ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
{{บทความหลัก|พรีออน}}
{{บทความหลัก|พรีออน}}


พรีออนเป็นโปรตีนที่สามารถจำลองตัวเองได้ เป็นตัวการก่อโรค [[Creutzfeldt-Jakob disease|CJD]] ปัจจุบันพบว่าการจำลองตัวเองของพรีออนก็อยู่ภายใต้[[กฎการคัดเลือกโดยธรรมชาติ]]<ref>{{cite journal |author=Li J, Browning S, Mahal SP, Oelschlegel AM, Weissmann C |title=Darwinian Evolution of Prions in Cell Culture |journal=Science |volume= 327|issue= 5967|pages= 869–72|year=2009|month=December |pmid=20044542 |doi=10.1126/science.1183218 |laysummary=http://news.bbc.co.uk/2/hi/health/8435320.stm |pmc=2848070}}</ref>เช่นเดียวกับกรดนิวคลีอิก การจำลองตัวเองของพรีออนเป็นตัวอย่างที่ขัดกับความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา
พรีออนเป็นโปรตีนที่สามารถจำลองตัวเองได้ เป็นตัวการก่อโรค [[Creutzfeldt-Jakob disease|CJD]] โรควัวบ้า และโรคคูรู ปัจจุบันพบว่าการจำลองตัวเองของพรีออนก็อยู่ภายใต้[[กฎการคัดเลือกโดยธรรมชาติ]]<ref>{{cite journal |author=Li J, Browning S, Mahal SP, Oelschlegel AM, Weissmann C |title=Darwinian Evolution of Prions in Cell Culture |journal=Science |volume= 327|issue= 5967|pages= 869–72|year=2009|month=December |pmid=20044542 |doi=10.1126/science.1183218 |laysummary=http://news.bbc.co.uk/2/hi/health/8435320.stm |pmc=2848070}}</ref>เช่นเดียวกับกรดนิวคลีอิก การจำลองตัวเองของพรีออนเป็นตัวอย่างที่ขัดกับความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:07, 26 มิถุนายน 2554

ความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา หรือ หลักเกณฑ์กลางสำหรับชีววิทยาโมเลกุล (อังกฤษ: central dogma of molecular biology) นั้นมีการพูดถึงครั้งแรกโดย ฟรานซิส คริก ใน ค.ศ. 1958[1] และมีกล่าวซ้ำในบทความซึ่งตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1970[2] ว่า

การไหลของข้อมูลในระบบเชิงชีวะ

"ความเชื่อหลักของอณูชีววิทยาคือรายละเอียดโดยละเอียดขั้นต่อขั้นของการส่งต่อข้อมูล โดยระบุชัดเจนว่าข้อมูลไม่อาจถูกส่งย้อนจากโปรตีนกลับไปเป็นโปรตีนหรือกรดนิวคลิอิกได้"[3]

กล่าวคือ กระบวนการสร้างโปรตีนนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถเกิดย้อนกลับได้ ไม่สามารถสร้างดีเอ็นเอโดยมีโปรตีนเป็นต้นแบบได้

หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นกรอบความเข้าใจการถ่ายทอดข้อมูลลำดับระหว่างข้อมูลข้อมูลลำดับ โดยในกรณีที่พบได้ทั่วไป จะขนส่งโพลิเมอร์ชีวภาพในสิ่งมีชีวิต โพลิเมอร์ชีวภาพแบ่งออกเป็น 3 ระดับใหญ่ ๆ ได้แก่ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ (ทั้งสองเป็นกรดนิวคลีอิกทั้งคู่) และโปรตีน มีการถ่ายทอดข้อมูลโดยตรงที่เป็นไปได้จำนวน 3×3 = 9 วิธี ที่เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทอดข้อมูลเหล่านี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้แบ่งประเภททั้ง 9 วิธีนี้ออกเป็นสามประเภท ประเภทละสามวิธี คือ การถ่ายทอดทั่วไป 3 วิธี ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดขึ้นตามปกติในเซลล์ส่นวใหญ่, การถ่ายทอดพิเศษ 3 วิธี ซึ่งเป็นที่รู้จัก แต่เกิดขึ้นเฉพาะเมื่ออยู่สภาวะที่เจาะจงในกรณีของไวรัสบางชนิดหรือในห้องปฏิบัติการ และการถ่ายทอดที่ยังไม่เป็นที่ทราบกันอีก 3 วิธี การถ่ายทอดทั่วไปอธิบายการไหลทั่วไปของข้อมูลทางชีววิทยา ซึ่งดีเอ็นเอสามารถคัดลอกตัวเองเป็นดีเอ็นเอ ข้อมูลดีเอ็นเอสามารถคัดลอกต่อเป็นเอ็มอาร์เอ็นเอได้ (การถอดรหัส) และโปรตีนสามารถถูกสังเคราะห์ได้โดยใช้ข้อมูลในเอ็มอาร์เอ็นเอเป็นแบบ (การแปลรหัส)[2]

พรีออน

พรีออนเป็นโปรตีนที่สามารถจำลองตัวเองได้ เป็นตัวการก่อโรค CJD โรควัวบ้า และโรคคูรู ปัจจุบันพบว่าการจำลองตัวเองของพรีออนก็อยู่ภายใต้กฎการคัดเลือกโดยธรรมชาติ[4]เช่นเดียวกับกรดนิวคลีอิก การจำลองตัวเองของพรีออนเป็นตัวอย่างที่ขัดกับความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา

อ้างอิง

  1. Crick, F.H.C. (1958): On Protein Synthesis. Symp. Soc. Exp. Biol. XII, 139-163. (pdf, early draft of original article)
  2. 2.0 2.1 Crick, F (1970). "Central dogma of molecular biology" (PDF). Nature. 227 (5258): 561–3. doi:10.1038/227561a0. PMID 4913914. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |author-name-separator= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  3. The central dogma of molecular biology deals with the detailed residue-by-residue transfer of sequential information. It states that information cannot be transferred back from protein to either protein or nucleic acid.
  4. Li J, Browning S, Mahal SP, Oelschlegel AM, Weissmann C (2009). "Darwinian Evolution of Prions in Cell Culture". Science. 327 (5967): 869–72. doi:10.1126/science.1183218. PMC 2848070. PMID 20044542. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysummary= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)