ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนพรตพิทยพยัต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kungcho (คุย | ส่วนร่วม)
Kungcho (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 155: บรรทัด 155:
| valign = "top" |9-10สิงหาคม 2553
| valign = "top" |9-10สิงหาคม 2553
|-
| valign = "top" |10.ปีการศึกษา 2554
ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง Dracula จำนวน - รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ
| valign = "top" |- สิงหาคม 2554
|-
|-
|}
|}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:06, 6 มิถุนายน 2554

โรงเรียนพรตพิทยพยัต
Protpittayapayat school
ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG
ที่ตั้ง
แผนที่
4ถนนหลวงพรต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ย. (p.y.)
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญประพฤติเป็นตรา วิชาเป็นทรัพย์
สถาปนา1 สิงหาคม 2492
ผู้ก่อตั้งหลวงพรตพิทยพยัต,ท่านเลี่ยม บุนนาค
หน่วยงานกำกับสำนักเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต2
รหัส1000101101
ผู้อำนวยการนาย วิสิทธ์ ใจเถิง
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สีม่วง-เหลื่อง
เพลงมาร์ช พ.ย.
เว็บไซต์www.prot.ac.th

โรงเรียนพรตพิทยพยัต (อังกฤษ: Protpittayapayat school) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 ก่อตั้งโดย หลวงพรตพิทยพยัต-ท่านเลี่ยม บุนนาค ผู้อำนวยการคนแรกคือ นายเขียน ขำปัญญา โรงเรียนพรตพิทยพยัตเป็นหนึ่งใน 500 โรงเรียนที่อยู่ในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล[1]

ประวัติ

อาคารเรียนพรตพิทยพยัตหลังแรก พ.ศ. ๒๔๙๒

โรงเรียนพรตพิทยพยัตก่อตั้งบนที่ดิน 1,041 ไร่ของของ คุณหญิงเลี่ยม บุนนาคที่ได้มอบที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้สร้างสถาบันทางการศึกษาขึ้นในท้องที่เขตลาดลาดกระบังเพื่อให้เยาวชนในเขตลาดกระบังได้มีการศึกษา

เลี่ยม บุนนาค ได้สมรสกับหลวงพรตพิทยพยัต ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน เลี่ยมจึงได้เจริญรอยตามเจตนารมณ์เดิมของเจ้าคุณทหาร คือ ต้องการให้สร้างโรงเรียนขึ้นในท้องที่นี้ ท่านได้สร้างบ้านพักไว้ 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2492 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้นในท้องที่ลาดกระบัง ได้ใช้บ้านพักของท่านเลี่ยมเป็นโรงเรียนชั่วคราวและ ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนพรตพิทยพยัต" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ ศ.ดร.หลวงพรตพิทยพยัต ได้เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2492

ปี พ.ศ. 2500 ท่านเลี่ยมได้มอบที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการ และแบ่งให้โรงเรียนพรตพิทยพยัต จำนวน 200 ไร่ (นอกนั้นให้ใช้เป้นสถานที่ก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) ต่อมาโรงเรียนพรตพิทยพยัตได้แบ่งที่ดิน จำนวน 63 ไร่ให้แก่วิทยาลัยช่างศิลป์ โรงเรียนพรตพิทยพยัตจึงเหลือที่ดิน 137 ไร่

เกี่ยวกับโรงเรียนพรตพิทยพยัต

รวมความหมายว่า "ฝู้ใฝ่หาวิชา ความรู้อยู่เป็นนิจ"

  • โรงเรียนพรตพิทยพยัต ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครโดยมีพื้นที่ถึง๑๓๗ไร่

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

อาคารสถานที่ในโรงเรียน

อาคารเรียนหลักในโรงเรียนพรตพิทยพยัต

  • อาคารเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
  • อาคารเจ้าคุณทหาร
  • อาคารหลวงพรตพิทยพยัต
    อาคารท่านเลี่ยม บุนนาค
  • อาคารท่านเลี่ยม บุนนาค
  • อาคาร48ปีพรตพิทยพยต
  • อาคาร60ปีพรตพิทยพยัต


อาคารเรียนในโรงเรียนพรตพิทยพยัต

  • อาคารงานไฟฟ้าและงานไม้
  • อาคารงานเขียนแบบและงานประดิษฐ์
  • อาคารงานผ้าและดนตรี
  • ศาลาลูกเสือ

ศูนย์กีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยม

ศูนย์กีฬาหลวงพรตท่านเลี่ยมก่อสร้างในปี พ.ศ. 2535 กรมสามัญศึกษาได้ยกที่ดิน จำนวน 33 ไร่ ให้กรมพลศึกษา จัดสร้างสนามกีฬาแบบมาตรฐาน โดยจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องจนแล้วเสร็จประมาณ 100 ล้านบาทโดยมอมให้โรงเรียนพรตพิทยพยัตดูแลรักษา ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย

  • สนามกีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยม สนามกีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยมมีอัฒจรรย์ความจุ3,600ที่นั่งพร้อมยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา
  • สนามกีฬาในร่มพรตพิทยพยัต50ปี หรือโรงยิม50ปีพรตพิทยพยัตภายในสนามมีความจุถึง1,600ที่นั่ง สามารถใช้แข่งกีฬาฟุตซอลและบาสเกตบอล
  • สระว่ายน้ำท่านเลี่ยมภายในสระวายน้ำมีอัฒจรรย์ความจุ600ที่นั่งสระขนาดมาตรฐาน50เมตร
  • สนามบาสเกตบอล มีทั้งหมดสองสนามภายในศูนย์(ทั้งโรงเรียน5สนาม)
  • สนามเทนนิสสุดรักถาวร มีทั้งหมด2สนาม
  • เรือนสีส้ม ใช้เป็นที่พักนักกีฬาและที่เก็บอุปกรณ์กีฬาเทนนิส
  • สนามแบดมินตัน สนามแบดมินตันมีทั้งหมด4สนามตั้งอยู่ภายในหอประชุมใหญ่ซึงสามารถดัดแปลงเป็นที่ประชุมนักเรียนได้ด้วยและภายในหอประชุมใหญ่ยังมีเวทีมวยมาตรฐานอีก๑เวที

อุทยานหลวงพรต-ท่านเลี่ยม

อุทยานหลวงพรต-ท่านเลี่ยมเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดภายในโรงเรียนเพราะภายในอุทยานเป็นที่ตั้งของตัว อนุสาวรีย์หลวงพรต-ท่านเลี่ยมเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่านทั้งสอง ตัวอนุสาวรีย์เองนั้นวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2525 แต่ตัวอุทยานก่อสร้างในยุคต่อมานำโดย นายเฉลียว พงศาปาน ผู้บริหารในยุคนั้น

การเดินทาง

โรงเรียนพรตพิทยพยัต มีประตูทางเข้าออก 2 เส้นทางทางด้านถนนลาดกระบังกับด้านถนนฉลองกรุง การเดินทางมายังโรงเรียนสามารถเดินทางมาได้ ดังนี้

1. รถโดยสารประจำทาง

  • ประตูเข้าถนนลาดกระบังด้านสำนักงานเขตลาดกระบัง (เฉพาะคนเดิน) รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 1013, 143, 151, 517
  • ประตูเข้าฉลองกรุงด้านสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 1013(คันเล็ก), 143, 517

2. รถไฟสายตะวันออก

3.รถยนต์ส่วนตัว

  • จากถนนศรีนครินทร์ เข้าถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) ระยะทางประมาณ 16 กม. และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนฉลองกรุงแล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนหลวงพรต

4.รถตู้ปรับอากาศ

  • เดอะมอลล์บางกะปิ-หัวตะเข้
  • มีนบุรี-หัวตะเข้

ชีวิตในโรงเรียน

แผนการเรียนในระดับมัธยมปลาย (ปีการศึกษา 2554)

  • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ พิเศษ 1 ห้อง
  • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 2 ห้อง
  • คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ 2 ห้อง
  • ภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส 1 ห้อง
  • ภาษาไทย-สังคมศึกษา 2 ห้อง
  • วิทยาศาสตร์-กีฬา 1 ห้อง


ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศสของโรงเรียนพรตพิทยพยัตจัดแสดงขึ้นในทุกปีโดยกลุ่มการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องแรกที่จัดแสดงคือ Roméo et Juliette ในปี พ.ศ. 2545

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส ปีการศึกษา 2553 เรื่อง ZORRO
ละครเพลงภาษาฝรั่งเศสของโรงเรียนพรตพิทยพยัต
ชื่อเรื่อง วันที่แสดง
1.ปีการศึกษา 2545

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Roméo et Juliette 3 รอบการแสดง ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ และแสดงในงาน “เสมา’45 : เปิดโลกการศึกษาขั้นพื้นฐาน” อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี

-
2.ปีการศึกษา 2546

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง Notre Dame de Paris จำนวน 4 รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ

-
3.ปีการศึกษา 2547

ละครเพลง เรื่อง Cinderella จำนวน 6 รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ

-
4.ปีการศึกษา 2548

กิจกรรมละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง Roméo et Juliette จำนวน 7 รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ

-
5.ปีการศึกษา 2549

ละครเพลงภาษาอังกฤษเรื่อง Moulin Rouge จำนวน 9 รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ

-
6.ปีการศึกษา 2550

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง Le Roi Soleil จำนวน 9 รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ และแสดงในงาน “มหัศจรรย์เด็กไทย”มหกรรมปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี

13-15 สิงหาคม 2550
7.ปีการศึกษา 2551

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง Les mille et une vies d'Ali baba จำนวน 9 รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ และแสดงในงานวันประชาคมโลกภาษาฝรั่งเศส ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

12-14 สิงหาคม 2551
8.ปีการศึกษา 2552

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง Le prince d'Egypte จำนวน 9 รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ และแสดงในงานวันประชาคมโลกภาษาฝรั่งเศส ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

12-14สิงหาคม 2552
9.ปีการศึกษา 2553

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง ZORRO L'homme derriere le masque จำนวน 9 รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ

9-10สิงหาคม 2553
10.ปีการศึกษา 2554

ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส เรื่อง Dracula จำนวน - รอบ ณ หอประชุมคุณแม่จ้อย-ดร.อนันต์ เล็กใจซื่อ

- สิงหาคม 2554

บุนนาคเกมส์

กีฬาบุนนาคเกมส์ หรือกีฬาภายในได้มีการจัดการแข่งขันมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของโรงเรียนแต่ในตอนนั้นยังไม่มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการจนในปี พ.ศ. 2544 นายเฉลียว พงศาปาน ผู้อำนวจการโรงเรียนในขณะนั้นได้มีการเรียงชื่ออย่างเป็นทางการว่า บุนนาคเกมส์

ครั้ง สัญลักษณ์ คณะสีที่เป็นเจ้าภาพ เริ่ม สิ้นสุด คณะสีที่ได้ถ้วยบุณนาคเกมส์
1 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG - ปลายปี พ.ศ. 2544 ปลายปี พ.ศ. 2544 -
2 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG - ปลายปี พ.ศ. 2545 ปลายปี พ.ศ. 2545 -
3 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG - ปลายปี พ.ศ. 2546 ปลายปี พ.ศ. 2546 -
4 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG - ปลายปี พ.ศ. 2547 ปลายปี พ.ศ. 2547 -
5 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG - ปลายปี พ.ศ. 2548 ปลายปี พ.ศ. 2548 -
6 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG - ปลายปี พ.ศ. 2548 ปลายปี พ.ศ. 2548 -
7 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG - ปลายปี พ.ศ. 2549 ปลายปี พ.ศ. 2549 -
8 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG คณะสีเขียว ปลายปี พ.ศ. 2550 ปลายปี พ.ศ. 2550 -
9 คณะสีแดง ธันวาคม พ.ศ. 2551 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะสีเขียว
10 ไฟล์:บุนนาคเกมส์ครั้งที่10.png คณะสีน้ำเงิน 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 คณะสีเขียว
11 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG คณะสีชมพู 18 พศจิกายน พ.ศ. 2553 19 พศจิกายน พ.ศ. 2553 คณะสีเขียว
12 ไฟล์:ตราโรงเรียนพรต.JPG คณะสีเขียว พศจิกายน พ.ศ. 2554 พศจิกายน พ.ศ. 2554


รายนามผู้บริหาร

ลำดับ ภาพ ชื่อและนามสกุล เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 นายเขียน ขำปัญญา
(5 พ.ค. 2456—24 ต.ค. 2528)
พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2499 เสียชีวิตแล้ว
2 นายเสียง ผดุงชีวิต พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2505 -
3 นายพยม ชุณหเสวี พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2507 -
4 นายสมบูรณ์ ศิวารัตน์ พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2509 -
5 นายฉลวย กรุณามิตร พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2510 -
6 นายบัญชา ตั้งใจ พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2523 เสียชีวิตแล้ว
7 นายอดิเรก รัตนธันญา พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2525 -
8 นายปรีชา สนแจ้ง พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2531 -
9 นายถนอม พิมพะนิตย์ พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2534 -
10 นายวิรัตน์ รักมาก พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2537 -
11 นายแคล้ว ทศน์พงษ์ พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2539 -
12 นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540 -
13 นางสังข์ อัตตัญญู พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2543 -
14 นายเฉลียว พงศาปาน พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2549 -
15 นายจีระศักดิ์ จันทุดม พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 -
16 ไฟล์:นายวิสิทธ์ ใจเถิง.jpg นายวิสิทธ์ ใจเถิง พ.ศ. 2550 ปัจจุบัน อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ กรุงเทพมหานคร

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. [http://www.worldclassschoolthai.net/rongreiyn-ni-khorngkar-radab-mathymsuksa โรงเรียนมาตรฐานสากล World-Class Standard School
  2. [http://www.prot.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=31&Itemid=29 จากเว็บไซต์โรงเรียนพรตพิทยพยัต