ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รับบี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: io:Rabino
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.1) (โรบอต เพิ่ม: jv:Rabi
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
[[it:Rabbino]]
[[it:Rabbino]]
[[ja:ラビ]]
[[ja:ラビ]]
[[jv:Rabi]]
[[ka:რაბინი]]
[[ka:რაბინი]]
[[ko:랍비]]
[[ko:랍비]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:47, 2 พฤษภาคม 2554

ราไบโมเช ไฟน์สไตน์ผู้นำคนสำคัญของศาสนายูดายออร์โธด็อกซ์ของครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20

ราไบ ไม่ใช่ รับไบ (อังกฤษ: Rabbi, ออกเสียง) เป็นภาษาฮิบรูแปลว่า “ครู” เป็นคำที่ใช้ในศาสนายูดายที่หมายถึงผู้สอนศาสนา

คำว่า “rabbi” มีรากมาจากภาษาฮิบรูว่า “רַב” หรือ “rav” ที่ในคัมภีร์ฮิบรูหมายความว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ “เป็นที่เคารพ” คำนี้มีรากมาจากรากภาษากลุ่มเซมิติก R-B-B เทียบเท่ากับภาษาอาหรับ “ربّ” หรือ “rabb” ที่แปลว่า “lord” (ที่โดยทั่วไปเป็นการเอ่ยถึงพระเจ้าทางโลกด้วย เพื่อเป็นการแสดงความนับถือบางครั้งราไบผู้มีชื่อเสียงก็จะเรียกกันว่า “The Rav.”

ราไบไม่ใช่งานอาชีพที่ระบุในโทราห์ ฉะนั้นจึงไม่มีการใช้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเช่น “Rabban” “Ribbi” หรือ “Rab” ในการบรรยายทั้งปรมาจารย์ในบาบิโลเนียหรือในอิสราเอล[1] แม้แต่ศาสดาผู้มมีความสำคัญในพระคัมภีร์ก็ยังไม่เรียกว่าราไป แต่เรียกว่า “ฮักไก” ตำแหน่ง “ราบาน” หรือ “ราไบ” เริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฮิบรูในมิชนาห์ (ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกสำหรับราบันกามาลิเอลผู้อาวุโส (Rabban Gamaliel the elder), ราบันซิเมอันลูกชาย และ ราบันโยคานัน เบน ซาคาอิ ซึ่งต่างก็เป็นสังฆราชแห่งสภาซาเฮดริน[2] คำนี้ในภาษากรีกพบในพระวรสารนักบุญแม็ทธิว, มาร์ค และ จอห์นในพันธสัญญาใหม่เมื่อกล่าวถึงพระเยซู.[3]

การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับราไบเริ่มขึ้นในสมัยฟาริซีส และ ทาลมุดเมื่อปรจารย์มาประชุมกันเพื่อร่างกฎเกี่ยวกับศาสนายูดายทั้งทางภาษาเขียนและภาษาพูด ในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา หน้าที่ของราไบก็ยิ่งเพิ่มความมีอิทธิพลมากขึ้น ที่ทำให้เกิดคำใหม่ๆ เช่น “ราไบแท่นเทศน์” (pulpit rabbi) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หน้าที่ของราไบก็รวมการเทศนา, การให้คำปรึกษา และ การเป็นผู้แทนชองประชาคมในโลกภายนอกก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ

ในลัทธิต่างๆ ของศาสนายูดาย ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งราไบก็แตกต่างกันออกไป หรือกฎที่ใครควรจะเรียกว่าเป็นราไบ

อ้างอิง

  1. This is evident from the fact that Hillel I, who came from Babylon, did not have the title Rabban prefixed to his name.
  2. The title Ribbi too, came into vogue among those who received the laying on of hands at this period, as, for instance, Ribbi Zadok, Ribbi Eliezer ben Jacob, and others, and dates from the time of the disciples of Rabban Johanan ben Zakkai downward. Now the order of these titles is as follows: Ribbi is greater than Rab; Rabban again, is greater than Ribbi; while the simple name is greater than Rabban. Besides the presidents of the Sanhedrin no one is called Rabban.
  3. Englishman's Greek Concordance of the New Testament by Wigram, George V.; citing Matthew 26:25, Mark 9:5 and John 3:2 (among others)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น