ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวนสาธารณะเซนต์เจมส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: sv:St. James’s Park
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: id:St. James's Park
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[he:פארק סנט ג'יימס]]
[[he:פארק סנט ג'יימס]]
[[hu:St. James’s Park]]
[[hu:St. James’s Park]]
[[id:St. James's Park]]
[[it:St. James's Park]]
[[it:St. James's Park]]
[[ms:Taman St. James]]
[[ms:Taman St. James]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:32, 8 พฤษภาคม 2554

อุทยานหลวงแห่งลอนดอน

สวนสาธารณะเซนต์เจมส์ (อังกฤษ: St. James's Park) เป็นสวนสาธารณะขนาด 58 เอเคอร์ในเวสต์มินสเตอร์ ใจกลางกรุงลอนดอน และมีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาอุทยานหลวงแห่งลอนดอน ตั้งอยู่ในส่วนทิศใต้สุดของย่านเซนต์เจมส์ ซึ่งตั้งชื่อตามโรงพยาบาลโรคเรื้อนที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่ St. James the Less สวนสาธารณะเซนต์เจมส์ล้อมรอบด้วย พระราชวังบัคกิงแฮมทางทิศตะวันตก เดอะ มอลล์และพระราชวังเซนต์เจมส์ทางทิศเหนือ กองทหารม้ารักษาพระองค์ทางทิศตะวันออก และ Birdcage Walkทางทิศใต้ ภายในสวนมีทะเลสาบขนาดเล็กที่ชื่อว่าทะเลสาบสวนเซนต์เจมส์ มีเกาะอยู่สองเกาะ ได้แก่ เกาะดั๊ก (Duck Island) (ตั้งชื่อตามฝูงนกน้ำในทะเลสาบ) และเกาะตะวันตก จากสะพานที่ทอดข้ามทะเลสาบจะมองเห็นทิวทัศน์ของพระราชวังบัคกิงแฮมผ่านแมกไม้และน้ำพุและทิวทัศน์ของอาคารหลักของ Foreign and Commonwealth Office ทางทิศตะวันออก

สวนตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของหมู่สวนสาธารณะที่กระจุกตัวอยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสวนอื่นๆ ได้แก่ (เรียงจากตะวันออกไปตะวันตก) สวนสาธารณะกรีนพาร์ค, สวนสาธารณะไฮด์พาร์ค และ สวนเคนชิงตันการเดนส์ สถานีรถไฟใต้ดินที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ สถานีเซนต์เจมส์พาร์ค, สถานีวิกตอเรียและสถานีเวสมินสเตอร์

ประวัติ

แบบแปลนสวนสาธารณะของ อังเดร์ มอร์เลต ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแบบแปลนก่อสร้างที่ดูเป็นธรรมชาติกว่า
สวนสาธารณะกรีนพาร์ค และ สวนเซนต์เจมส์พาร์ค ใน พ.ศ. 2376

เมื่อ พ.ศ. 2075 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงซื้อที่ดินที่เป็นที่ลุ่มน้ำขัง ซึ่งมักจะมีน้ำจาก Tyburn stream ที่ไหลจากวิทยาลัยเอตัน เข้าท่วมถึง ที่ดินผื้นนี้อยู่ทางทิศตะวันตกของพระราชวังยอร์ค ซึ่งพระเจ้าเฮนรี่ทรงยึดมาจากพระคาร์ดินัล วอลส์ซี่ เพื่อเป็นพระราชวังของพระองค์ เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 1เสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2146 พระองค์รับสั่งให้ระบายน้ำออกจากอุทยานและปรับภูมิทัศน์ พร้อมทั้งนำสัตว์จากดินแดนอื่นเข้ามาเลี้ยงไว้ในอุทยาน เช่น อูฐ จระเข้ ช้าง รวมถึงสร้างกรงนกขนาดใหญ่ตลอดด้านทิศใต้ของอุทยานสำหรับเลี้ยงนกจากต่างดินแดน

ระหว่างที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ประทับอยู่ในฝรั่งเศส ทรงประทับใจอุทยานที่งดงามที่พระราชวังหลวงแห่งฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงมีรับสั่งให้ออกแบบอุทยานใหม่ให้ดูเป็นทางการมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลงานของนักปรับภูมิทัศน์ อังเดร์ มอร์เลต การออกแบบใหม่รวมถึงการสร้างคลองขนาด 775 คูณ 38 เมตรที่ปรากฏในแผนเดิม พระเจ้าชาร์ลส์ที่สองทรงเปิดอุทยานให้ประชาชนเข้าชมได้ รวมทั้งทรงใช้เป็นสถานที่ให้ความบันเทิงแก่พระราชอาคันตุกะและนางสนม อย่างเช่น Nell Gwyn ในสมัยนั้นอุทยานมีชื่อเสียงอื้นฉาวในด้านเป็นสถานที่พบปะเพื่อกระทำการเสื่อมทางศีลธรรม ดังที่ จอห์น วิลมอต เอิร์ลแห่งโรเชสเตอร์ที่ 2 เขียนไว้ในบทกวี A Ramble in St. James's Park

ในศตวรรษที่ 18 เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างภายในสวน ตัวอย่างเช่น การแปรสภาพส่วนหนึ่งของคลองเพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินสวนสนามของเหล่าทหารม้ารักษาพระองค์ และใน พ.ศ. 2304 พระราชวงศ์ได้ซื้อคฤหาสน์บัคคิงแฮมไป (ปัจจุบันคือพระราชวังบักกิงแฮม) ในระหว่าง พ.ศ. 2369 - 2370 Prince Regent (ต่อมาคือพระเจ้าจอร์จที่ 4) ทรงรับสั่งให้ปรับเปลี่ยนสวนใหม่ ควบคุมงานโดยสถาปนิกและนักออกแบบภูมิทัศน์ จอห์น แนช ทำให้คลองที่เป็นเส้นตรงกลายเป็นทะเลสาบที่มีรูปร่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น ถนนที่มีรูปแบบเป็นทางการก็กลายเป็นทางเดินวนเวียนที่มีบรรยากาศโรแมนติก ขณะเดียวกันก็มีการขยายคฤหาสน์บัคคิงแฮม เพื่อสร้างพระราชวังในปัจจุบัน และสร้าง Marble Arch ไว้ที่ทางเข้า ขณะที่ The Mall กลายเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินหลัก ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนสัญจรไปมาใน พ.ศ. 2430 หรืออีก 60 ปีถัดมา Marble Arch ถูกเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งปัจจุบันที่ทางแยก ถนนออกฟอร์ด ตัดกับ พาร์คเลน เมื่อ พ.ศ. 2394 ขณะที่ตำแหน่งเดิมเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ระหว่าง พ.ศ. 2449 - 2467

สมุดภาพ

External links and references

พิกัดภูมิศาสตร์: 51°30′6″N 0°7′55″W / 51.50167°N 0.13194°W / 51.50167; -0.13194