ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tkit9s2o (คุย | ส่วนร่วม)
Tkit9s2o (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
* อลงกรณ์ สถาปิตานนท์ (โค้ก). [http://www.banyaibook.com/index.php/book/177-b101 ''Unseen อนุบาลฝันในฝันฯ'']. สำนักพิมพ์ บ้านใหญ่บุ๊ก
* อลงกรณ์ สถาปิตานนท์ (โค้ก). [http://www.banyaibook.com/index.php/book/177-b101 ''Unseen อนุบาลฝันในฝันฯ'']. สำนักพิมพ์ บ้านใหญ่บุ๊ก
ปีที่พิมพ์ : 1/2551, 400 หน้า ISBN 978-974-06-1994-9
ปีที่พิมพ์ : 1/2551, 400 หน้า ISBN 978-974-06-1994-9
* ภัทรพร ศิลปาจารย์. [http://thesis.grad.chula.ac.th/current.php?mode=show&id=5084897928"ประสิทธิภาพและประสิทธิผลรายการโทรทัศน์ “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา” (THE EFFICIENCY AND EFFECTIVENESS OF INNERDREAM KINDERGARTEN SATELLITE PROGRAMME)"]. กรุงเทพ : วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาัลัย, 2551
* ภัทรพร ศิลปาจารย์. [http://thesis.grad.chula.ac.th/current.php?mode=show&id=5084897928"ประสิทธิภาพและประสิทธิผลรายการโทรทัศน์ “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา” (THE EFFICIENCY AND EFFECTIVENESS OF INNERDREAM KINDERGARTEN SATELLITE PROGRAMME)"]. กรุงเทพ : วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:34, 7 พฤษภาคม 2554

โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เป็นชื่อที่ใช้เรียก "รายการพระธรรมเทศนา" [1][2]การศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมผ่านทางโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาของช่องโทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียมช่องดีเอ็มซี ของวัดพระธรรมกาย ซึ่งเผยแพร่ไปทั่วโลก และเผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต รวมถึงผ่านวิทยุกระจายเสียงทั้งระบบ เอฟเอ็ม และ เอเอ็ม ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นรายการสดที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้แสดงพระธรรมเทศนาออกอากาศ ในวันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา 19.30 น. - 22.00 น. โดยมีการประยุกต์นำภาพและเพลงมาประกอบการเทศน์สอน

นอกจากนี้ ยังเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มสาธุชนทั่วโลกที่รับชมและฟังพระธรรมเทศนาของ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

ที่มาของชื่อ

คำว่า โรงเรียน คือ แหล่งของคนที่มารวมตัวกันเพื่อศึกษาเรื่องราวใดๆ จึงนำมาใช้เรียกสถานที่ที่กลุ่มคน ซึ่งในที่นี้คือ "กลุ่มสาธุชน" ผู้กำลังรับชมรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา สาเหตุที่เรียกว่า โรงเรียนอนุบาล เพราะสาธุชนที่รับชมรายการ เปรียบเสมือนว่า เป็นเด็กอนุบาลที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตและที่มา(การมาเกิด) ที่ไป(การไปเกิดเมื่อละโลก)ของชีวิตในสังสารวัฏ ตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สาธุชนที่รับชมและฟังพระธรรมเทศนาในรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝัน นั้น จึงถูกเรียกว่า "นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา" หรือ "นักเรียนอนุบาลฯ"

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ซึ่งเป็นผู้สอน จึงเรียกตนเองว่า "ครูไม่ใหญ่" ซึ่งหมายถึงครูที่เพิ่งเริ่มฝึกสอน และ เริ่มสอนในระดับชั้นอนุบาลเท่านั้น

เนื้อหารายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

1. "กรณีศึกษา เรื่อง กฎแห่งกรรม" ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของบุุคคลจริงที่ส่งเรื่องราวของตนเองและครอบครัวถึงพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ด้วยต้องการทราบถึงบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น โดยพระราชภาวนาวิสุทธิ์เรียกวิธีการที่ทำให้ทราบบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น ว่า "ฝันในฝัน" ตามอย่างคำกล่าวของ พระมงคลเทพมุนี ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงสมาธิชั้นสูงและการใช้วิชชาธรรมกายเพื่อศึกษาความเป็นมาเป็นไปของสรรพสัตว์[3]

ในช่วง 2550 เป็นต้นมา รายการดังกล่าวเป็นเพียงเทปบันทึกภาพ หลังจากมีจำนวนกรณีศึกษาที่ออกอากาศแล้วเกือบ 2,000 เคส โดยพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ปรับการออกอากาศเป็น "ข่าวสั้นทันปรโลก" หรือ การนำเสนอเรื่องราวกฏแห่งกรรมของผู้เป็นต้นบุญต้นแบบในการสร้างบารมีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เช่น กรณีศึกษาของ ดร. กฤษดา จ่างใจมนต์ เจ้าของบริษัท เนเจอร์กิฟท์, เนื้อหาบางส่วนที่กล่าวถึงอดีตชาติของ คุณอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของ บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล และ กรณีศึกษาของคุณพ่อ[4] ของนักร้องระดับโลก Howard McCrary[5]ซึ่งเป็นเพื่อนรักกับไมเคิล แจ็คสัน เป็นต้น

2."โครงการฟื้นฟูศีลธรรม กิจกรรมเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาในแบบต่างๆ" ที่เป็นกิจกรรมที่ได้ริเริ่มขึ้นโดยวัดพระธรรมกาย เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับโครงการอุปสมบทหมู่พระธรรมทายาทรุ่นต่างๆ , โครงการอุปสมบทหมู่ทั่วประเทศไทย, โครงการธุดงค์ธรรมชัย, โครงการบวชอุบาสิการแก้วหน่ออ่อนทั่วประเทศ, โครงการเด็กดีวีสตาร์

3. "ผลการปฏิบัติธรรม" เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายตามแนววิชชาธรรมกาย ซึ่งเป็นผลการปฏิบัติธรรมที่ส่งมาจากพระภิกษุ สามเณร และสาธุชนทุกชาติ ศาสนา และทุกภาษาทั่วโลก ที่มีผลการปฏิบัติธรรมออกมาในแนวเดียวกัน ที่เป็นพยานว่าภายในตัวของมนุษย์ทุกคนมี "ดวงธรรมและพระธรรมกาย " ไม่ว่าคนๆ นั้นจะนับถือศาสนาหรือเชื้อชาติใดก็ตาม

4. "ทศชาติชาดก" เช่น พระเตมียกุมาร ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมะบารมี, พระภูริทัตกุมาร ผู้ยิ่งด้วยศีลบารมี, มหาพรหมนารท ผู้ยิ่งด้วยอุเบกขาบารมี เป็นต้น

5. "ซีรี่ย์พุทธประวัติ" ได้แก่ พระสมนโคดม, พระศรีอาริยเมตไตรย์[6]

6. เรื่องราวเกี่ยวกับปรโลก ได้แก่ "สวรรค์ และ อบายภูมิ " เช่น เทพนารี, มหานรกขุม 5, เปรต เป็นต้น

รางวัล

พ.ศ. 2550 : มูลนิธิธรรมกายของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้รับรางวัลเทลลี (telly award) จำนวน 12 รางวัล จากผลงานที่ของโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ผ่านช่องโทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียมช่องดีเอ็มซี (Dhamma Media Channel; DMC)[7]

อ้างอิง

  1. [1]3 ปีที่ผ่าน ฝันในฝันวิทยา เรียบเรียงจากโอวาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์ 9 พฤษภาคม 2548
  2. [2] การศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมผ่านทางโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
  3. [3]ที่นี่ีมีคำตอบโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
  4. [เวปไซท์ ดีเอ็มซีดอททีวี เรื่อง ปรโลกนิวส์ ตอน คุณพ่อของคุณโฮเวิร์ด แมกเครี่ ออกอากาศ 3-4 มกราคม 2554]
  5. [4]Howard_McCrary
  6. [เว็ปไซท์ ดีเอ็มซีดอททีวี เรื่อง พระศรีอาริยเมตไตรย์]
  7. วารสารอยู่ในบุญ บทความพิเศษ

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

ปีที่พิมพ์ : 1/2551, 400 หน้า ISBN 978-974-06-1994-9

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็ปไซท์ ดีเอ็มซีดอททีวี เรื่อง The Middle Way : ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  • เว็ปไซท์ ดีเอ็มซีดอททีวี เรื่อง The Middle Way คอร์ส อบรมสมาธิระดับกลาง รุ่นที่ 4