ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
AvicBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.5) (โรบอต แก้ไข: ko:국제 사법 재판소
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
[[ka:გაეროს საერთაშორისო სასამართლო]]
[[ka:გაეროს საერთაშორისო სასამართლო]]
[[kn:ಅಂತರರಾಷ್ಟ್ರೀಯ ನ್ಯಾಯಾಲಯ]]
[[kn:ಅಂತರರಾಷ್ಟ್ರೀಯ ನ್ಯಾಯಾಲಯ]]
[[ko:국제사법재판소]]
[[ko:국제 사법 재판소]]
[[krc:БМО-ну Халкъла арасы сюдю]]
[[krc:БМО-ну Халкъла арасы сюдю]]
[[la:Iudicium inter Civitates]]
[[la:Iudicium inter Civitates]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:22, 22 มิถุนายน 2554

ไฟล์:Judges at ICJ in Prasat Preah Vihear 1962.jpg
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ระหว่างการพิจารณาคดีเขาพระวิหาร

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Court of Justice) หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก (อังกฤษ: World Court) ตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2489 เป็นองค์กรหลักภายใต้องค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทำหน้าที่สืบเนื่องต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice) ที่ยุติบทบาทหน้าที่ไปพร้อมกับองค์การสันนิบาตชาติ ( ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2463 )

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีใดๆ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป (อังกฤษ: Contentious Case) เช่นข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมรับอำนาจศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้

นอกจากนี้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในทางกฎหมายระหว่างประเทศ (อังกฤษ: Advisory Opinion) ในสามกรณีหลัก คือ กรณีแรก ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ร้องขอ กรณีที่สอง ตามที่องค์กรอื่นภายใต้สหประชาชาติหรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอโดยได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่ และ กรณีที่สาม ตามที่ได้มีการให้อำนาจวินิจฉัยปัญหาไว้โดยสนธิสัญญา

เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ยอมรับอำนาจศาลให้พิจารณาตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร โดยศาลได้ตัดสินว่าบริเวณปราสาทเขาพระวิหารส่วนสำคัญถือเป็นของประเทศกัมพูชา

ผู้พิพากษาศาลโลกมี 15 คน เลือกตั้งคราวละ 9 ปี การพิจารณาพิพากษาคดีต้องมีผู้พิพากษา 9 คนนั่งเป็นองค์คณะ ศาลจะเลือกประธานและรองประธานศาลเอง และศาลจะนั่งพิจารณาที่อื่นนอกจากสำนักงานศาลที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้

แหล่งข้อมูลอื่น