ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนสิรินธร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Papapiga.a (คุย | ส่วนร่วม)
Papapiga.a (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| class_range =
| class_range =
| type_headman = ผู้อำนวยการ
| type_headman = ผู้อำนวยการ
| headman = นางภัทิรา เสงี่ยมศักดิ์
| headman = นายสมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ
| motto = เลิศวิทยา พลานามัยสมบูรณ์ เกื้อกูลชุมชน ประพฤติตนเป็นคนดี
| motto = เลิศวิทยา พลานามัยสมบูรณ์ เกื้อกูลชุมชน ประพฤติตนเป็นคนดี
| song =
| song =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:04, 18 มิถุนายน 2554

โรงเรียนสิรินธร
จังหวัดสุรินทร์
Sirindhon School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ธ.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญเลิศวิทยา พลานามัยสมบูรณ์ เกื้อกูลชุมชน ประพฤติตนเป็นคนดี
สถาปนาพ.ศ. 2484
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการนายสมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ
สีขาว
แดง
เว็บไซต์[1]

โรงเรียนสิรินธร (อักษรย่อ: ส.ธ.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทสหศึกษา และเป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เดิมชื่อ "โรงเรียนสตรีสุรินทร์" โรงเรียนสิรินธร ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2487 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า " โรงเรียนสิรินธร " ซึ่งเป็นพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในขณะนั้น


ประวัติ

  • พ.ศ. 2482 ได้ย้ายที่เรียนไปเรียน ณ บริเวณหลังศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ( บริเวณสโมสรข้าราชการปัจจุบัน )
  • พ.ศ. 2486 ได้งดรับนักเรียนในชั้นประถมศึกษา งดรับนักเรียนชาย คงรับเฉพาะนักเรียนหญิง ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3( ป.6 ในปัจจุบัน )
  • พ.ศ. 2486 การศึกษาของทางโรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ( ม. 3ในปัจจุบัน )
  • พ.ศ. 2487 ได้ย้ายที่เรียนไปเรียนที่โรงเรียนชลประชาบาล ( โรงเรียนเทศบาล 1ในปัจจุบัน )
  • พ.ศ. 2502 ทางจังหวัดมีนโยบายย้ายโรงเรียนให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ณ บริเวณหนองยาว โดยจัดหาที่ดินให้ประมาณ ๒๖ ไร่เศษ และทางจังหวัดได้จัดสร้างอาคารไม้ 2ชั้น ขนาด 6ห้องเรียนให้ 1หลัง โดยใช้งบประมาณ 120,000 บาท
  • พ.ศ. 2503 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาเป็นเงิน 100,000 บาท และได้รับเงินบริจาคสมทบจากผู้ปกครองนักเรียนอีก 70,000 บาท นำมาสร้างอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น ขนาด 6 ห้อง เรียน ( ณ บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ปัจจุบัน ) ในปีนี้ทางโรงเรียนได้เปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก โดยเปิดเฉพาะแผนกอักษรศาสตร์จำนวน 1 ห้อง

ใน วันที่ 4-5 ตุลาคม 2503 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำภาพยนตร์ส่วนพระองค์มาฉาย ได้เงินโดยเสด็จพระราชกุศลฯ ฝากจังหวัดเก็บไว้ 80,007 บาท

  • พ.ศ. 2504 ใน วันที่ 5-6 สิงหาคม 2504 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำภาพยนตร์ส่วนพระองค์มาฉายเป็นครั้งที่ 2 ได้เงินโดยเสด็จพระราชกุศลฯ มาสมทบกับครั้งแรกเป็นเงิน 128,529 บาท
  • พ.ศ. 2505 ได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารไม้เพิ่มเติมจากอาคารเดิมซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2503 ให้มีขนาดเป็น 10 ห้องเรียน ห้องพักครูและห้องอื่นๆ อีก 4 ห้องเรียน มีความยาว 63 เมตร ซึ่งพวกเราเรียกว่า " อาคารยาว "

ในปีนี้เองทางโรงเรียนได้สร้างบ้านพักครูขึ้นเป็นหลังแรก ซึ่งใช้เป็นบ้านพักอาจารย์ใหญ่

  • พ.ศ. 2506 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ศึกษาธิการจังหวัด อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีสุรินทร์ พ่อค้าและประชาชน ได้นำเงินที่ได้จากการนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์มาจัดฉาย เมื่อปี พ.ศ. 2503 - 2504 ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อเสด็จพระราชกุศลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชทานคืนมาเพื่อสร้างหอประชุมโรงเรียน เราได้วางศิลาฤกษ์สร้างหอประชุม เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2506 โดยหลวงสวัสดิ์ศาสตรพุทธิ ( หอประชุมธารน้ำใจในปัจจุบัน ) และในปีนี้ได้ก่อสร้างอาคารเรียนไม้ ขนาด 6 ห้องเรียน 1 หลัง ( อาคาร 8 ในปัจจุบัน )
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชทานนามใหม่ให้โรงเรียนว่า " สิรินธร " ซึ่งนามพระราชทานนี้ให้ไว้ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดากิติวัฒนากุลโสภาคย์ นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ จึงเท่ากับเป็นนิมิตและสิริมงคลนามอันดียิ่งของโรงเรียนแห่งนี้
  • วันที่ 1 กันยายน 2506 ได้ย้ายนักเรียนจากโรงเรียนประชาบาล มาเรียนรวมกันที่โรงเรียนสิรินธร และยกอาคารเรียนนั้นให้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์
  • พ.ศ. 2507 ได้มีพิธีเปิดหอประชุมธารน้ำใจ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2507 โดย หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2508 เริ่มสร้างอาคารโรงอาหาร ( ปัจจุบันรื้อและสร้างเป็นหอประชุมรวมฤทัยธำรง )
  • พ.ศ. 2509 เริ่มมีการติดตั้งการประปาในโรงเรียน
  • พ.ศ. 2510 ผู้ปกครอง-นักเรียน-ศิษย์เก่า ร่วมกันแสดงละครในรายการ " ธารน้ำใจ " นำเงินรายได้จัดซื้อเครื่องอัดสำเนา ต่อเติมโรงอาหาร และจัดซื้อจักรเย็บผ้าเพื่อให้นักเรียนใช้ปฏิบัติในวิชาตัดเย็บ
  • พ.ศ. 2511 สร้างโรงเก็บรถจักรยาน
  • พ.ศ. 2513 จัดทำห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ
  • พ.ศ. 2514 เริ่มสร้างอาคาร 1
  • พ.ศ. 2516 จัดสร้างสะพานข้ามคลองด้านหน้าโรงเรียน โดยใช้เงินบริจาคจากผู้ปกครอง
  • พ.ศ. 2517 จัดรายการ " ปัญจลีลา " นำรายได้สมทบจัดสร้างรั้วของโรงเรียน
  • พ.ศ. 2518 สร้างอาคาร 9 ( อาคารร่วมเนรมิต )
  • พ.ศ. 2519 สร้างศาลาร่วมเนรมิต
  • พ.ศ. 2522 เริ่มก่อตั้งมูลนิธิโรงเรียนสิริธร
  • พ.ศ. 2523 สร้างอาคาร 2 ,อาคาร 3 และอาคาร 4
  • พ.ศ. 2524 สร้างศาลาสองศรีศตวรรษ
  • พ.ศ. 2527 สร้างเวทีบันเทิงเชิงวิชา
  • พ.ศ. 2528 จัดโครงการ " ทุกตารางเมตรเพื่อเธอ " เพื่อนำรายได้จัดทำถนนคอนกรีตภายในโรงเรียน
  • พ.ศ. 2532 สร้างอาคารประชาสมพันธ์โดยให้ชื่อว่า " อาคารรักสิรินธร " โดยใช้เงินบริจาคซึ่งมีมูลนิธิปลั่งศรี ศิษย์และญาติมิตรเป็นแกนนำ
  • พ.ศ. 2534 เริ่มสร้างอาคาร 5 และได้ขอพระราชทานนามว่า " อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนีนาถ " ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาประกอบพิธีเปิดอาคารในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2537

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

  • อรอุมา เกษตรพืชผล  : ผู้ประกาศข่าว พิธีกร
  • วัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และยังเป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับเด็กอีกมากมาย