ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Baritoreca (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
== การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ กับ เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร ==
== การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ กับ เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร ==
ข้อแตกต่างระหว่าง '''การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing)''' และ '''[[เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร]]''' '''(Grid Computing)'''
ข้อแตกต่างระหว่าง '''การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing)''' และ '''[[เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร]]''' '''(Grid Computing)'''
กล่าวคือ การประมวผลแบบกริด จะเป็นการแบ่งบันทรัพยากรร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์กร โดยจะถูกกำหนดและควบคุมภายใต้กฎขององค์กรที่เรียกว่า [[องค์กรเสมือน]] (Virtual organization) โดยทั้งสองอย่างนี้จะเหมือนกันมาก ในแง่ที่เป็นการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์หลายตัว จนเป็น[[เครือข่ายคอมพิวเตอร์]] โดยการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ จะเน้นผู้ใช้เป็นหลัก ส่วนเครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร จะเน้นไปที่ระบบมากกว่า
กล่าวคือ การประมวผลแบบกริด จะเป็นการแบ่งบันทรัพยากรร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์กร โดยจะถูกกำหนดและควบคุมภายใต้กฎขององค์กรที่เรียกว่า [[องค์กรเสมือน]] (Virtual organization) โดยทั้งสองอย่างนี้จะเหมือนกันมาก ในแง่ที่เป็นการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์หลายตัว จนเป็น[[เครือข่ายคอมพิวเตอร์]] โดยที่ผู้ใช้ระบบไม่ต้องมีทรัพยากรที่มากไป มีลักษณะเป็น[[ธิน ไคลเอน]] (Thin client) โดยการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ จะเน้นผู้ใช้เป็นหลัก ส่วนเครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร จะเน้นไปที่ระบบมากกว่า


== ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ในภาครัฐ ==
== ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ในภาครัฐ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:03, 31 มีนาคม 2554

แผนผังของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (อังกฤษ: cloud computing) เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของ เวอร์ชัวไลเซชัน และเว็บเซอร์วิส โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น[1]

ความหมาย

สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ได้ให้คำจำกัดความว่า[2] คำว่า cloud ใช้ในความหมายของอุปลักษณ์ จากคำในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เมฆ กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวม[3] ในรูปของโครงสร้างพื้นฐาน (เหมือนระบบไฟฟ้า ประปา) ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งานเมื่อมีความต้องการใช้[4] ผู้ให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส่วนใหญ่ จะให้บริการในลักษณะของเว็บแอปพลิเคชัน โดยให้ผู้ใช้ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น ถูกอธิบายถึงโมเดลรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่เน้นการขยายตัวได้อย่างยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และมีการจัดสรรทรัพยากร[5][6] โดยเน้นการทำงานระยะไกลอย่างง่าย ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน[7]

ตัวอย่างของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยูทูบ โดยที่ผู้ใช้สามารถเก็บวิดีโอออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ในการสร้างระบบวิดีโอออนไลน์ หรือ ในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

การบริการบนระบบ

การบริการบนระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆสามารถ แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

  • การให้บริการซอฟต์แวร์ หรือ Software as a Service (SaaS)

จะให้บริการการประมวลผลแอปพลิเคชันที่แม่ข่ายของผู้ให้บริการ และเปิดให้การบริการทางด้านซอฟแวร์ต่างๆ

  • การให้บริการแพลทฟอร์ม หรือ Platform as a Service (PaaS)

เป็นการประมวลผล ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ และการสนับสนุนเว็บแอปพลิเคชันเข้ามาร่วมด้วย

  • การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure as a Service (IaaS)

เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน มีประโยชน์ในการประมวลผลทรัพยากรจำนวนมาก

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ กับ เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร

ข้อแตกต่างระหว่าง การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) และ เครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร (Grid Computing) กล่าวคือ การประมวผลแบบกริด จะเป็นการแบ่งบันทรัพยากรร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์กร โดยจะถูกกำหนดและควบคุมภายใต้กฎขององค์กรที่เรียกว่า องค์กรเสมือน (Virtual organization) โดยทั้งสองอย่างนี้จะเหมือนกันมาก ในแง่ที่เป็นการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์หลายตัว จนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ใช้ระบบไม่ต้องมีทรัพยากรที่มากไป มีลักษณะเป็นธิน ไคลเอน (Thin client) โดยการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ จะเน้นผู้ใช้เป็นหลัก ส่วนเครือข่ายเชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร จะเน้นไปที่ระบบมากกว่า

ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ในภาครัฐ

โดยระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในภาครัฐ จะสามารถลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยี ในการดำเนินงานของภาครัฐได้ จะช่วยให้การบริการต่อ ภาคประชาชน หรือ Government to Citizen (G2C) ภาคธุรกิจ หรือ Government to Business (G2B) ภาคราชการ หรือ Government to Employee (G2E) และภาครัฐ หรือ Government to Government (G2G) ด้วยกัน มีการบริการที่มีความรวดเร็วมากขึ้น

รูปแบบระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในภาครัฐ

  • ระบบรัฐบาลแบบกลุ่มเมฆ(เปิด)สาธารณะ (Government Public Cloud)

จะใช้เป็นทางเลือกสำหรับงานทั่วไป ที่สามารถเปิดเผยข้อมูลออกสู่สาธารณะได้ โดยมีผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลระบบ

  • ระบบรัฐบาลแบบกลุ่มเมฆปิดส่วนตน (Government Private Cloud Dedicated)

จะมีความคล้ายกับระบบรัฐบาลแบบกลุ่มเมฆ(ปิด)ส่วนตัว (Government Private Cloud) ซึ่งใช้เป็นทางเลือกเฉพาะงานภายในกลุ่มขององค์กรนั้นๆ จะไม่เปิดเผยข้อมูลออกสู่สาธารณะ โดยมีผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลระบบ แต่ศูนย์ข้อมูลจะตั้งอยู่ในประเทศของรัฐที่เป็นผู้ใช้ระบบ เนื่องจากการป้องกันปัญหาด้านความปลอดภัยในความเป็นส่วนตัว

  • ระบบรัฐบาลแบบกลุ่มเมฆส่วนตนเฉพาะ (Government Private Cloud Self Hosted)

เป็นการสร้างพื้นที่ระบบของตนเอง ขึ้นเป็นเจ้าของ ซึ่งวิธีการนี้จะได้ระบบตามความต้องการของภาครัฐเอง

  • ระบบรัฐบาลแบบกลุ่มเมฆส่วนตนเอง (Government Private Cloud Hosted)

ระบบ และแบนด์วิดท์จะเป็นของภายในประเทศทั้งหมด รัฐเป็ผู้ดูแลบริการเอง

อ้างอิง

  1. Danielson, Krissi (2008-03-26). "Distinguishing Cloud Computing from Utility Computing". Ebizq.net. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  2. "NIST.gov - Computer Security Division - Computer Security Resource Center". Csrc.nist.gov. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  3. "Writing & Speaking". Sellsbrothers.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  4. "The Internet Cloud". Thestandard.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  5. "Gartner Says Cloud Computing Will Be As Influential As E-business". Gartner.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  6. Gruman, Galen (2008-04-07). "What cloud computing really means". InfoWorld. สืบค้นเมื่อ 2009-06-02.
  7. "Cloud Computing: Clash of the clouds". The Economist. 2009-10-15. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.