ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวิช รัตนเพียร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26: บรรทัด 26:


== การศึกษา ==
== การศึกษา ==
ประวิช รัตนเพียร เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่[[โรงเรียนเซนต์คาเบรียล]] ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต ที่[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] รุ่น 26 (พ.ศ. 2519) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 และปริญญาเอกทางด้านการอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2525 จาก[[มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต]] และยังสำเร็จการศึกษาหลังปริญญาเอก (Postdoctoral Research Associate) จากมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกันนี้ด้วย
* ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาวิทยาศาสตร์ [[โรงเรียนเซนต์คาเบรียล]] (พ.ศ. 2515)
* รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 26 (พ.ศ. 2519)
* Master of Public Administration, [[The Pennsylvania State University U.S.A.]] (พ.ศ. 2522)
* Doctor of Education , The Pennsylvania State University (พ.ศ. 2525) Major - Higher Education, Minor - Public Administration
* Postdoctoral Research Associate The Pennsylvania State University (พ.ศ. 2526)


== การทำงาน ==
== การทำงาน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:51, 17 มิถุนายน 2554

ดร.ประวิช รัตนเพียร
ไฟล์:Pravich R.gif
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 18 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ากร ทัพพะรังสี
ถัดไปยงยุทธ ยุทธวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มิถุนายน พ.ศ. 2499
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองไทยรักไทย
คู่สมรสนางพัชราภรณ์ รัตนเพียร

ดร.ประวิช รัตนเพียร (11 มิถุนายน พ.ศ. 2499) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีต ผู้แทนการค้าไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คนที่ 25 และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

ครอบครัว

ประวิช รัตนเพียร เป็นบุตรของ นายประชุม รัตนเพียร กับนางวิจิตรา รัตนเพียร มีพี่น้องจำนวน 4 คน คือ ดร.ประวิช รัตนเพียร ,ดร.ประเวช รัตนเพียร,ดร.วาชิต รัตนเพียร และดร.วิชุดา รัตนเพียร สมรสกับนางพัชราภรณ์ รัตนเพียร มีบุตร-ธิดา จำนวน 4 คน ได้แก่ นายพิชญ์ รัตนเพียร นายปริน รัตนเพียร นางสาววิชภรณ์ รัตนเพียร และนางสาวปรินดา รัตนเพียร

การศึกษา

ประวิช รัตนเพียร เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 26 (พ.ศ. 2519) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 และปริญญาเอกทางด้านการอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2525 จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต และยังสำเร็จการศึกษาหลังปริญญาเอก (Postdoctoral Research Associate) จากมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกันนี้ด้วย

การทำงาน

การศึกษาพิเศษ

  • สำเร็จวิชาทหารชั้นปีที่ 5 กรมการรักษาดินแดน ฝึกอบรมแต่งตั้งเป็นว่าที่ร้อยตรี กองทัพบก
  • ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ. 2546
  • ผ่านการอบรมหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

ประสบการณ์การเมือง - สังคม

  • พ.ศ. 2528 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง
  • พ.ศ. 2531 – 2534 - ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 1 กรุงเทพมหานคร (24 กรกฎาคม 2531)
  • พ.ศ. 2537 – 2538 - ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก)
  • พ.ศ. 2539 - ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา (17 พฤศจิกายน 2539) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายกร ทัพพะรังสี)
  • พ.ศ. 2541 – 2542 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • มีส่วนสำคัญในการผลักดัน : ตราสัญลักษณ์ไทย Thailand Brand , มาตรการส่งเสริมการเปิดตลาดใหม่ , มาตราการส่งเสริมธุรกิจบริการ
  • พ.ศ. 2544 - ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา (23 มกราคม 2544)
  • พ.ศ. 2547 - ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา 138 ประเทศ ให้เป็นกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาระหว่าง ประเทศนครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (Inter – Parliamentary Union – IPU) 24 เมษายน 2547)
  • พ.ศ. 2547 - ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้แทนการค้าไทย (26 กรกฎาคม 2547)
  • มีส่วนสำคัญในการผลักดัน  : Thailand : Medical Hub of Asia
  • พ.ศ. 2548 - กรรมการคณะกรรมการการอุดมศึกษา วาระที่ 1
  • พ.ศ. 2548 - 2549 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (2 สิงหาคม 2548)[1]
  • มีส่วนสำคัญในการผลักดัน : การสร้างความตระหนักของสังคมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ รายการ Mega Clever
  • พ.ศ. 2551 - กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI,ประธานอนุกรรมการนโยบายและพิจารณาส่งเสริมการลงทุน

ปัจจุบัน

  • นายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • กรรมการคณะกรรมการการอุดมศึกษา วาระที่ 2
  • รองประธานมูลนิธิโรงเรียนดุสิตพณิชยการ
  • กำลังเข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 14 สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2539 - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ. 2540 - ประถมาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2541 - มหาวชิรมงกุฎ
  • พ.ศ. 2542 - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

อ้างอิง

ก่อนหน้า ประวิช รัตนเพียร ถัดไป
นายกร ทัพพะรังสี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม. 55)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์