ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดการโครงการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ArthitOnline (คุย | ส่วนร่วม)
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ka:პროექტის მართვა
บรรทัด 59: บรรทัด 59:
[[it:Project management]]
[[it:Project management]]
[[ja:プロジェクトマネジメント]]
[[ja:プロジェクトマネジメント]]
[[ka:პროექტის მართვა]]
[[ko:프로젝트 관리]]
[[ko:프로젝트 관리]]
[[lv:Projektu vadība]]
[[lv:Projektu vadība]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:10, 28 เมษายน 2554

สามเหลี่ยมการบริหารโครงการ

การบริหารโครงการ เป็นความรู้และขั้นตอนดำเนินงานในส่วนของการวางแผน การจัดการ การบริหารทรัพยากร เพื่อทำให้โครงการแล้วเสร็จตามเป้าหมายได้ถูกต้องตามที่วางแผนไว้ การวางแผนและการบริหารทรัพยากรใดๆทั้งตัวมนุษย์และในเรื่องของงาน โดยคาดคะเนทิศทางของโครงการตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันเสร็จงาน รวมถึงการกำหนดช่วงเวลาในการปฏิบัติงานที่จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และสามารถที่จะประมาณราคาของโครงการได้ การบริหารโครงการมีหัวใจสำคัญคือการบริหารความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา ราคา และคุณภาพ ในทรัพยากรที่กำหนดเพื่อให้ได้เป้าหมายตามต้องการ

ในแต่ละโครงการจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการระบุวันเริ่มและวันสิ้นสุดงาน[1] ซึ่งจุดนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากการทำงานธุรกิจทั่วไป[2]ที่มีลักษณะงานที่มีรูปแบบการทำงานแน่นอน และมีการทำงานซ้ำเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าตามต้องการ ในทางวิชาชีพการบริหารงานในส่วนของโครงการ และการบริหารงานในส่วนของธุรกิจทั่วไปจะมีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกันรวมไปถึงความรู้ทางด้านเทคนิคที่แยกแตกต่างกันออกไป

ความท้าทายของการบริหารโครงการคือการเข้าถึงเป้าหมายได้ทั้งหมดตามที่กำหนดไว้[3] ขณะที่ยังคงบริหารข้อจำกัดและทรัพยากรที่มี[4] ข้อจำกัดทั่วไปในการบริหารโครงการได้แก่ ขอบเขตงาน เวลา เงินทุน และข้อจำกัดต่อมาคือ การจัดสรรทรัพยากร การประยุกต์และนำทรัพยากรที่มีทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ตามเป้าหมาย

ประวัติ

ทหารโรมันก่อสร้างป้อมปราการ

การบริหารโครงโครงการพัฒนาขึ้นมาจากหลายสาขารวมถึง การก่อสร้าง วิศวกรรม และการทหาร[5] บิดาแห่งวงการบริหารโครงการได้แก่ เฮนรี แกนต์ (Henry Gantt) [6] ซึ่งเป็นผู้คิดค้นแกนต์ชาร์ต และคนที่สองคือ อองรี ฟาโยล (Henri Fayol) ผู้บุกเบิกในด้านการบริหารโครงการ[7]

ขั้นตอนและกระบวนการบริหารโครงการ

1.การกำหนดโครงการ

2.การจัดเตรียมโครงการ

3.การประเมินโครงการและการอนุมัติโครงการ

4.การนำโครงการไปปฏิบัติ

5.การประเมินผลโครงการ

อ้างอิง

  1. *The Definitive Guide to Project Management. Nokes, Sebastian. 2nd Ed.n. London (Financial Times / Prentice Hall): 2007. ISBN 978 0 273 71097 4
  2. Paul C. Dinsmore et al (2005) The right projects done right! John Wiley and Sons, 2005. ISBN 0-7879-7113-8. p.35 and further.
  3. Lewis R. Ireland (2006) Project Management. McGraw-Hill Professional, 2006. ISBN 0-07-147160-X. p.110.
  4. Joseph Phillips (2003). PMP Project Management Professional Study Guide. McGraw-Hill Professional, 2003. ISBN 0-07-223062-2 p.354.
  5. David I. Cleland, Roland Gareis (2006). Global project management handbook. "Chapter 1: "The evolution of project management". McGraw-Hill Professional, 2006. ISBN 0-07-146045-4
  6. Martin Stevens (2002). Project Management Pathways. Association for Project Management. APM Publishing Limited, 2002 ISBN 1-903494-01-X p.xxii
  7. Morgen Witzel (2003). Fifty key figures in management‎. Routledge, 2003. ISBN 0-415-36977-0. p. 96-101.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น