ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฟ็นรีร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: fi:Fenrir
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: fa:فنریر
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
[[et:Fenrir]]
[[et:Fenrir]]
[[eu:Fenrir]]
[[eu:Fenrir]]
[[fa:فنریر]]
[[fi:Fenrir]]
[[fi:Fenrir]]
[[fr:Fenrir]]
[[fr:Fenrir]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:39, 30 พฤษภาคม 2554

"พันธนาการเฟนรีร์" (1909) โดย โดโรธี ฮาร์ดี (Dorothy Hardy)

ในตำนานเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย หมาป่าเฟนรีร์ (ภาษานอร์สโบราณ Fenrir: "ผู้อาศัยในบึงเลน"[1] Fenrisúlfr: "หมาป่าเฟนรีร์"[2] Hróðvitnir: "หมาป่าที่เลื่องลือ"[3] หรือ Vánagandr: "อสูรกายแห่งแม่น้ำวาน"[4]) เป็นหมาป่าขนาดมหึมา มีตัวตนอยู่ในบทกวีเอ็ดดา (Poetic Edda) ที่เรียบเรียงในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จากต้นฉบับโบราณ และบทประพันธ์เอ็ดดา (Prose Edda) และ ฮีมสกรินก์กา (Heimskringla) ที่เขียนขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยสนอร์รี สเทอร์ลิวซัน (Snorri Sturluson) ทั้งในบทกวีเอ็ดดาและมหากาพย์เอ็ดดาเฟนรีร์เป็นหนึ่งในบุตรของโลกิ เป็นบิดาแห่งหมาป่าสกอลล์ (Sköll) และฮาตี (Hati Hróðvitnisson) เป็นหนึ่งในลางบอกเหตุที่จะทำให้เกิดวันแร็กนาร็อก หมาป่าตนนี้เจริญเติบโตขึ้นทุกวันกลายเป็นหมาป่าที่ดุร้ายและมีกำลังมหาศาล โอดินจึงสั่งให้พันธนาการเฟนรีร์ไว้ด้วยริบบิ้นไกลพ์นิร์ของเหล่าคนแคระที่แข็งแกร่งเหนือสิ่งอื่นใด เมื่อเหล่าเทพแอซิร์จะหลอกพันธนาการเฟนริร์ มันเรียกร้องให้เหล่าเทพพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจโดยการวางมือลงในปากของมัน เทพทิร์อาสาทำหน้าที่นี้ เมื่อเฟนริร์เห็นว่าตนเองโดนหลอกและไม่สามารถดิ้นหลุดจากโซ่ได้จึงกัดมือของทิร์ขาด จากคำทำนายในวันแร็กนาร็อก เฟนริร์จะหลุดออกมาได้ และสังหารโอดิน แต่ในเวลาต่อมาเฟนริร์จะถูกวีดาร์ หนึ่งในบุตรของโอดินสังหาร หมาป่าเฟนริร์เป็นการสะท้อนความเชื่อ และความรู้สึกอย่างหนึ่งของชาวไวกิ้งที่มองเห็นเหล่าหมาป่าเป็นศัตรูเป็นปีศาจร้าย นอกเหนือจากเหล่ายักษ์น้ำแข็ง (หิมะและหน้าหนาว) และยักษ์เพลิง (ภูเขาไฟ)

บทประพันธ์

บทกวีเอ็ดดา

บทประพันธ์เอ็ดดา

บันทึกทางโบราณคดี

สมมติฐาน

อิทธิพลต่อปัจจุบัน

ในอะนิเมะชุดเซนต์เซย่า เฟนรีร์ได้กลายเป็นชุดเกราะให้แก่ตัวละครตัวหนึ่งในเรื่อง ตอน เทพเจ้าโอดินแห่งสแกนดิเนเวีย ในชื่อ แอริออธ เฟนริล

อ้างอิง

  1. Orchard (1997:42).
  2. Simek (2007:81).
  3. Simek (2007:160).
  4. Simek (2007:350).

บรรณานุกรม