดิมทีเดียวสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกถ่านหิน รถนั้นมีล้อ แล่นไปตามรางและใช้ม้าลาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2357 จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำ ชื่อว่า ร็อคเก็ต (Rocket)ซึ่งสามารถแล่นได้ด้วยตนเองเป็นผลสำเร็จ นำมาใช้ลากจูงรถแทนม้าในเหมืองถ่านหิน ภายหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำและรถจักรชนิดอื่นๆ ขึ้นอีกหลายแบบ รถไฟได้เปลี่ยนสภาพจากรถขนถ่านหินมาเป็นรถสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ดังเช่นในปัจจุบัน

กิจการรถไฟของไทยนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 ตรงกับรัตนโกสินทร์ศกที่ 105 ไทยได้ให้สัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กสร้างทางรถไฟสายแรกจาก กรุงเทพมหานคร ถึงสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น โดยสังกัดกระทรวงโยธาธิการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์เสด็จประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพมหานครถึงอยุธยา เป็นระยะทาง 71 กิโลเมตร ซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟหลวง ปัจจุบันทางรถไฟที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นรวมสี่สาย คือ สายเหนือ ถึงจังหวัดเชียงใหม่และสุโขทัย สายใต้ ถึงประเทศมาเลเซีย สายตะวันออก ถึงจังหวัดสระแก้ว และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและอุบลราชธานี รวมเป็นระยะทาง 3,855 กิโลเมตร

ประเภทของรถจักร

ในโลกมีรถจักรอยู่หลากหลายประเภท แต่รถจักรประเภทหลักๆที่มีใช้อยู่หลากหลายในโลก คือ

  • รถจักรไอน้ำ (Steam Locomotive) ใช้พลังแรงดันสูงจากไอน้ำอันเกิดจากน้ำต้มเดือด ในการดันลูกสูบเพื่อหมุนล้อ ปัจจุบันแทบไม่มีแล้ว
  • รถจักรดีเซล (Diesel Locomotive)แบ่งออกเป็น
  • รถจักรไฟฟ้า (Electric Locomotive) ใช้ไฟฟ้านำไปหมุนมอเตอร์ลากจูง (Traction Motor:TM) เป็นรถจักรที่มีกำลังสูงมากกว่าประเภทอื่นๆ [ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ได้แก่
    • รถดีเซลราง (Diesel Multiple Unit:DMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังดีเซล ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยดีเซลการกล หรือดีเซลไฮดรอลิก
    • รถรางไฟฟ้า (Electric Multiple Unit:EMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ซึ่งใช้ไฟฟ้า

รถไฟไทยประเภทต่างๆ

  • ขบวนรถด่วนพิเศษ - ให้บริการเฉพาะ ชั้น 1 และ 2 ยกเว้นขบวนรถด่วนพิเศษ 37/38 กรุงเทพ-สุไหงโกลก-กรุงเทพ ที่มีตู้โดยสารชั้น 3 พ่วงด้วย
  • ขบวนรถด่วน - ให้บริการทุกชั้น ยกเว้นขบวนรถด่วน 51/52 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ ที่ไม่มีตู้โดยสารชั้น 1 และขบวนรถด่วน 67/68 กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ ที่ไม่มีตู้โดยสารชั้น 3
  • ขบวนรถเร็ว - ให้บริการเฉพาะชั้น 2 และชั้น 3 ยกเว้นขบวนรถเร็ว 105/106 กรุงเทพ-ศิลาอาสน์-กรุงเทพ เพราะเป็นขบวนรถดีเซลราง
  • ขบวนรถธรรมดา - ให้บริการเฉพาะชั้น 2 และชั้น 3 เช่นเดียวกันกับรถเร็ว ยกเว้นขบวนรถธรรมดาบางขบวนที่ใช้รถดีเซลราง เช่น 209/210 กรุงเทพ-บ้านตาคลี-กรุงเทพ ,281/282 กรุงเทพ-กบินทร์บุรี-กรุงเทพ
  • ขบวนรถชานเมือง - ให้บริการชั้น 3 บางขบวนอาจจะมีรถชั้น 2 พ่วงมาบ้าง ยกเว้นขบวนรถชานเมือง 355/356 กรุงเทพ-สุพรรณบุรี-กรุงเทพ ,ขบวนรถในสายบ้านแหลม-แม่กลอง และขบวนรถชานเมือง 388/391 กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพที่เป็นรถชั้น 2 ทั้งขบวน
  • ขบวนรถท้องถิ่น - ให้บริการชั้น 3 ส่วนใหญ่จะเป็นรถดีเซลรางชั้น 3 แต่ขบวนรถท้องถิ่นในเส้นทางสายใต้ใช้รถจักรทำขบวน บชส.
  • ขบวนรถรวม - ให้บริการทั้งรถโดยสารและสินค้า ในปัจจุบันมีเพียง 4 ขบวนในเส้นทางสายใต้เท่านั้น คือขบวนรถรวม 485/486 ชุมทางหนองปลาดุก-น้ำตก-ชุมทางหนองปลาดุก และขบวนรถรวม 489/490 สุราษฎร์ธานี-คีรีรัฐนิคม-สุราษฎร์ธานี
  • ขบวนรถนำเที่ยว - ให้บริการชั้น 3 อาจมีรถปรับอากาศชั้น 2 พ่วงในบางขบวน
  • ขบวนรถวิ่งระหว่างเมืองใหญ่ - เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศชั้น 2 ทุกขบวน ยกเว้น ขบวนรถด่วน 75/78 กรุงเทพ-อุดรธานี-กรุงเทพที่มีรถชั้น 3 พ่วงมาด้วย
  • ขบวนรถสินค้า - เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งสินค้า

องค์ประกอบของการเดินขบวนรถไฟที่สำคัญ

รูปภาพ

จุดท่องเที่ยว รถไฟในประเทศไทย


กิจการรถไฟในต่างประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA