ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
LaaknorBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: sl:Charles, valižanski princ
Tkit9s2o (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 93: บรรทัด 93:


== อภิเษกสมรสครั้งที่สอง ==
== อภิเษกสมรสครั้งที่สอง ==
คลาเรนซ์เฮ้าส์ประกาศเมื่อวันที่ [[10 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2548]] ว่าเจ้าฟ้าชายชาลส์และ[[คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์|คามิลลา ปากเกอร์ โบลส์]] จะเสกสมรสกันในวันที่ [[8 เมษายน]] ปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของ[[สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2]] การเสกสมรสต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ [[9 เมษายน]] แทนเพระเจ้าฟ้าชายชาลส์ต้องเสด็จฯ ไปในการพระศพ
คลาเรนซ์เฮ้าส์ประกาศเมื่อวันที่ [[10 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2548]] ว่าเจ้าฟ้าชายชาลส์และ[[คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์|คามิลลา ปากเกอร์ โบลส์]] จะเสกสมรสกันในวันที่ [[8 เมษายน]] ปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของ[[สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2]] การเสกสมรสต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ [[9 เมษายน]] แทนเพราะเจ้าฟ้าชายชาลส์ต้องเสด็จฯ ไปในการพระศพ


รวมทั้งได้มีการประกาศเพิ่มเติมด้วยว่าหลังจากเสกสมรสแล้ว คามิลลาจะดำรงพระอิสริยยศเป็น '''เจ้าฟ้าหญิงดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์''' (Her Royal Highness the Duchess of Cornwall) และหลังจากชาลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ จะดำรงพระอิสริยยศเป็น[[เจ้าหญิงพระชายา]] (Her Royal Highness the Princess Consort)<ref>หากจะแปลยศ Her Royal Highness the Princess Consort ให้ใกล้เคียงกับยศพระภรรยาเจ้าของไทยให้มากที่สุดแล้ว น่าจะแปลเป็นพระอิสริยยศ พระนางเจ้า พระราชเทวี ตามที่[[สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี]]ทรงใช้แทนพระนามพระองค์เองในสมัยรัชกาลที่ 5</ref> เชื่อกันว่าเนื่องจากอ้างอิงตามพระอิสริยยศของ[[เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี|เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต]] พระราชสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]]ที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น [[เจ้าชายพระสวามี]] (His Royal Highness the Prince Consort)<ref>เจ้าฟ้าชายฟิลิปส์ ในปัจจุบันมิได้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น Prince Consort หากแต่ทรงใช้พระอิสริยยศเสมือนเจ้าฟ้าพระราชโอรสที่ทรงกรมเป็นดยุคแห่งเอดินบะระ ยศ [[เจ้าชายพระราชสวามี]] ที่มีใช้ในปัจจุบันคือ[[เจ้าฟ้าชายเฮนริก เจ้าชายพระราชสวามี|เจ้าฟ้าชายเฮนริก]] พระราชสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถมาเกเรเธ่ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก]]เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น</ref>
รวมทั้งได้มีการประกาศเพิ่มเติมด้วยว่าหลังจากเสกสมรสแล้ว คามิลลาจะดำรงพระอิสริยยศเป็น '''เจ้าฟ้าหญิงดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์''' (Her Royal Highness the Duchess of Cornwall) และหลังจากชาลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ จะดำรงพระอิสริยยศเป็น[[เจ้าหญิงพระชายา]] (Her Royal Highness the Princess Consort)<ref>หากจะแปลยศ Her Royal Highness the Princess Consort ให้ใกล้เคียงกับยศพระภรรยาเจ้าของไทยให้มากที่สุดแล้ว น่าจะแปลเป็นพระอิสริยยศ พระนางเจ้า พระราชเทวี ตามที่[[สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี]]ทรงใช้แทนพระนามพระองค์เองในสมัยรัชกาลที่ 5</ref> เชื่อกันว่าเนื่องจากอ้างอิงตามพระอิสริยยศของ[[เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี|เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต]] พระราชสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]]ที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น [[เจ้าชายพระสวามี]] (His Royal Highness the Prince Consort)<ref>เจ้าฟ้าชายฟิลิปส์ ในปัจจุบันมิได้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น Prince Consort หากแต่ทรงใช้พระอิสริยยศเสมือนเจ้าฟ้าพระราชโอรสที่ทรงกรมเป็นดยุคแห่งเอดินบะระ ยศ [[เจ้าชายพระราชสวามี]] ที่มีใช้ในปัจจุบันคือ[[เจ้าฟ้าชายเฮนริก เจ้าชายพระราชสวามี|เจ้าฟ้าชายเฮนริก]] พระราชสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถมาเกเรเธ่ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก]]เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:54, 1 พฤษภาคม 2554

สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์
เจ้าชายแห่งเวลส์
ประสูติ14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 (75 ปี)
พระชายาไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (2524 - 2539)
คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (2548 - ปัจจุบัน)
พระราชบุตรเจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์
เจ้าชายแฮร์รี่แห่งเวลส์
ราชวงศ์พระราชวงศ์อังกฤษ
พระราชบิดาเจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินบะระ
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (HRH the Prince Charles, The Prince of Wales พระนามเต็ม ชาร์ลส์ ฟิลิป อาร์เธอร์ จอร์จ; ประสูติ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491) ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ ทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชายแห่งเวลส์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ซึ่งทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จเจ้าฟ้าชายแห่งเวลส์" ยกเว้นที่ประเทศสก็อตแลนด์ ซึ่งพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้าชายชาลส์ ดยุคแห่งโรธเซย์" นอกจากนี้ยังมีพระอิสริยยศ ดยุคแห่งคอร์นวอลล์ ที่ทรงใช้บ่อยครั้งในความเกี่ยวเนื่องกับแคว้นคอร์นวอลล์ พระองค์เป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 หากแต่มีลำดับพระอิสริยยศเป็นที่ 3 ในลำดับโปเจียมต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและเจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ

เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะว่าที่กษัตริย์พระองค์ต่อไปของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ไอร์แลนด์เหนือและประเทศในเครือจักรภพ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนับตั้งแต่ได้ทรงเจริญพระชนม์พอสมควร อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักจากการทรงเสกสมรสกับเลดี้ไดอานา สเปนเซอร์และความรักอันอื้อฉาวของพระองค์กับคามิลลา ปากเกอร์โบลส์

วัยเด็ก

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ที่พระราชวังบัคคิงแฮมพระบิดาคือเจ้าฟ้าชายฟิลิปส์ พระมารดาคือ เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ รัชทายาทของราชบัลลังก์อังกฤษในขณะนั้น เจ้าฟ้าชายทรงรับศีลล้างบาปที่ห้องดนตรี พระราชวังบัคกิ้งแฮมเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2491 พระองค์มีพ่อและแม่ทูนหัวคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 สมเด็จพระราชินีแมรี่ เจ้าฟ้าหญิงมากาเร็ต มาชันเนสเนสมิลฟอร์ด ฮาเวน เดวิด โบวส์-ลีออน (พระอนุชาในสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ พระราชชนนี) เลดี้บราบรูน สมเด็จพระราชาธิบดีฮากุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ และเจ้าชายจอร์จแห่งกรีก

ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 สมเด็จพระบรมเปตามหัยกาธิบดี(ปู่ทวดหรือตาทวด)ของเจ้าชาย สั่งว่าผู้ที่จะดำรงอิสริยยศเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งอังกฤษนั้น ถ้าเป็นชั้นพระราชนัดดาแล้ว จะต้องผ่านทางสายพระราชโอรสเท่านั้น[1] ในขณะที่ชาลส์ทรงเป็นพระราชนัดดาผ่านทางสายพระราชธิดา พระองค์ควรจะดำรงยศเป็นเอิร์ลแห่งมารีออนเน็ต (ซึ่งเป็นยศสำหรับทายาทผู้จะสืบตำแหน่งดยุคแห่งเอดินบะระ) อย่างไรก็ตามสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 สมเด็จพระบรมอัยกาธิบดี (ปู่หรือตา) ของเจ้าชายมีพระราชโองการใหม่ เฉพาะพระโอรสและพระธิดาของเจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ ให้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรได้ตั้งแต่ประสูติ พระราชโองการฉบับนี้ไม่มีผลครอบคลุมถึงพระราชธิดาอีกพระองค์หนึ่งคือเจ้าฟ้าหญิงมากาเร็ต และจากพระราชโองการฉบับดังกล่าวทำให้ชาลส์มีพระยศตั้งแต่แรกประสูติว่า เจ้าชายชาลส์ แห่งเอดินบะระ

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์มีพี่น้อง 4 พระองค์ดังนี้

  1. เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์
  2. เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี
  3. เจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ ดยุคแห่งยอร์ค
  4. เจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเว็สเซ็กส์

ในปีพ.ศ. 2495 พระมารดาของพระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เจ้าชายชาร์ลส์ได้รับพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งคอร์นวอลล์ทันที (ในสก็อตแลนด์ คือดยุคแห่งโรเตสเซย์) นอกจากนี้ยังทรงดำรงพระอิสริยยศ เอิร์ลแห่งแคร์ริค บารอนแห่งเรนเฟรว ลอร์ดแห่งไอเซิล เจ้าชายและจอมทัพแห่งสก็อตแลนด์อีกด้วย

ในวันราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ได้เสด็จไปร่วมพระราชพิธีด้วย (ในขณะที่เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ไม่ได้ตามเสด็จ) โดยพระองค์ทรงประทับนั่งระหว่างสมเด็จพระราชานิอลิซาเบธ พระราชชนนี พระพันปีหลวง (พระอัยยิกา (ยาย)) และเจ้าฟ้าหญิงมากาเร็ต (พระมาตุจฉา (น้า) และแม่ทูนหัวของพระองค์))

ไฟล์:Cscrown.JPG
มงกุฎของ เจ้าชายแห่งเวลส์

การศึกษา

โดยปกติแล้วพระราชวงศ์ที่มีพระชนม์ระหว่าง 5-8 พรรษานั้นจะได้รับการศึกษาส่วนพระองค์ที่พระอาจารย์เข้ามาจัดการสอนถวายที่พระราชวังบัคกิ้งแฮม หากแต่เจ้าฟ้าชายชาลส์เป็นพระราชวงศ์พระองค์แรก (และรัชทายาทของอังกฤษพระองค์แรก) ที่เสด็จเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียน โดยทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนฮิลล์ เฮ้าส์ในเมืองลอนดอน และต่อมาที่โรงเรียนเตรียมความพร้อมด้านวิชาเคมีในเมืองเบิร์คแชร์ ซึ่งเจ้าฟ้าชายฟิลิปส์พระบิดาของพระองค์ได้เสด็จเข้าศึกษาด้วยเช่นกัน

เจ้าชายทรงสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เกียรตินิยม

เจ้าชายแห่งเวลส์

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ดยุคแห่งคอร์นวอลล์และโรเตสเซย์ได้รับการสถาปนาให้เป็น เจ้าชายแห่งเวลส์ และเอิร์ลแห่งเชสเตอร์เมื่อพระชนม์ 10 พรรษา หากแต่ได้มีพระราชพิธีขึ้นในอีก 11 ปีต่อมา เจ้าฟ้าชายชาลส์ได้กลายเป็นพระรัชทายาทลำดับที่ 1 ในการจะทรงสืบสันตติวงศ์ของอังกฤษโดยไม่มีผู้ใดเปลี่ยนแปลงได้สืบมานับตั้งแต่บัดนั้น

อภิเษกสมรส

ไฟล์:Dianaandcharlesinwed.JPG
พระราชพิธีอภิเษกสมรส

ครอบครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมยซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดี้ซาราห์และเลดี้เจน พี่สาวของเลดี้ไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงเสกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิค แต่นับถือนิกายโบสถ์แห่งอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนี ทรงพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดี้ฟรอมเมยได้เป็น "ทองแผ่นเดียวกัน" เจ้าฟ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่าไดอานานี้แหละ คือสุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก

มีคำร่ำลือว่า นอกจากสมเด็จพระราชชนนีแล้ว คามิลลา ปากเกอร์ โบลส์ คนรักเก่าของเจ้าชาย (และพระชายาพระองค์ปัจจุบัน) ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนพระองค์ให้เลือกหญิงสาววัย 19 ปี เลดี้ ไดอานา ผู้ช่วยครูโรงเรียนอนุบาลมาเป็นพระชายา

สำนักพระราชวังประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่โบสถ์เซนต์ปอล ในลอนดอน ในวันที่ 29 กรกฎาคม ปีเดียวกัน แขกจำนวน 3,500 คนถูกเชิญมาในขณะที่ผู้ชมนับพันล้านคนทั่วโลกเฝ้ารอดูพระราชพิธี

ไดอานาเป็นหญิงคนแรกในรอบหลายศตวรรษที่สมรสกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ [2] หลังการอภิเษกสมรสไดอานาได้รับยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ และมีลำดับพระอิสริยยศเป็นลำดับที่ 3 แห่งพระราชวงศ์ฝ่ายในของอังกฤษ ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ[3]

นอกจากนี้ไดอานายังเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่เสกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ และได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วย [4]

พระโอรส

เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ

  1. เจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ ประสูติ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A) จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ปัจจุบันทรงเข้ารับการฝึกเป็นทหารอยู่ที่ประเทศชิลี
  2. เจ้าชายเฮนรีแห่งเวลส์ ประสูติ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งอังกฤษ ถูกโจมตีมากที่สุดว่าเป็นเจ้าชายเจ้าปัญหา ด้วยพระอารมณ์รุนแรง หรือการฉลองพระองค์ไม่เหมาะสม (เช่นชุดนาซี) อีกทั้งยังมีข่าวลือว่าแท้จริงแล้วพระองค์อาจไม่ใช่พระโอรสของเจ้าชายชาลส์

ทรงหย่า

ไฟล์:Cddvrc.JPG
หนังสือสำคัญการหย่าของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์

เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้าฟ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรค bulimia (น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว) หลังจากหายจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับเจ้าฟ้าชายชาลส์มาก เนื่องจากพระองค์ทรงหวังว่าพระองค์น่าจะได้พระธิดาจากการประสูติกาลครั้งที่ 2 นี้ เนื่องจากทรงโปรดลูกสาวของคามิลลามากอีกทั้งยังมีข่าวลือว่า แท้จริงแล้วเจ้าชายแฮร์รี่อาจไม่ใช่พระโอรสของพระองค์ รายงานข่าวส่วนหนึ่งเชื่อว่าทั้งสองพระองค์เริ่มแยกกันอยู่หลังจากการเสกสมรสเพียง 5 ปี บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าฟ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของเจ้าฟ้าหญิงมาซาโกะ มงกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าชายชาลส์กับคามิลลา อย่างครึกโครม รวมทั้งประโคมข่าวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้ง 2 พระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "สงครามแห่งเวลส์" (War of Waleses)

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ สงครามแห่งเวลส์

ไดอาน่าสิ้นพระชนม์

ดูรายละเอียดเพิ่มที่ การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2540

มีบางแหล่งข่าวระบุว่าเจ้าฟ้าชายชาลส์ทรงอยู่เบื้องหลังอุบัติเหตุที่ปลงพระชนม์ไดอาน่า ตำรวจเริ่มการสืบสวนเมื่อปี 2004 หากแต่หยุดการสืบสวนลงเนื่องจากคำขอร้องของเจ้าชายวิลเลี่ยมและเจ้าชายแฮร์รี่

อภิเษกสมรสครั้งที่สอง

คลาเรนซ์เฮ้าส์ประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ว่าเจ้าฟ้าชายชาลส์และคามิลลา ปากเกอร์ โบลส์ จะเสกสมรสกันในวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 การเสกสมรสต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 เมษายน แทนเพราะเจ้าฟ้าชายชาลส์ต้องเสด็จฯ ไปในการพระศพ

รวมทั้งได้มีการประกาศเพิ่มเติมด้วยว่าหลังจากเสกสมรสแล้ว คามิลลาจะดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าฟ้าหญิงดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (Her Royal Highness the Duchess of Cornwall) และหลังจากชาลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ จะดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงพระชายา (Her Royal Highness the Princess Consort)[5] เชื่อกันว่าเนื่องจากอ้างอิงตามพระอิสริยยศของเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายพระสวามี (His Royal Highness the Prince Consort)[6]

อิสริยยศ

ตั้งแต่แรกเสด็จพระราชสมภพตราบจนสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จขึ้นครองราชย์

  • His Royal Highness Prince Charles of Edinburgh

ตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธเสด็จขึ้นครองราชย์แต่ก่อนที่จะทรงรับสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์

  • His Royal Highness The Duke of Cornwall
  • His Royal Highness The Prince Charles, Duke of Rothesay (ใช้เฉพาะในประเทศสกอตแลนด์)

หลังทรงรับพระราชทานสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์

  • His Royal Highness The Prince of Wales
  • His Royal Highness The Prince Charles, Duke of Rothesay (ใช้เฉพาะในประเทศสกอตแลนด์)

[7]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. (สำหรับชั้นพระราชปนัดดา (เหลน) มีกรณีเดียวคือต้องเป็นพระโอรสและพระธิดาในพระโอรสพระองค์ใหญ่ของเจ้าชายแห่งเวลส์)
  2. หลังจากที่เมื่อราว 400 ปีก่อนเลดีแอนน์ ไฮด์ได้เสกสมรสกับเจ้าฟ้าดยุคแห่งยอร์คและอัลบานี หากแต่ความแตกต่างคือชาลส์เป็น “รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” แต่เจมส์เป็น“รัชทายาทโดยสันนิษฐาน” รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงคือรัชทายาทลำดับแรกผู้ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ตามพระราชโองการจากกษัตริย์ ในขณะที่ รัชทายาทโดยสันนิษฐาน คือรัชทายาทลำดับรองของการสืบสันตติวงศ์ และลำดับอาจถูกลดลงไปก็ได้เมื่อมีพระราชกุมารพระองค์ใหม่ที่ทรงสิทธิ์สูงกว่าประสูติ เช่นปัจจุบันเจ้าชายแฮร์รี่เป็นรัชทายาทลำดับที่ 3 หากแต่ถ้าเจ้าชายวิลเลี่ยมมีพระโอรสหรือพระธิดา เจ้าชายหรือเจ้าหญิงพระองค์นั้นจะเป็นรัชทายาทลำดับที่ 3 แทน และเจ้าชายแฮร์รี่จะกลายเป็นรัชทายาทลำดับที่ 4
  3. ธรรมเนียมของฝั่งยุโรปนั้นหญิงที่แต่งงานกับชายโดยถูกต้องตามกฎหมายจะ "ต้อง" ได้รับยศทั้งหมดของสามีมา แม้ว่าหญิงนั้นจะมียศเดิมของตัวเองสูงกว่าก็จะไม่เสียยศเดิมของตนไป (เช่นเจ้าหญิงอเลกซานดร้า ไม่ได้ทรงเสียยศเจ้าหญิงของพระองค์เองไป และทรงเป็นเลดี้โอกิลวี่จากการสมรสกับเซอร์โอกิลวี่ด้วย) ในที่นี้ชาลส์เป็น "เจ้าฟ้า" เพราะเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน ไดอาน่าผู้เป็นพระสุณิสา (Daughter-in-law) ก็ย่อมต้องเป็นเจ้าฟ้าด้วยตามพระราชสวามี
  4. ไดอานาเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์คนแรกที่มาจากสามัญชน เจ้าหญิงแห่งเวลส์พระองค์ก่อนเช่นสมเด็จพระราชินีแมรี่นั้น ทรงเป็นเจ้าหญิงตั้งแต่ประสูติอยู่แล้ว หลังจากทรงเสกสมรสจึงสามารถใช้พระนามว่า Her Royal Highness the Princess Mary, the Princess of Wales ได้ แต่สำหรับไดอานาซึ่งมิใช่เจ้าหญิงจากราชตระกูลนั้น ไม่สามารถที่จะใช้พระนามว่า เจ้าหญิงไดอานาได้
  5. หากจะแปลยศ Her Royal Highness the Princess Consort ให้ใกล้เคียงกับยศพระภรรยาเจ้าของไทยให้มากที่สุดแล้ว น่าจะแปลเป็นพระอิสริยยศ พระนางเจ้า พระราชเทวี ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีทรงใช้แทนพระนามพระองค์เองในสมัยรัชกาลที่ 5
  6. เจ้าฟ้าชายฟิลิปส์ ในปัจจุบันมิได้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น Prince Consort หากแต่ทรงใช้พระอิสริยยศเสมือนเจ้าฟ้าพระราชโอรสที่ทรงกรมเป็นดยุคแห่งเอดินบะระ ยศ เจ้าชายพระราชสวามี ที่มีใช้ในปัจจุบันคือเจ้าฟ้าชายเฮนริก พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถมาเกเรเธ่ที่ 2 แห่งเดนมาร์กเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
  7. พระอิสริยยศเต็ม (ใช้น้อยมาก): His Royal Highness The Prince Charles Philip Arthur George, Prince of Wales, Duke of Cornwall and Earl of Chester, Duke of Rothesay, Earl of Carrick, Baron of Renfrew, Lord of the Isles, Prince and Great Steward of Scotland, Knight Companion of the Most Noble Order of the Garter, Knight of the Most Ancient and Most Noble Order of the Thistle, Great Master and First and Principal Knight Grand Cross of the Most Honourable Order of the Bath, Member of the Order of Merit, Knight of the Order of Australia, Companion of the Queen's Service Order, Honorary Member of the Saskatchewan Order of Merit, Chief Grand Commander of the Order of Logohu, Member of Her Majesty's Most Honourable Privy Council, Aide-de-Camp to Her Majesty.


ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ถัดไป

แม่แบบ:กล่องสืบตำแหน่ง แม่แบบ:กล่องสืบตำแหน่ง

แม่แบบ:Link FA