ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554"

พิกัด: 38°19′19″N 142°22′08″E / 38.322°N 142.369°E / 38.322; 142.369
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mjbmrbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: kl:Jordskælvet ved Torquato 2011
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: hif:TohokuSanrikujisinn
บรรทัด 236: บรรทัด 236:
[[he:רעידת האדמה בסנדאי (2011)]]
[[he:רעידת האדמה בסנדאי (2011)]]
[[hi:२०११ सेन्दाई भूकम्प और सुनामी]]
[[hi:२०११ सेन्दाई भूकम्प और सुनामी]]
[[hif:TohokuSanrikujisinn]]
[[hr:Potres i cunami u Sendaiju 2011.]]
[[hr:Potres i cunami u Sendaiju 2011.]]
[[hu:2011-es tóhokui földrengés és szökőár]]
[[hu:2011-es tóhokui földrengés és szökőár]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:18, 28 มีนาคม 2554

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงความเสียหายในเขตโทโฮะกุ
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554
โตเกียว
โตเกียว
เซ็นได
เซ็นได
แผนที่แสดงศูนย์กลางแผ่นดินไหว
เวลาสากลเชิงพิกัด??
รหัสเหตุการณ์ ISC
USGS-ANSS
วันที่*11 มีนาคม พ.ศ. 2554
[[Category:EQ articles using 'date' or 'time'
(deprecated)]]
เวลา*05:46:23 UTC
(14:46 ท้องถิ่น)
[[Category:EQ articles using 'origintime'
(deprecated)]]
วันที่ท้องถิ่น
เวลาท้องถิ่น
ระยะเวลา6 นาที[1]
ขนาด9.0 แมกนิจูด[2][3]
ความลึก32 กิโลเมตร (19.9 ไมล์)
ศูนย์กลาง38°19′19″N 142°22′08″E / 38.322°N 142.369°E / 38.322; 142.369
ประเภทแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบญี่ปุ่น
ประเทศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
ความเสียหายทั้งหมดน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ไฟไหม้ สิ่งก่อสร้างและสาธารณูปโภคเสียหาย อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์
สึนามิใช่ (ความสูง 10-14 เมตร)
แผ่นดินถล่มใช่
แผ่นดินไหวตามมากกว่า 700 ครั้ง (มากกว่า 46 ครั้งที่รุนแรงกว่า 6.0 แมกนิจูด)
ผู้ประสบภัยผู้เสียชีวิต 10,035 ราย[4][5] บาดเจ็บ 2,777 ราย[4][5] สูญหาย 17,443 ราย[4][5]
เลิกใช้แล้ว ดูเอกสาร

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในภูมิภาคโทโฮะกุพ.ศ. 2554 ญี่ปุ่น: 東北地方太平洋沖地震โรมาจิTōhoku Chihō Taiheiyō-oki Jishin[6] เป็นแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ขนาด 9.0 แมกนิจูด นอกชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเวลา 14.46 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 [2][3][7] จุดเหนือศูนย์การเกิดแผ่นดินไหวได้รับรายงานว่าอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะ โทโฮะกุ โดยมีจุดเกิดแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดิน 32 กิโลเมตร[8][9]

แผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวก่อให้เกิดคลื่นสึนามิซึ่งมีความสูงถึง 10 เมตร พัดเข้าถล่มประเทศญี่ปุ่นไม่กี่นาทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ในบางพื้นที่พบว่าคลื่นได้พัดเข้าไปในแผ่นดินลึกถึง 10 กิโลเมตร[10] และมีคลื่นที่เล็กกว่าพัดไปยังอีกหลายประเทศหลายชั่วโมงหลังจากนั้น ได้มีการประกาศเตือนภัยสึนามิและคำสั่งอพยพตามชายฝั่งด้านแปซิฟิกของญี่ปุ่นและอีกอย่างน้อย 20 ประเทศ รวมทั้งชายฝั่งแปซิฟิกทั้งหมดของประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้[11][12][13]

สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่นระบุว่าขณะนี้มีผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้ว 10,035 คน ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2,777 คน และอีก 17,443 คนยังคงหายสาบสูญ ใน 18 จังหวัด เช่นเดียวกับอาคารที่ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายกว่า 125,000 หลัง[4][5] แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งความเสียหายอย่างหนักต่อถนนและรางรถไฟ เช่นเดียวกับเหตุเพลิงไหม้ในหลายพื้นที่ และเขื่อนแตก บ้านเรือนราว 4.4 ล้านหลังคาเรือนทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ และอีก 1.5 ล้านคนไม่มีน้ำใช้[14] เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายเครื่องไม่สามารถใช้การได้ และเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อย่างน้อยสามเตาได้รับความเสียหาย เนื่องจากแก๊สไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นในอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์ชั้นนอก และยังได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิเกิดระเบิดขึ้นเกือบ 24 ชั่วโมงภายหลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งแรก อย่างไรก็ตาม แรงระเบิดในพื้นที่ไม่รวมสารกัมมันตรังสีอยู่ด้วย[15][16][14] ประชาชนซึ่งอยู่อาศัยในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิและรัศมี 10 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดนิถูกสั่งอพยพ

จากแรงสั่นสะเทือนที่วัดได้ จึงนับได้ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และเป็นเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเป็นอันดับสี่ของโลกเท่าที่มีการบันทึกสมัยใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2443[7][17][18] นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นะโอะโตะ คัง กล่าวว่า "ในช่วงเวลาหกสิบห้าปีนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง วิกฤตการณ์ครั้งนี้นับว่าร้ายแรงและยากลำบากที่สุดสำหรับญี่ปุ่น"[19] เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวได้เคลื่อนเกาะฮอนชูไปทางตะวันออก 2.4 เมตร และเคลื่อนแกนหมุนของโลกไปเกือบ 10 เซนติเมตร[20][21] ประมาณการความเสียหายเบื้องต้นอยู่ระหว่าง 14,500 ถึง 34,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[22] ธนาคารกลางญี่ปุ่นอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างน้อย 15 ล้านล้านเยนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 เพื่อพยายามฟื้นฟูสภาพการตลาดให้กลับคืนสู่สภาพปกติ[23] เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ธนาคารโลกประมาณการความเสียหายระหว่าง 122,000 ถึง 235,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[24] รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิอาจมีมูลค่าสูงถึง 309,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งทำให้มันเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา[25]

แผ่นดินไหว

แผนที่สถานที่เกิดแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อก

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในระยะ 130 กม. ทางตะวันออกของเซ็นได เกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเกิดคลื่นสึนามิในหลายประเทศรวมทั้งประเทศญี่ปุ่น ศูนย์กลางที่เกิดอยู่ห่างจากกรุงโตเกียว 373 กม. เป็นระยะเวลานานอย่างน้อยหกนาที[1] ตามข้อมูลของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (USGS) เกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 7.0 แมกนิจูดได้รับรายงานเมื่อเวลา 15.06 น. ตามเวลาท้องถิ่น และ 7.2 แมกนิจูดเมื่อเวลา 15.26 น. ตามเวลาท้องถิ่น[26] เกิดอาฟเตอร์ช็อกความรุนแรง 4.5 แมกนิจูดขึ้นไป มากกว่าห้าร้อยครั้งหลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรก[27]

ก่อนหน้าแผ่นดินไหวหลักได้เกิดฟอร์ช็อก (แผ่นดินไหวนำ) รุนแรงหลายครั้ง เริ่มจากเหตุการณ์ 7.2 แมกนิจูดซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ห่างออกไปจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมไปอย่างน้อย 40 กิโลเมตร ตามด้วยฟอร์ช็อกอีกสามครั้งที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน โดยมีความรุนแรงมากกว่า 6 แมกนิจูด[2][28] หนึ่งนาทีก่อนหน้าผลกระทบจากแผ่นดินไหวจะไปถึงกรุงโตเกียว ระบบแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าซึ่งเชื่อมโยงเข้ากับเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวมากกว่าหนึ่งพันตัวในญี่ปุ่นได้ส่งคำเตือนออกอากาศทางโทรทัศน์เกี่ยวกับเหตุแผ่นดินไหวที่กำลังใกล้เข้ามาให้แก่ชาวญี่ปุ่นหลายล้านคน คลื่นเอสแผ่นดินไหว ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 4 กิโลเมตรต่อวินาที ใช้เวลา 90 วินาทีในการเดินทาง 373 กิโลเมตรไปยังโตเกียว สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเชื่อว่าระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าสามารถช่วยชีวิตได้เป็นจำนวนมาก[29][30]

ในตอนแรก USGS ได้รายงานความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ที่ 7.9 แมกนิจูด แต่ต่อมาได้ปรับเพิ่มแมกนิจูดเป็น 8.8 และ 8.9 อย่างรวดเร็ว[31] และปรับเพิ่มอีกครั้งเป็น 9.0 แมกนิจูด[3] แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นโดยแผ่นแปซิฟิกกดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกใต้ฮนชูเหนือ ซึ่งแผ่นเปลือกโลกแผ่นใดที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้นนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์[32][33] แผ่นแปซิฟิก ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตรา 8 ถึง 9 เซนติเมตรต่อปี ลาดลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกซึ่งรองรับฮนชู และปลดปล่อยพลังงานออกมามหาศาล การเคลื่อนไหวนี้ดึงแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ข้างบนลงจนกระทั่งเกิดความเครียดมากพอที่จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น รอยแตกซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งเซ็นได 130 กิโลเมตร มีการประมาณว่าจะมีความยาวหลายสิบกิโลเมตรและลึกเพียง 32 กิโลเมตร และทำให้ก้นมหาสุมทรดีดตัวขึ้นมาหลายเมตร และก่อให้เกิดแผ่นดินไหว[32][34]

แผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวถูกจัดให้อยู่ในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของมาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในคุริฮาระ จังหวัดมิยะงิ[35] ส่วนในอีกสามจังหวัด ได้แก่ จังหวัดฟุกุชิมะ จังหวัดอิบะระกิ และจังหวัดโทะชิงิ ถูกบันทึกไว้ว่าอยู่ในระดับ 6 บนตามมาตราดังกล่าว ส่วนสถานีแผ่นดินไหวในจังหวัดอิวะเตะ จังหวัดกุมมะ จังหวัดไซตะมะ และจังหวัดชิบะ วัดความรุนแรงได้ในระดับ 6 ล่าง และ 5 บนในโตเกียว

สถาบันพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยตัวเลขซึ่งระบุว่าแผ่นดินไหวดังกล่าวสร้างความเร่งสูงสุดของพื้นดินอยู่ที่ 0.35 จี (3.43 ม./วินาที²) ใกล้กับจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว[36] จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยโตเกียวชี้ว่าในบางพื้นที่มีค่าความเร่งสูงสุดเกินกว่า 0.5 จี (4.9 ม./วินาที²)[37] สถาบันวิจัยแห่งชาติทางด้านศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลกและการป้องกันภัยพิบัติ (NIED) ของญี่ปุ่นได้บันทึกค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดินไว้ที่ 2.99 จี (29.33 ม./วินาที²)[38]

พลังงาน

แผ่นดินไหวดังกล่าวปลดปล่อยพลังงานพื้นผิวออกมากว่า 1.9±0.5×1017 จูล[39] ซึ่งประกอบด้วยพลังงานสั่นสะเทือนและสึนามิ ซึ่งคิดเป็นเกือบสองเท่าของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 230,000 คน สำหรับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาทั้งหมด หรือที่รู้จักกันว่า โมเมนต์แผ่นดินไหว มีค่ามากกว่า 200,000 เท่าของพลังงานพื้นผิว และสามารถคำนวณได้อยู่ที่ 3.9×1022 จูล[40] น้อยกว่าแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2547 เล็กน้อย พลังงานดังกล่าวเทียบเท่ากับทีเอ็นที 9.32 เตตระตัน หรืออย่างน้อย 600 ล้านเท่าของพลังงานของระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมา

ผลกระทบทางธรณีฟิสิกส์

แผ่นดินไหวดังกล่าวได้ขยับส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นไปราว 2.4 เมตรเข้าใกล้ทวีปอเมริกาเหนือ[20][33] ทำให้ทวีปของญี่ปุ่น "กว้างขึ้นกว่าแต่ก่อน" ตามข้อมูลของนักธรณีฟิสิกส์ รอส สไตน์[33] ส่วนของญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากที่สุดถูกขยับไปมากที่สุด[33] สไตน์ระบุว่าแนวชายฝั่งยาว 400 กิโลเมตรลดความยาวลงในแนวตั้ง 0.6 เมตร ทำให้คลื่นสึนามิเคลื่อนที่พัดเข้าสู่พื้นดินได้ไกลขึ้นและเร็วขึ้น[33] ด้านแผ่นแปซิฟิกเองได้ขยับไปทางทิศตะวันออกมากที่สุดถึง 20 เมตร ถึงแม้ว่าการเคลื่อนของทวีปที่แท้จริงนั้นจะลดลงด้วยระยะห่างที่มากขึ้นจากจุดเกิดรอยเลื่อน[41] ประมาณการอื่น ๆ ชี้ว่าการเลื่อนไหลอาจเป็นระยะทางมากถึง 40 เมตร มีความยาวระหว่าง 300 ถึง 400 กิโลเมตร และกว้าง 100 กิโลเมตร หากข้อมูลดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ยืนยัน แผ่นดินไหวครั้งนี้อาจเป็นหนึ่งในการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว[42]

ตามข้อมูลของสถาบันธรณีฟิสิกส์และวิทยาภูเขาไฟแห่งชาติของอิตาลี แผ่นดินไหวดังกล่าวได้ย้ายตำแหน่งแกนโลกไป 25 เซนติเมตร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกเล็กน้อยหลายอย่าง รวมไปถึงความยาวของวันและความเอียงของโลก[43] อัตราเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกเพิ่มมากขึ้น ทำให้วันหนึ่งสั้นลง 1.8 ไมโครวินาทีเนื่องจากการกระจายมวลของโลกใหม่ การเคลื่อนย้ายแกนเกิดขึ้นจากการกระจายมวลบนพื้นผิวของโลกใหม่[44] ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโมเมนต์ความเฉื่อยของโลก เนื่องจากผลกระทบในการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม การเปลี่ยนแปลงความเฉื่อยดังกล่าวทำให้อัตราการหมุนของโลกเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย[45] ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไว้[43]สำหรับแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับนี้[20][44]

ภูเขาไฟชินโมอิเดเกะ ภูเขาไฟบนเกาะคิวชู ปะทุขึ้นสองวันหลังจากแผ่นดินไหวดังกล่าว จากที่เคยปะทุขึ้นมาแล้วเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการปะทุดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับแผ่นดินไหวหรือไม่[46] ในแอนตาร์กติกา คลื่นแผ่นดินไหวจากแผ่นดินไหวดังกล่าวได้รับรายงานว่าทำให้ธารน้ำแข็งวิลแลนส์ไถลไป 0.5 เมตร[47]

คลื่นสึนามิ

แผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของหมู่เกาะตอนเหนือของญี่ปุ่น คลื่นสีนามิแพร่ขยายไปตลอดมหาสมุทรแปซิฟิก และมีการออกคำเตือนและคำสั่งอพยพในหลายประเทศที่มีพรมแดนติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก รวมไปถึงชายฝั่งแปซิฟิกทั้งหมดของอเมริกาเหนือและใต้ ตั้งแต่อะแลสกาไปจนถึงชิลี[11][12][13] อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสึนามิจะเดินทางไปถึงหลายประเทศ แต่ก็สร้างผลกระทบค่อนข้างเล็กน้อยเท่านั้น ชายฝั่งชิลีส่วนที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งอยู่ห่างจากญี่ปุ่นมากที่สุด (ราว 17,000 กิโลเมตร[48] ส่วนระยะทางบนโลกที่ไกลที่สุดที่เป็นไปได้อยู่ที่ครึ่งเส้นรอบวง ราว 20,000 กิโลเมตร[49]) ก็ยังได้รับผลกระทบเป็นคลื่นสึนามิสูง 2 เมตร[50][51]

ญี่ปุ่น

คลื่นสึนามิที่พัดเข้าท่วมรันเวย์ของท่าอากาศยานเซนได

ประกาศเตือนภัยสึนามิออกโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาจัดสึนามิดังกล่าวในระดับสูงสุด โดยจัดเป็น "สึนามิขนาดใหญ่" ซึ่งมีความสูงอย่างน้อย 3 เมตร[52] ความสูงที่แท้จริงจากการคาดการณ์นั้นแตกต่ากันไป โดยมีการคาดการณ์สูงที่สุดในจังหวัดมิยะงิที่ 10 เมตร[53] แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 14.46 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น ราว 70 กิโลเมตรจากแนวชายฝั่งที่ใกล้ที่สุดของญี่ปุ่น และแต่เดิมมีการคาดการณ์ว่าคลื่นสึนามิจะใช้เวลาเดินทางมายังพื้นที่แรกที่ได้รับผลกระทบระหว่าง 10 ถึง 30 นาที ตามมาด้วยพื้นที่ทางเหนือและใต้กว่าตามภูมิศาสตร์ของแนวชายฝั่ง ราวหนึ่งชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขึ้น เมื่อเวลา 15.55 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น คลื่นสึนามิได้รับรายงานว่าพัดเข้าท่วมท่าอากาศยานเซนได ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่งของจังหวัดมิยะงิ[54][55] โดยคลื่นได้พัดพาเอารถยนต์และเครื่องบิน ตลอดจนท่วมอาคารเป็นจำนวนมากขณะที่คลื่นพัดพาเข้าไปในแผ่นดิน[14][56] นอกจากนี้ ยังมีรายงานคลื่นสึนามิความสูง 4 เมตรเข้าถล่มจังหวัดอิวะเตะ[57]

เช่นเดียวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 และเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิส ความเสียหายจากคลื่นที่พัดเข้าถล่ม ถึงแม้ว่าจะกินพื้นที่จำกัดกว่ามาก แต่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสร้างความเสียหายมากกว่าตัวแผ่นดินไหวเอง มีรายงานว่า "เมืองทั้งเมืองหายไป" จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น รวมทั้งเมืองมินามิซานริคุ ซึ่งมีผู้สูญหายกว่า 9,500 คน[58] ร่างของผู้เสียชีวิตหนึ่งพันคนถูกเก็บกู้ในเมืองเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554[59]

เมืองคุจิและโอฟุนาโตะถูก "พัดพาไปกับกระแสน้ำ ... ไม่เหลือร่องรอยเลยว่ามีแมืองตั้งอยู่ตรงนั้น"[60][61] นอกจากนี้ คลื่นสึนามิยังได้ทำลายเมืองริคุเซนตาคาตะ ซึ่งมีรายงานว่าคลื่นสึนามิมีความสูงเท่ากับตึกสามชั้น[62][63][64] เมืองอื่นที่ได้รับรายงานว่าถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายอย่างหนักจากคลื่นสึนามิ ได้แก่ โอนากาวะ, นาโตริ, โอตสุชิ และยามาดะ (จังหวัดอิวะเตะ) นามิเอะ โซมะ และมินาชิโซมะ (จังหวัดฟุกุชิมะ) และโอนากาวะ นาโตริ อิชิโนมากิ และเคเซนนูมะ (จังหวัดมิยะงิ)[65][66][67][68][69] ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดของคลื่นสึนามิเกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งยาว 670 กิโลเมตรตั้งแต่เอริมะทางเหนือไปจนถึงโออาราอิทางใต้ ซึ่งการทำลายล้างส่วนใหญ่ในพื้นที่เกิดขึ้นในชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหว[70] คลื่นสึนามิยังได้พัดพาเอาสะพานเพียงหนึ่งเดียวที่เชื่อมต่อกับมิยาโตจิมะ จังหวัดมิยะงิ ทำให้ประชากร 900 คนบนเกาะขาดการติดต่อทางบกกับแผ่นดินใหญ่[71]

ประเทศอื่นรอบมหาสมุทรแปซิฟิก

แอนิเมชันการขึ้นฝั่งของคลื่นสึนามิ โดย NOAA

ไม่นานหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกได้ออกคำเตือนสึนามิไปยังประเทศต่าง ๆ รอบมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเวลา 7.30 น. UTC ศูนย์เคือนภัยได้ออกประกาศเตือนภัยซึ่งครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด[72][73] ศูนย์เตือนภัยสึนามิชายฝั่งตะวันตกและอะแลสกาของสหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศเตือนภัยสึนามิสำหรับพื้นที่ชายฝั่งของรัฐแคลิฟอร์เนียและโอเรกอน ตั้งแต่พอยท์คอนเซปชัน รัฐแคลิฟอร์เนีย ไปจนถึงพรมแดนโอเรกอน-วอชิงตัน[74] ในรัฐแคลิฟอร์เนียและโอเรกอน คลื่นสึนามิสูง 2.4 เมตรได้พัดเข้าถล่มบางพื้นที่ สร้างความเสียหายให้แก่อู่จอดเรือและท่าเรือ คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 10 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[75][76] รัฐฮาวายประมาณความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสาธารณูปโภคสาธารณะเพียงอย่างเดียวอยู่ที่ 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และความเสียหายต่อทรัพย์สินของเอกชนอีกหลายล้านดอลล่าร์สหรัฐ[77]

ในเปรู มีรายงานว่าคลื่นสูง 1.5 เมตรพัดเข้าถล่ม และบ้านเรือนมากกว่า 300 หลังคาเรือนได้รับความเสียหาย[78] คลื่นสึนามิในชิลีเองก็มีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนมากกว่า 200 หลังคาเรือน[79] โดยมีรายงานว่าคลื่นสูง 3 เมตร[80][81] ในหมู่เกาะกาลาปาโกส 260 ครอบครัวได้รับความช่วยเหลือหลังจากคลื่นสูง 3 เมตรพัดเข้าถล่ม ยี่สิบชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขึ้น แต่หลังจากประกาศแจ้งเตือนภัยสึนามิถูกยกเลิกไปแล้ว[82][83]

บางประเทศในแปซิฟิกใต้ รวมไปถึงตองกาและนิวซีแลนด์ รวมไปถึงดินแดนของสหรัฐ อเมริกันซามัวและเกาะกวม ประสบกับคลื่นที่ใหญ่กว่าปกติ แต่ไม่มีรายงานว่าได้รับความเสียหายมากนัก[84] บ้านบางหลังตามชายฝั่งจายาปุระ ประเทศอินโดนีเซีย ถูกทำลาย[85] ตามชายฝั่งแปซิฟิกของเม็กซิโกและอเมริกาใต้ มีรายงานคลื่นสึนามิพัดถล่ม แต่ในหลายกรณีได้สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยไปจนถึงไม่เกิดผลกระทบเลย[78] รัสเซียสั่งอพยพประชากร 11,000 คนจากพื้นที่ชายฝั่งของหมู่เกาะคิวริว[86] ในฟิลิปปินส์ คลื่นสูง 0.5 เมตรพัดเข้าถล่มชายฝั่งตะวันออกของประเทศ คลื่นสึนามิสูง 1 เมตรได้รับรายงานว่าพบเห็นในบางพื้นที่ของบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ทำให้คลื่นน้ำรอบเกาะดูอันตราย เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายไว้ก่อน เรือจึงถูกห้ามออกจากฝั่ง ทำให้ชาวเกาะบางคนติดอยู่[87][88]

ผลกระทบ

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงความความเสียหายระหว่างเซนไดกับอ่าวเซนได

ระดับและขอบเขตของความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามินั้นใหญ่หลวง โดยความเสียหายส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นจากคลื่นสึนามิ คลิปวีดิโอของเมืองที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดแสดงให้เห็นภาพของเมืองที่เหลือเพียงเศษซาก และแทบจะไม่เหลือส่วนใดของเมืองเลยที่ยังมีสิ่งปลูกสร้างเหลืออยู่[89] ประมาณการมูลค่าความเสียหายอยู่ในระดับหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบก่อนและหลังของพื้นที่ที่ถูกทำลายล้างนั้นแสดงให้เห็นถึงความเสียหายอย่างมโหฬารที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่[90][91] ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะลงทุนไปหลายพันล้านดอลล่าร์ไปกับกำแพงกั้นน้ำต่อต้านสึนามิ ซึ่งลากผ่านอย่างน้อย 40% ของแนวชายฝั่งทั้งหมด 34,751 กิโลเมตร และสูงกว่า 12 เมตรก็ตาม แต่คลื่นสึนามิก็ไหลข้ามกำแพงกั้นน้ำบางส่วน และทำให้กำแพงบางแห่งพังทลาย[92]

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

แผนที่แสดงศูนย์กลางแผ่นดินไหวและตำแหน่งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดนิ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอะนะงะวะ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โทไก ซึ่งประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์ 11 เตา ถูกปิดลงโดยอัตโนมัติหลังแผ่นดินไหว[93] หลังจากเตาปฏิกรณ์ดับเครื่องแล้ว ระบบหล่อเย็นซึ่งใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรองจะต้องทำงานต่ออีกเป็นเวลาหลายวันเพื่อกำจัดความร้อนจากการสลายตัว[94] แต่ทว่าที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ 1 และ 2 คลื่นสึนามิซัดข้ามกำแพงและทำลายระบบกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรอง จึงเกิดปัญหาในการลดความร้อน และทำให้เกิดระเบิด 2 ครั้งที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ 1 และทำให้กัมมันตภาพรังสีในบริเวณรอบข้างมีระดังสูงขึ้น ประชาชนกว่า 200,000 คนในบริเวณใกล้เคียงต้องอพยพหนี[95] หลังจากที่ความพยายามในการลดอุณหภูมิไม่ประสบความสำเร็จมาเกือบสัปดาห์ จึงมีการใช้รถดับเพลิงและเฮลิคอปเตอร์ในการเทน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ [96][97]

ท่าเรือ

ท่าเรือทั้งหมดของญี่ปุ่นปิดชั่วคราวหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ก่อนที่บางแห่งในโตเกียวหรือใต้ลงไปกว่านั้นจะเปิดใช้อีกครั้งในเวลาไม่นาน ท่าเรือตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ฮาชิโนเฮะ เซนได อิชิโนมากิ และโอนาฮามะถูกทำลาย ในขณะที่ท่าเรือชิบะ (ซึ่งรองรับอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอน) และท่าเรือคาชิมะ ซึ่งเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับเก้าในญี่ปุ่น ได้รับความเสียหายเช่นกัน แต่น้อยกว่ามาก ท่าเรือที่ฮิตาชินากะ ฮิตาชิ โซมะ ชิโอกามะ เคเซนนุมะ โอฟุนาโตะ คามาชิ และมิยาโกะ ได้รับความเสียหายเช่นกัน และคาดการณ์ว่าจะไม่สามารถเปิดใช้ได้อีกหลายสัปดาห์[98] ท่าเรือโตเกียวได้รับความเสียหายเล็กน้อย ผลกระทบของแผ่นดินไหวรวมไปถึงควันที่มองเห็นได้ลอยขึ้นมาจากอาคารในท่าเรือ ซึ่งบางส่วนของท่าถูกน้ำท่วม รวมทั้งการเหลวตัวของดินในพื้นที่ที่จอดรถของโตเกียวดิสนีย์แลนด์[99][100]

เขื่อนล้มเหลว

เขื่อนชลประธานฟุจินุมะในสุคากาวะแตก[101] ทำให้เกิดอุทกภัยและน้ำได้พัดพาบ้านเรือนหลายหลังไปกับกระแสน้ำ[102] มีผู้สูญหายแปดคน และร่างผู้เสียชีวิตสี่คนถูกค้นพบในเช้าวันรุ่งขึ้น[103][104][105] ตามรายงาน ประชาชนท้องถิ่นบางคนพยายามซ่อมแซมรอยแตกของเขื่อนก่อนที่เขื่อนจะแตก[106] เมื่อวันที่ 12 มีนาคม เขื่อน 252 แห่งถูกตรวจสอบ และพบว่าเขื่อนกั้นหกแห่งมีรอยแตกตื้น ๆ บริเวณสันเขื่อน อ่างเก็บน้ำที่เขื่อนคอนกรีตถ่วงน้ำหนักแห่งหนึ่งมีการพังทลายตามลาดที่ไม่น่าวิตกกังวล เขื่อนที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดสามารถดำเนินการต่อไปโดยไม่มีปัญหา สี่เขื่อนในพื้นที่แผ่นดินไหวยังไม่สามารถเข้าถึงได้ เมื่อการติดต่อทางถนนสามารถเข้าถึงได้ ผู้เชี่ยวชาญจะถูกส่งไปตรวจสอบเพิ่มเติม[107]

ไฟฟ้า

ตามข้อมูลของโทโฮะกุอิเล็กทริกพาวเวอร์ มีบ้านเรือนราว 4.4 ล้านหลังคาเรือนทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้[108] เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปหลายเครื่องไม่สามารถใช้การได้หลังจากเกิดแผ่นดินไหว[109] การปลดโหลดเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม เนื่องจากการขาดแคลนพลังงานซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว บริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ซึ่งโดยปกติแล้ว ผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อย 40 กิกะวัตต์ ประกาศว่าขณะนี้ทางบริษัทสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงราว 30 กิกะวัตต์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะไฟฟ้าร้อยละ 40 ที่ใช้ในพื้นที่เขตมหานครโตเกียวปัจจุบันนี้ได้รับกระแสไฟฟ้าที่ผลิตในจังหวัดนิอิงะตะและฟุกุชิมะ[110] เครื่องปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิและฟุกุชิมะไดนิถูกปิดตัวลงอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นครั้งแรกและได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมา มีการคาดการณ์ว่าจะมีการปลดโหลดนานสามชั่วโมงจนกระทั่งถึงสิ้นเดือนเมษายนและจะส่งผลกระทบถึงจังหวัดโตเกียว คะนะงะวะ ชิซุโอกะ ยามานาชิ ชิบา อิราบากิ ไซตามะ โตชิงิ และกุนมะ[111] การเต็มใจลดการใช้กระแสไฟฟ้าโดยผู้บริโภคในเขตคันโตช่วยลดความถี่และระยะที่เกิดไฟฟ้าดับจากที่เคยทำนายไว้[112]

โทโฮะกุอิเล็กทริกพาวเวอร์ (TEP) ปัจจุบันไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมให้กับเขตคันโตได้ เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ของบริษัทได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน คันไซอิเล็กทริกพาวเวอร์คอมปานี (Kepco) ไม่สามารถแบ่งกระแสไฟฟ้าให้ได้ เนื่องจากระบบของบริษัททำงานอยู่ที่ 60 เฮิร์ตซ์ ขณะที่ของอีกสองบริษัทนั้นทำงานที่ 50 เฮิร์ตซ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคในยุคเริ่มแรกในยุคทศวรรษ 1880 ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นไม่มีสายส่งไฟฟ้าแห่งชาติที่เป็นเอกภาพ[113] สถานีย่อยสองแห่ง หนึ่งในชิซุโอกะและนางาโนะ สามารถเปลี่ยนแปลงความถี่และสามารถส่งกระแสไฟฟ้าจากคันไซไปยังคันโตและโทโฮะกุ แต่ปริมาณสูงสุดที่จะกระทำได้อยู่ที่ 1 กิกะวัตต์ และจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องปฏิกรณ์หลายเครื่องนั้น อาจต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะฟื้นฟูระดับการผลิตกระแสไฟฟ้าทางตะวันออกของญี่ปุ่นให้กลับคืนสู่ระดับก่อนที่จะเกิดเหตุแผ่นดินไหว[114]

น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน

เพลิงไหม้ที่โรงกลั่นน้ำมันของคอสโมออยล์คอมปานีในจังหวัดอิชิฮาระ

โรงกลั่นน้ำมันของคอสโมออยล์คอมปานี ซึ่งมีกำลังการผลิต 220,000 บาร์เรลต่อวัน[115] เกิดเหตุเพลิงไหม้ซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวที่อิชิฮาระ จังหวัดชิบะ ทางตะวันออกของโตเกียว[116] ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันแห่งอื่น ๆ ชะลอการผลิตเนื่องจากการตรวจสอบความปลอดภัยและการสูญเสียพลังงาน[117][118] ในเซนได โรงกลั่นน้ำมันกำลังการผลิต 145,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นของบริษัทโรงกลั่นที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เจเอ็กซ์นิปปอนออยล์แอนด์เอเนอร์จี ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้จากแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน[115] มีการอพยพคนงาน[119] แต่ประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิได้ขัดขวางความพยายามที่จะดับไฟจนกระทั่งวันที่ 14 มีนาคม เมื่อเจ้าหน้าที่ทางการวางแผนที่จะดำเนินการ[115]

ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่าการบริโภคน้ำมันหลายประเภทอาจเพิ่มสูงขึ้นเป็นถึง 300,000 บาร์เรลต่อวัน (รวมทั้งก๊าซธรรมชาติเหลว) เพื่อใช้ป้อนให้กับเครื่องปฏิกรณ์ชนิดเผาผลาญเชื้อเพลิงซากฟอสซิลเพื่อพยายามทดแทนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ 11 กิกะวัตต์ของญี่ปุ่น[120][121]

เครื่องปฏิกรณ์ของเมืองเซนไดที่นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวได้รับความเสียหายอย่างหนัก และวัตถุดิบถูกชะลอไว้อย่างน้อยหนึ่งเดือน[122]

การขนส่ง

ผู้โดยสารรถไฟในโตเกียว กับการหยุดชะงักการเดินทางที่เกิดขึ้นทั่วประเทศญี่ปุ่น

เครือข่ายการขนส่งของญี่ปุ่นหยุดชะงักอย่างรุนแรง สายโทโฮะกุหลายส่วนที่อยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นได้รับความเสียหาย[123] บริการรถรางหยุดชะงักในโตเกียว โดยมีประมาณว่าผู้โดยสารอย่างน้อย 20,000 คนติดค้างอยู่ที่สถานีหลัก ๆ ในเมือง ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากแผ่นดินไหว บริการรถไฟบางส่วนได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง[124] รถไฟส่วนใหญ่ในโตเกียวได้กลับมาเปิดให้บริการเต็มที่ภายในหนึ่งวันหลังจากเหตุแผ่นดินไหว (12 มีนาคม)[125] นักท่องเที่ยวกว่าสองหมื่นคนใช้ชีวิตอยู่ภายในโตเกียวดิสนีย์แลนด์ในคืนวันที่ 11-12 มีนาคม[126]

คลื่นสึนามิท่วมท่าอากาศยานเซนไดเมื่อเวลา 15.55 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น[54] ราวหนึ่งชั่วโมงหลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรก ทั้งท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะและฮาเนดะได้ชะลอการให้บริการหลังจากแผ่นดินไหว โดยเที่ยวบินส่วนใหญ่เปลี่ยนไปลงท่าอากาศยานแห่งอื่นเป็นเวลาราว 24 ชั่วโมง[100] สายการบินสิบสายที่ปฏิบัติการที่นาริตะได้ย้ายที่ทำการยังฐานทัพอากาศโยโกตะที่อยู่ใกล้เคียงแทน[127]

บริการรถไฟทั่วญี่ปุ่นจำนวนมากถูกยกเลิก โดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกชะลอการให้บริการทั้งหมดทั้งวัน[128] รถไฟสี่ขบวนบนสายชายฝั่งได้รับรายงานว่าขาดการติดต่อกับผู้ให้บริการ รถไฟขบวนหนึ่ง ซึ่งเป็นรถไฟสี่โบกี้บนสายเซ็นเซกิ ถูกพบว่าตกราง และผู้โดยสารได้รับการช่วยเหลือไม่นานหลังจาก 8.00 น. ของวันรุ่งขึ้น[129]

ไม่มีรายงานรถไฟหัวกระสุนชินกันเซ็นตกรางทั้งในและนอกโตเกียว แต่บริการรถไฟดังกล่าวหยุดชะงัก[100] โทไดโดชินกันเซ็นได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง แต่ไม่ทั้งหมด ภายในวันเดียวกัน และเปิดให้บริการตามตารางเวลาปกติภายในวันรุ่งขึ้น ขณะที่โจเอ็ตสุและนางาโนะชินกันเซ็นได้กลับมาให้บริการอีกครั้งในวันที่ 12 มีนาคม อย่างไรก็ตาม โทโฮกุชินกันเซ็นยังคงชะลอการให้บริการ และสภาพของรางในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักยังยากที่จะสืบหาความจริง[130] การให้บริการของโทโฮะกุชินกันเซ็นบางส่วนกลับมาให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 15 มีนาคม โดยมีการให้บริการไปอย่างเดียวหนึ่งขบวนต่อชั่วโมงระหว่างโตเกียวและนาสุ-ชิโอบาระ[131]

โทรคมนาคม

บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และสายดินได้รับผลกระทบอย่างมากในพื้นที่แผ่นดินไหว[132] บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ที่สาธารณูปโภคพื้นฐานยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าแผ่นดินไหวจะสร้างความเสียหายแก่ระบบเคเบิลใต้ทะเลหลายส่วนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ระบบเหล่านี้สามารถเลี่ยงส่วนที่ได้รับผลกระทบไปยังส่วนที่ซ้ำซ้อนกันแทน[133][134] ในญี่ปุ่น มีเพียงไม่กี่เว็บไซต์เท่านั้นที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ในตอนแรก[135] ผู้ให้บริการฮอตสปอตวายฟายหลายแห่งได้รับมือกับเหตุแผ่นดินไหวโดยให้บริการเข้าถึงเครือข่ายของพวกเขาฟรี[135]

ศูนย์อวกาศ

องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นได้สั่งอพยพพนักงานจากศูนย์อวกาศซึกุบะในซึกุบะ จังหวัดอิราบากิ ศูนย์อวกาศดังกล่าวถูกปิดลง โดยมีรายงานได้รับความเสียหายบางส่วน ศูนย์อวกาศซึกุบะเป็นที่ตั้งของห้องควบคุมชิ้นส่วนของสถานีอวกาศนานาชาติ[136][137]

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

นักวิเคราะห์บางคนทำนายว่าค่าฟื้นฟูบูรณะทั้งหมดอาจสูงถึง 10 ล้านล้านเยน (122,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)[138] พื้นที่โทโฮะกุเหนือ ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด มีส่วนสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศถึงราว 8% โดยโรงงานที่ผลิตสินค้า อย่างเช่น รถยนต์และเบียร์ ตลอดจนสาธารณูปโภคด้านพลังงาน[139] พื้นที่ดังกล่าวรวมไปถึงจังหวัดมิยะงิทางตอนเหนือ อันเป็นที่ตั้งของเมืองเซนได ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของโตเกียวราว 300 กิโลเมตร จังหวัดมิยะงิมีเขตผลิตและอุตสาหกรรมและเครื่องปฏิกรณ์เคมีและไฟฟ้า มีการประมาณการว่าจังหวัดมิยะงิมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของญี่ปุ่น 1.7%[140]

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิมีผลกระทบอย่างรุนแรงเฉียบพลันแก่ธุรกิจ อย่างเช่น โตโยต้า นิสสันและฮอนด้า ซึ่งชะลอการผลิตอัตโนมัติทั้งหมดจนถึงวันที่ 14 มีนาคม บริษัทนิปปอนสตีล ก็ได้ยุติการผลิตด้วยเช่นกัน บริษัทโตโยไทร์แอนด์รับเบอร์ และซุมิโตโมรับเบอร์อินดัสตรีส์ ปิดสายการผลิตยางรถยนต์และยาง ขณะที่จีเอส ยูอาสะได้เปิดการผลิตแบตเตอร์รีรถยนต์ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่คาดว่าจะขัดขวางการสามารถจัดหาอุปทานสำหรับผู้ผลิตรถยนต์[141] บริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว โตชิบา บริษัททางรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก และชิน-เอทซุเคมิคัล ได้รับการเสนอว่าเป็นบริษัทที่ไม่มั่นคงที่สุดจากผลของแผ่นดินไหว[142] โซนียังได้ชะลอการผลิตที่โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดหกแห่งในพื้นที่ ขณะที่ฟูจิเฮวีอินดัสตรีส์ไม่สามารถดำเนินการผลิตต่อได้ในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดในจังหวัดกุนมะและจังหวัดโทะชิงิ[143] โรงงานอื่น ๆ ชะลอการผลิต ซึ่งรวมไปถึง คิรินโฮลดิงส์ แกล็กโซสมิทไคล์น เนสเล่[144] และโตโยต้า เนื่องจากการถูกตัดพลังงาน[145] การปิดตัวลงของโรงงาน การตัดไฟฟ้า และผลกระทบตามมาที่สันนิษฐานไว้ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาจส่งผลร้ายต่อจีดีพีของประเทศเป็นเวลาหลายเดือน ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ ไมเคิล บอสกิน จะทำนายว่า "เศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย"[139][146]

ชั้นวางขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่แทบไม่เหลือสิ้นค้าอยู่เลย

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นที่เครดิตสวิส ฮิโรมิชิ ชิรากาวา กล่าวในบันทึกถึงลูกค้าว่าประมาณการความเสียหายทางเศรษฐกิจอาจอยู่ที่ระหว่าง 171,000-183,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ แค่เฉพาะพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเท่านั้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ธนาคากลางญี่ปุ่น ในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาด[147][148] ได้อัดฉีดเงินกว่า 15 ล้านล้านเยนเข้าสู่ตลาดการเงินเพื่อรับประกันเสถียรภาพทางการเงินท่ามกลางสภาวะที่หุ้นดิ่งลงอย่างรวดเร็วและความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หลังจากที่ธนาคารกลางได้จัดคณะทำงานเฉพาะกิจฉุกเฉินเพื่อรับประกันสภาพคล่องหลังจากเกิดภัยพิบัติขึ้น ผู้ว่าการมาซาอากิ ชิรากาวา และคณะกรรมการบริหารธนาคารได้ขยายโครงการโดยซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อแลกเปลี่ยน-ค้ากองทุนถึง 10 ล้านล้านเยน ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่นกล่าวว่า การอัดฉีดเงินจะดำเนินต่อไปหากจำเป็น[149] อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดวิกฤตนิวเคลียร์รั่วไหล การกระทำของธนาคารกลางถูกตลาดมองว่าไร้ประสิทธิภาพ[150] ถึงแม้ว่าจะมีการอักฉีดเงินเข้าสู่ตลาดมากกว่า 8 ล้านล้านเยนก็ตาม[151] วันที่ 15 ตุลาคม ดัชนีโทปิกซ์ดิ่งลงอีกครั้ง นับเป็นการดิ่งลงสองวันติดต่อกัน ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เมื่อความเสี่ยงทางการเงินของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นาโอโตะ คัง ประกาศเตือนว่ามีการรั่วไหลเพิ่มเติมจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ไม่รับความเสียหาย โภคภัณฑ์ได้มีจำนวนลดลงอย่างมาก[152] มีรายงานว่าผู้อยู่อาศัยในโตเกียวแตกตื่นแห่กันไปเลือกซื้อสินค้าเพื่อกักตุนของใช้ประจำวันที่จำเป็นและน้ำมัน จากความเสี่ยงจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสีนิวเคลียร์ที่เพิ่มมากขึ้น[153]

เลขานุการคณะรัฐมนตรี ยูกิโอะ เอดาโนะ กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นประชุมในวันที่ 13 มีนาคม เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อหายนะดังกล่าว[154] เขายังกล่าวแก่โทรทัศน์เอ็นเอชเคว่า รัฐบาลจะใช้เงิน 200,000 ล้านเยนซึ่งยังคงเหลือจากปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งจะสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม เพื่อความพยายามฟื้นฟูประเทศอย่างเร่งด่วน มาตรการเพิ่มเติมอาจสามารถก่อหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นได้ (ซึ่งมีหนี้สาธารณะสูงที่สุดในโลกอยู่แล้ว) การใช้จ่ายเพิ่มเติมนี้ยังอาจกระทบต่อความต้องการพันธบัตรรัฐบาลอีกด้วย[139]

การผลิตซิลิกอนเวเฟอร์ชะงักในโรงงานของชินเอ็ตสึเคมิคอลและเอ็มอีเอ็มซีอิเล็กทรอนิกส์แมทีเรียล ซึ่งผลผลิตของทั้งสองบริษัทนี้คิดเป็น 25% ของการผลิตซิลิกอนเวเฟอร์ทั่วโลก การชะลอการผลิตดังกล่าวเป็นที่คาดว่าจะกระทบต่อการผลิตสารกึ่งตัวนำในประเทศอย่างรุนแรง ขึ้นอยู่กับการสามารถหาซิลิกอนเวเฟอร์ดังกล่าว[155][156]

นักวิเคราะห์เศรษฐกิจบางคนมองว่า ท้ายที่สุดแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยเป็นการเพิ่มอาชีพระหว่างความพยายามฟื้นฟูประเทศ โดยหลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิน พ.ศ. 2538 ผลประกอบการทางอุตสาหกรรมลดลง 2.6% แต่ได้เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนต่อมา และอีก 1% ในอีกสองเดือนถัดมา หลังจากนั้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นเวลาอีกสองปีต่อมา และเร็วกว่าอัตราเติบโตเดิมเสียอีก[146] ขณะที่ความคิดเห็นบางส่วนระบุว่าภัยพิบัติดังกล่าวจะสร้างผลเสียต่อเศรษฐกิจ[157]

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

ตลาดหลักทรัพย์นิคเคอิของญี่ปุ่น ในส่วนของตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้ามีการปรับตัวลดลง 5% หลังจากทำการซื้อขายในตลาด[158] ธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมาระบุว่าจะพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน[159] เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ข่าวของระดับกัมมันตรังสีที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ตลาดนิคเคอิดิ่งลงมากกว่า 1,000 จุด หรือ 10.6% (รวมแล้วทั้งสัปดาห์ลดลงถึง 16%)[160]

ตลาดหุ้นอื่นทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ดัชนีแด็กซ์ของเยอรมนีดิ่งลง 1.2% ภายในไม่กี่นาที[161] ดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกงดิ่งลง 1.8% ขณะที่ดัชนีคอมโพสิตเกาหลีใต้ตกลงไป 1.3%[162] เมื่อตลาดปิดทำการซื้อขายในวันที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นนั้น ดัชนีเอ็มเอสซีไอเอเชียแปซิฟิกลดลงถึง 1.8%[163] ตลาดหุ้นสำคัญของสหรัฐเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.5% ถึง 0.7%[164] ราคาน้ำมันเองก็ได้ปรับตัวลดลงจากผลของการปิดโรงกลั่นน้ำมันในญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในลิเบียจะยังคงดำเนินต่อไป และการเดินขบวนประท้วงซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในซาอุดิอาระเบีย ราคาน้ำมันดิบสหรัฐลดลงเหลือ 99.01 ดอลล่าร์สหรัฐ จาก 100.08 ดอลล่าร์สหรัฐในช่วงเที่ยง และราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลดลง 2.62 ปอนด์ เหลือ 112.81 ปอนด์[165]

เงินสกุลเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่หลังจากเกิดแผ่นดินไหว และแตะระดับสูงสุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ 76.25 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากมีการคาดคัเนว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะส่งทรัพย์สินกลับประเทศเพื่อใช้จ่ายในการบูรณะ[166] เนื่องจากญี่ปุ่นพึ่งพาภาคการส่งออกเป็นหลัก เงินเยนที่แข็งค่านั้นอาจทำลายเศรษฐกิจยิ่งลงไปอีก ความไร้เสถียรภาพของตลาดการเงินได้ทำให้กลุ่มจี 7 ประชุมกันเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นความตกลงในการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนกับดอลล่าร์ร่วมกัน[167] ซึ่งนับเป็นพฤติการณ์ดังกล่าวครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2543[168]

การตอบสนองในญี่ปุ่น

กิจกรรมค้นหาและกู้ภัยตามซากปรักหักพังหลังเกิดเหตุคลื่นสึนามิพัดเข้าถล่ม

นายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ประกาศว่ารัฐบาลได้เรียกระดมกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นเข้าไปในพื้นที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวแล้วหลายพื้นที่[169] เขาขอร้องให้สาธารณชนญี่ปุ่นให้อยู่ในความสงบและคอยรับฟังข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เพื่อรับทราบข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง[169][170] เขายังได้รายงานว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายครั้งได้ปิดตัวลงอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายและการรั่วไหลของกัมมันตรังสี[169] นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งศูนย์ฉุกเฉินในสำนักงานของเขาเพื่อประสานการตอบสนองของรัฐบาล[170]

ปัจจุบันที่พักอพยพกำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มพกพา อาหาร ผ้าห่ม และสิ่งอำนวยความสะดวกห้องน้ำ โดยรัฐบาลได้จัดการของจำเป็นเหล่านี้ส่งไปยังพื้นที่ที่ต้องการเร่งด่วนอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากหลายพื้นที่ของญี่ปุ่นและต่างประเทศ[171] อุณหภูมิที่ลดลงเนื่องจากสายไฟฟ้าและแก๊สถูกรบกวนนั้นได้สร้างปัญหาเพิ่มเติมที่ที่พักพิงชั่วคราวดังกล่าว[14] เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีประชากรในญี่ปุ่น 336,521 คนที่ต้องย้ายออกจากบ้านและอาศัยอยู่ที่อื่น รวมทั้งในที่พักพิงชั่วคราว 2,367 แห่ง[172]

ทีมค้นหาและกู้ภัยในเมืองของญี่ปุ่นที่ถูกส่งตัวไปยังนิวซีแลนด์ ภายหลังแผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช พ.ศ. 2554 ถูกเรียกตัวกลับประเทศ[173]

สื่อหลายสำนักรายงานว่าชาวญี่ปุ่นรับมือกับภัยธรรมชาติดังกล่าวอย่างเป็นระเบียบและอดทน โดยไม่มีการปล้นสะดมหรือเกิดเหตุรุนแรงขึ้นแต่อย่างใด นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังเข้าแถวรอซื้อสินค้าแม้ว่าสินค้านั้นจะหมดไปแล้วก็ตาม[174] ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นลักษณะเฉพาะของชาวญี่ปุ่นซึ่งเรียกว่า กามัง ซึ่งมีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่า "ความอดทนและความอุตสาหะ"[175][176][177]

สิบวันหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ได้เริ่มต้นมีรายงานการลักขโมยและลักทรัพย์ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ เมื่อถึงวันที่ 20 มีนาคม ตำรวจจังหวัดมิยะงิได้รับรายงานว่ามีการก่อเหตุลักทรัพย์ขึ้น 250 ครั้ง และสินค้าถูกขโมยไปจากร้านค้ารวมมูลค่า 4.9 ล้านเยน และเงินสด 5.8 ล้านเยน พยานรายงานว่าโจรได้ขโมยเงินสดและสมุดเงินฝากธนาคารจากบ้านที่ถูกทำลาย ฉกชิงทรัพย์จากร้านค้า และถ่ายน้ำมันจากยานพาหนะที่ถูกทิ้งไหว้หรือได้รับความเสียหาย[178][179][180]

การตอบสนองจากนานาชาติ

ทหารเรือลำเลียงของช่วยเหลือโดยเฮลิคอปเตอร์

การร้องขอความช่วยเหลือ

ทางประเทศญี่ปุ่นได้ขอทีมช่วยเหลือจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[181][182] และได้ขอร้องผ่านทางองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นให้มีการเคลื่อนไหวด้านกฎบัตรระหว่างประเทศในพื้นที่และภัยพิบัติครั้งใหญ่ ให้ดาวเทียมได้แสดงความหลากหลายของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมใช้งานร่วมกันกับการกู้ภัยและองค์กรให้ความช่วยเหลือ[183]

ความเกี่ยวข้องกับโลก

ญี่ปุ่นได้รับสาส์นแสดงความเสียใจและเสนอความช่วยเหลือจากผู้นำนานาประเทศ ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม มี 128 ประเทศ และ 33 องค์การระหว่างประเทศได้เสนอความช่วยเหลือไปยังญี่ปุ่น[184]

เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะได้จุดประเด็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ และนำไปสู่การเดินขบวนประท้วงต่อต้านนิวเคลียร์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 50,000 คนในสตุตการ์ตและการยกเลิกการแถลงข่าวที่เห็นด้วยกับนิวเคลียร์ในสหราชอาณาจักร[185]

ขณะที่กำลังเฝ้าจับตาระดับกัมมันตรังสีตามแนวชายฝั่งหลังจากเกิดวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ จีน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักในปฏิบัติการช่วยเหลือในญี่ปุ่นถึงแม้ว่าจะประสบกับวิกฤตการณ์แผ่นดินไหวในประเทศของตนด้วยในขณะเดียวกัน ได้เริ่มต้นอพยพพลเมืองของตนจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติเลวร้ายที่สุดในญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554[186] ฝรั่งเศสเองก็ได้เริ่มต้นอพยพผู้ที่มีสัญชาติจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติเลวร้ายที่สุดเช่นกัน โดยมีการส่งเครื่องบินของสายการบินไปช่วยเหลือการอพยพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554[187][188] และเพื่อเป็นการรับมือกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสี รัฐบาลออสเตรียได้ย้ายสถานทูตในญี่ปุ่นของตนจากโตเกียวไปยังโอซากา ห่างออกไป 400 กิโลเมตร[189]

ในหลายประเทศ ได้มีการจัดการรณรงค์ช่วยเหลือขึ้นทั้งโดยภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเงินสนับสนุนและส่งความช่วยเหลือมายังผู้ประสบภัยพิบัติและประชากรทั่วไปในญี่ปุ่น ไซท์ซื้อแบบเป็นกลุ่มได้จัดการรณรงค์ออนไลน์ซึ่งมีการระดมเงินหลายล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อส่งไปให้กับองค์การช่วยเหลือที่กำลังทำงานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น[190]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "震災の揺れは6分間 キラーパルス少なく 東大地震研". Asahi Shimbun (ภาษาJapanese). Japan. 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 "Magnitude 9.0 – Near The East Coast Of Honshu, Japan". United States Geological Survey (USGS). สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  3. 3.0 3.1 3.2 Reilly, Michael (11 March 2011). "Japan's quake updated to magnitude 9.0". New Scientist (Short Sharp Science ed.). สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Damage Situation and Police Countermeasures associated with 2011Tohoku district – off the Pacific Ocean Earthquake" (PDF). Japanese National Police Agency. 25 March 2011, 12:00 JST. สืบค้นเมื่อ 25 March 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "平成23年(2011年)東北地方太平洋沖地震の被害状況と警察措置" (PDF). Japanese National Police Agency. 25 March 2011, 12:00 JST. สืบค้นเมื่อ 25 March 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. 気象庁 Japan Meteorological Agency. "平成23年3月11日14時46分頃の三陸沖の地震について(第2報) 気象庁 | 平成23年報道発表資料" (ภาษาJapanese). JP: JMA. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "New USGS number puts Japan quake at 4th largest". CBS News. 14 มีนาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "Séisme et tsunami dévastateurs: plus de 1000 morts et disparus au Japon". Le Parisien (ภาษาFrench). 11 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |trans_title= ถูกละเว้น แนะนำ (|trans-title=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  9. "Tsunami hits north-eastern Japan after massive quake". BBC News. UK. 11 March 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  10. Roland Buerk. "Japan earthquake: Tsunami hits north-east". News. UK: BBC. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
  11. 11.0 11.1 "Tsunami bulletin number 3". Pacific Tsunami Warning Center/NOAA/NWS. 11 March 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  12. 12.0 12.1 Wire Staff (11 March 2011). "Tsunami warnings issued for at least 20 countries after quake". CNN. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  13. 13.0 13.1 "PTWC warnings complete list". สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 "NHK WORLD English". NHK. March 12, 2011. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "nhk-english-stream" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  15. By the CNN Wire Staff. "Report: Explosion at Japanese nuclear plant". Edition.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  16. "Huge blast at Japan nuclear power plant (with video of explosion)". BBC News. 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
  17. Branigan, Tania (2011-03-13). "Tsunami, earthquake, nuclear crisis – now Japan faces power cuts". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  18. "Japan quake – 7th largest in recorded history". 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  19. "Japanese PM: 'Toughest' crisis since World War II". CNN International. CNN. 13 March 2011. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.}
  20. 20.0 20.1 20.2 "Quake shifted Japan by over two meters". Deutsche Welle. March 14, 2011. สืบค้นเมื่อ March 14, 2011.
  21. Kenneth Chang (March 13, 2011). "Quake Moves Japan Closer to U.S. and Alters Earth's Spin". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  22. Molly Hennessy-Fiske (13 March 2011). "Japan earthquake: Insurance cost for quake alone pegged at $35 billion, AIR says". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
  23. Uranaka, Taiga (14 March 2011). "New explosion shakes stricken Japanese nuclear plant". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2011. สืบค้นเมื่อ 15 March 2011. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  24. Victoria Kim (March 21, 2011). "Japan damage could reach $235 billion, World Bank estimates". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ March 21, 2011. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  25. Japan disaster likely to be world's costliest - Yahoo! News
  26. "地震情報 – 2011年3月10日 15時6分 – 日本気象協会 tenki.jp"."地震情報 – 2011年3月11日 15時15分 – 日本気象協会 tenki.jp"."地震情報 – 2011年3月11日 15時26分 – 日本気象協会 tenki.jp".
  27. "Earthquake Information". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  28. Lovett, Richard A. (2011-03-14). "Japan Earthquake Not the "Big One"?". National Geographic News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  29. Foster, Peter. "Alert sounded a minute before the tremor struck". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  30. Talbot, David. "80 Seconds of Warning for Tokyo". MIT Technology Review. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  31. "Magnitude 8.9 – NEAR THE EAST COAST OF HONSHU, JAPAN 2011 March 11 05:46:23 UTC". United States Geological Survey (USGS). สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  32. 32.0 32.1 Ian Sample. "newspaper: Japan earthquake and tsunami: what happened and why". Guardian. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 Chang, Kenneth (2011-03-13). "Quake Moves Japan Closer to U.S. and Alters Earth's Spin". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  34. "Honshu earthquake and tsunami in Japan, 8.9 Mw ". Stucturalgeography.org
  35. "Japan Meteorological Agency | Earthquake Information". Jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  36. Lavelle, Michelle (2011-03-14). "Japan Battles to Avert Nuclear Power Plant Disaster". National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 2011-03-16.
  37. "EQECAT Analyzes Specific Exposures from Japan Quake/Tsunami". Insurance Journal. Wells Publishing. 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-16.
  38. "2011 Off the Pacific Coast of Tohoku earthquake, Strong Ground Motion" (PDF). National Research Institute for Earth Science and Disaster Prevention. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  39. "USGS Energy and Broadband Solution". Neic.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  40. "USGS.gov: USGS WPhase Moment Solution". Earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  41. Rincon, Paul (2011-03-14). "How the quake has moved Japan". สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  42. Reilly, Michael (2011-03-12). "Japan quake fault may have moved 40 metres". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  43. 43.0 43.1 Chai, Carmen (2011-03-11). "Japan's quake shifts earth's axis by 25 centimetres". Montreal Gazette. Postmedia News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  44. 44.0 44.1 "Earth's day length shortened by Japan earthquake". CBS News. 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  45. Harris, Bethan (2011-03-14). "Can an earthquake shift the Earth's axis?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  46. Hennessy-Fiske, Molly (2011-03-13). "Volcano in southern Japan erupts". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  47. Ananthaswamy, Anil (2011-03-15). "Japan quake shifts Antarctic glacier". สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  48. "Distance between Dichato, Chile and Sendai, Japan is 17228km". Mapcrow.info. 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  49. "The circumference of the earth is about 40,000km". Geography.about.com. 2010-06-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  50. Attwood, James. "Chile Lifts Tsunami Alerts After Japan Quake Spawns Waves". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  51. Chilean site: (Tsunami) waves penetrated 70-100 m in different parts of the country
  52. Tsunami Warning System information, Japan Meteorological Agency
  53. "Tsunami Information (Estimated Tsunami arrival time and Height)". 2011-03-11.
  54. 54.0 54.1 "News: Tsunami rolls through Pacific, Sendai Airport under water, Tokyo Narita closed, Pacific region airports endangered". Avherald.com. 2001-07-06. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  55. "10-meter tsunami observed in area near Sendai in Miyagi Pref". The Mainichi Daily News. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  56. "Japan 8.9-magnitude earthquake sparks massive tsunami". Herald Sun. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  57. "Earthquake, tsunami wreak havoc in Japan". rian.ru. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  58. "9,500 unaccounted for in Miyagi's Minamisanriku: local gov't – The Mainichi Daily News". Mdn.mainichi.jp. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  59. Kyodo News, "2,000 more added to death toll in Miyagi", Japan Times, 15 March 2011, p. 1.
  60. Tritten, Travis, J., and T. D. Flack, "U.S. rescue teams find devastation in northern city of Ofunato", Stars and Stripes, 15 March 2011, Retrieved 16 March 2011.
  61. "Whole towns gone-no cars or people seen". Yomiuri. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  62. Staff Reporter (12 March 2011) "Wiped off the map: The moment apocalyptic tsunami waves drown a sleepy coast town". www.dailymail.co.uk, Retrieved 12 March 2011
  63. "Honderden doden in Japanse kuststad (Hundreds dead in Japanese coastal town)" (in Dutch). www.rtlnieuws.nl, Retrieved 12 March 2011
  64. "Japan army says 300–400 bodies found in Rikuzentakata: Report". Nst.com.my. 2011-02-03. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  65. Kyodo News, "Miyagi coastal whaling port pulverized, little more than memory", Japan Times, 18 March 2011, p. 3.
  66. Kyodo News, "Deaths, people missing set to top 1,600: Edano", Japan Times, 13 March 2011.
  67. Kyodo News, "Survivors in trauma after life-changing nightmare day", Japan Times, 13 March 2011, p. 2.
  68. Kyodo News, "Death toll may surpass 10,000 in Miyagi", Japan Times, 14 March 2011, p. 1.
  69. Alabaster, Jay, and Todd Pitman, (Associated Press), "Hardships, suffering in earthquake zone", Japan Times, 15 March 2011, p. 3.
  70. Tsunami Slams Japan After Record Earthquake, Killing Hundreds, 11 March (Bloomberg), San Francisco Chronicle, Retrieved 14 March 2011
  71. Kyodo News, "Survivors on cut-off isle were ready for disaster", Japan Times, 19 March 2011, p. 2.
  72. "Evacuate all coastal areas immediately, Hawaii Civil Defense says". 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  73. "Text of PTWC Pacific-wide tsunami warning". 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  74. "Tsunami Warning and Advisory #7 issued 03/11/2011 at 3:39 am PST". สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  75. Tsunami Damages Santa Cruz, Crescent City Harbors, KSBW, 11 March 2011
  76. Helen Jung and Jeff Manning, "Waves bring destruction to Oregon's south coast", The Oregonian, 12 March 2011, p. 1+
  77. Nakaso, Dan (14 March 2011)Tsunami damage estimate for Hawaii now tens of millions Star Advertiser, Retrieved 15 March 2011
  78. 78.0 78.1 Minor damage in Latin America by Japan's tsunami, channelnewsasia.com, 13 March 2011
  79. (สเปน) Más de 200 casas dañadas dejó seguidilla de olas. ANSA Latina. 03/13/2011.
  80. (สเปน) Caldera: 80 viviendas resultaron destruidas en Puerto Viejo por efecto de las olas. Radio Bio-Bio. 3/12/2011.
  81. (สเปน) Más de 200 casas dañadas dejó seguidilla de olas que azotaron las costas chilenas La Tercera. 3/12/2011.
  82. "Gareth Morgan's Galapagos hotel destroyed by tsunami". The National Business Review. 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  83. "Ecuador Sends Aid To Galapagos After Islands Hit By Tsunami From Japan". LATIN AMERICA NEWS DISPATCH. 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  84. "South Pacific islands hit by tsunami swells". 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  85. "Tsunami destroys houses in Jayapura". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  86. CP, Google (2011-03-11). "Tsunami from Japanese quake prompts evacuation of 11,000 residents on Russia's Pacific islands". The Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13. {{cite news}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  87. "B.C. tsunami threat passes". CBC.ca. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  88. "Public divided on local tsunami advisory notification". Canada.com. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
  89. "film shown by BBC showing only rubble where there were buildings". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  90. "Before-and-after satellite photographs of devastated regions". Picasaweb.google.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  91. "animated images showing undamaged places become damaged". BBC. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  92. Onishi, Norimitsu (2011-03-13). "Seawalls Offered Little Protection Against Tsunami's Crushing Waves". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  93. "Japan earthquake: Evacuations ordered as fears grow of radiation leak at nuclear plant; News.com.au". News. AU. 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13. According to the industry ministry, a total of 11 nuclear reactors automatically shut down at the Onagawa plant, the Fukushima No. 1 and No. 2 plants and the Tokai No. 2 plant after the strongest recorded earthquake in the country's history
  94. "Japan initiates emergency protocol after earthquake". Nuclear Engineering International. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  95. "Japan's nuclear fears intensify at two Fukushima power stations". The Guardian. 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  96. "Helicopters dump water on nuclear plant in Japan". CNN. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  97. "東京消防庁 3号機に向け放水". NHK News. 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  98. "Status of Japanese ports 5 days after devastating quake and tsunami". Reuters. 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  99. "Tokyo Disneyland hit by liquefaction after quake". MediaCorp Channel NewsAsia. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  100. 100.0 100.1 100.2 "Japan issues top tsunami warning after major quake". MediaCorp Channel NewsAsia. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  101. "Japan's Afternoon of Horror". The Gulf Today. 2011-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  102. "1,500 dead or missing after huge earthquake, tsunami". Asahi Shimbun. 2011-03-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  103. "Dam Breaks In Northeast Japan, Washes Away Homes". Arab Times. 2011-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  104. Azuma, Kita (2011-03-12). "Pacific Ocean coast Earthquake" (ภาษาJapanese). MSN. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  105. "5 buildings collapsing dam outflow Hukushima Sukagawa" (ภาษาJapanese). Fukushima News. 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  106. "Lupo Fujinuma Sukagawa dam collapsed eight people missing" (ภาษาJapanese). Fukushima News. 2011-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  107. "A quick report on Japanese Dams after the Earthquake". Chinese National Committee on Large Dams. 2011-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  108. "People near Japan nuke plant told to leave". News. AU: Yahoo!.
  109. "Power Outage To Deal Further Blows To Industrial Output". Nikkei.com. 14 March 2011, 04:34. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  110. "東京電力ホームページ – エネルギーの最適サービスを通じてゆたかで快適な環境の実現に貢献します -" (ภาษาJapanese). Tokyo Electric Power Company. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  111. "News". Nikkan Sports. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  112. Joe, Melinda, "Kanto area works on energy conservation", Japan Times, 17 March 2011, p. 11.
  113. http://www.itworld.com/business/140626/legacy-1800s-leaves-tokyo-facing-blackouts
  114. Hongo, Jun, "One certainty in the crisis: Power will be at a premium", Japan Times, 16 March 2011, p. 2.
  115. 115.0 115.1 115.2 Fernandez, Clarence (2011-03-14). "Japan's shipping, energy sectors begin march back from quake". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  116. Japan earthquake causes oil refinery inferno Daily Telegraph, London, 11 March 2011
  117. Fires, safety checks take out Japanese refineries Argus Media, 14 March 2011. Accessed: 18 March 2011.
  118. Japanese refiners try to offset shortages Argus Media, 15 March 2011. Accessed: 18 March 2011.
  119. Tsukimori, Osamu (2011-03-11). "JX refinery fire seen originated from shipping facility". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  120. Analysis - Oil markets adjust to Japan’s disaster Argus Media, 16 March 2011. Accessed: 18 March 2011.
  121. Japan quake begins to impact LNG trade Argus Media, 15 March 2011. Accessed: 18 March 2011.
  122. Tsunami Disaster: “Japan’s Sendai says LNG Infrastructure Badly Damaged” Argus Media, 16 March 2011. Accessed: 18 March 2011.
  123. "Fears of massive death toll as ten-metre tall tsunami races across Pacific after sixth largest earthquake in history hits Japan". Daily Mail. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  124. "Many Rail Services In Tokyo Suspended After Quake". NIKKEI. 2011-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  125. Associated Press, "When Tokyo's clockwork trains stopped ticking", Japan Times, 13 March 2011, p. 3.
  126. Kyodo News, "Disney reality check for the stuck", Japan Times, 13 March 2011, p. 3.
  127. Kyodo News, "USS Reagan on way", Japan Times, 13 March 2011, p. 2.
  128. "JR東日本:列車運行情報" (ภาษาJapanese). Traininfo.jreast.co.jp. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  129. "脱線のJR仙石線車内から、県警ヘリで9人救出 : 社会 : YOMIURI ONLINE(読売新聞)" (ภาษาJapanese). Yomiuri.co.jp. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  130. "asahi.com(朝日新聞社):東北新幹線、早期復旧は困難 栃木以北の状況把握難航 – 社会" (ภาษาJapanese). Asahi.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  131. "asahi.com(朝日新聞社):東北新幹線、東京―那須塩原で再開 各停、1時間に1本" (ภาษาJapanese). Asahi.com. 2001-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  132. "Tokyo phone lines jammed, trains stop". Times of India. 2011-03-12. The temblor shook buildings in the capital, left millions of homes across Japan without electricity, shut down the mobile phone network and severely disrupted landline phone service.
  133. "In Japan, Many Undersea Cables Are Damaged: Broadband News and Analysis «". Gigaom.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  134. Cowie, James (2011-03-11). "Japan Quake – Renesys Blog". Renesys.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  135. 135.0 135.1 "Japan's phone networks remain severely disrupted". Computerworld. 2011-03-12.
  136. Malik, Tariq (2011-03-12). "Quake forces closure of Japanese space center". msnbc.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  137. "asahi.com(朝日新聞社):茨城の宇宙機構施設が損傷 「きぼう」一部管制できず – サイエンス" (ภาษาJapanese). Asahi.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  138. "Japan looks for market stability after quake". The Independent. 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  139. 139.0 139.1 139.2 Anstey, Christopher. "Japan Plans Spending Package as Quake Slams World's Most Indebted Economy". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  140. Osamu Tsukimori and Stanley White (2011-03-11). "BoJ pledges support; Toyota halts output". Reuters via Financial Post.
  141. "Toyota, other automakers to suspend production at all domestic plants". Mainichi Daily News. Tokyo. 2011-03-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  142. Fujimura, Naoko. "Tokyo Electric, Toshiba, East Japan Rail May Be Among Most Hurt by Quake". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  143. Knight, Ben (2011-03-13). "Japan's monster quake cripples industry, strains economic recovery". Deutsche Welle. Reuters; Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  144. Webb, Tim (2011-03-13). "Japan's economy heads into freefall after earthquake and tsunami". The Guardian. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  145. Langeland, Terje. "Sony, Toyota Close Plants After Earthquake Damages Factories, Cuts Power". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  146. 146.0 146.1 Wiseman, Paul; Rugaber, Christopher S. (2011-03-11). "Quake and tsunami a blow to fragile Japan economyR". San Francisco Chronicle. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  147. Kihara, Leika (2011-03-14). "BOJ offers record 7 trillion yen to soothe markets". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  148. Wearden, Graeme (2011-03-14). "Bank of Japan pumps billions into financial markets". The Guardian. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  149. Christopher Anstey and Mayumi Otsuma (2011-03-11). "BOJ Pledges Support on Japan Earthquake; Toyota Halts Output". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  150. Ujikane, Keiko. "Bank of Japan Fails to Contain Investor Panic as Nuclear Danger Escalates – Bloomberg". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  151. Funabiki, Saburo. "Bank of Japan Adds 8 Trillion Yen Through 1-Day Operations – Bloomberg". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  152. Armstrong, Paul. "Stocks, Commodities Fall Amid Japan Disaster; Treasuries Up – Bloomberg". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  153. Ozasa, Shunichi. "Tokyo Shoppers Strip Stores as Nuclear Risk Sparks Panic – Bloomberg". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  154. "Japan says quake impact on economy 'considerable'". Agence France-Presse. 2011-03-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  155. Becker, Nathan (21 March 2011). "Japan Quake Has Stopped About 25% Of Silicon-Wafer Production -IHS iSuppli". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
  156. King, Ian (21 March 2011). "Japan Earthquake Suspends 25% of World Silicon, ISuppli Says". Bloomberg News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
  157. "Japan's Tsunami- The Broken Window Fallacy Returns | XChange – The NBR Blog | Nightly Business Report". PBS. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  158. Japan earthquake: market reaction
  159. "BOJ to Work to Ensure Financial Market Stability". 2011-03-11.
  160. "Treasurys Surge Following Nikkei Plunge". CNBC. 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  161. "Erdbeben Japan: Riesige Flutwelle spült Trümmer übers Land". Zeit Online (ภาษาGerman). 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  162. "Japan earthquake hits global markets". London: The Telegraph. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  163. "Roubini Says Earthquake Is 'Worst Thing' at Worst Time for Japan Economy". Bloomberg. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  164. Bharatwaj, Shanthi (2011-03-11). "Stocks rebound after Japan earthquake". The Street. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  165. "Oil prices drop after Japan quake". Raidió Teilifís Éireann. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  166. "Yen hits record-high against US dollar as Nikkei falls". BBC. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
  167. "Yen Declines After G-7's Post-Earthquake Market Intervention Pares Gain". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
  168. "G7 agrees joint intervention to curb strong yen". Reuters.com. 18 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
  169. 169.0 169.1 169.2 Christopher Anstey (2011-03-11). "Kan Mobilizes Forces, BOJ Pledges Liquidity After Quake".
  170. 170.0 170.1 Nikkei Inc. (2011-03-11). "Govt Takes Emergency Steps, Kan Asks People To Stay Calm". Nikkei.com.
  171. Watts, Jonathan (2011-03-16). "After Japan's quake and tsunami, freezing weather threatens relief efforts". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  172. NHK, 17 Mar, 04:01 am.
  173. "Japanese rescue team in NZ heads home". BigPond News. 2011-03-12.
  174. โลกทึ่งญี่ปุ่นไร้เหตุการณ์ปล้นสะดม-รับมือวิกฤตอย่างมีระเบียบวินัย เป็นตัวอย่างให้โลกอย่างดี. (15 มีนาคม 2554). มติชน. สืบค้น 23-3-2554.
  175. "U.S. troops exposed to radiation". Detroit Free Press. 16 March 2011. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
  176. Lloyd, Mike (16 March 2011). "Japanese remain calm while dealing with quake aftermath". National Post. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
  177. "Crushed, but true to law of 'gaman'". The Australian. 16 March 2011. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
  178. Agence France-Presse and Jiji Press, "Desperation tests crime taboo", Japan Times, 21 March 2011, p. 2.
  179. Jiji Press, "Thieves, looters targeting Miyagi's quake-hit stores", Japan Times, 21 March 2011, p. 2.
  180. Allen, Nick (21 March 2011). "Japan earthquake: Looting reported by desperate survivors". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
  181. Nebehay, Stephanie (11 March 2011). "Japan requests foreign rescue teams, UN says". Reuters. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  182. "Japan earthquake: Aid request to the UK". BBC News. 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
  183. "Disaster Charter – Earthquake in Japan". Disasterscharter.org. 28 May 2010. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
  184. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reuters figures
  185. Stuart, Becky (2011-03-14). "Nuclear power comes under attack; solar stocks increase". pv magazine. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  186. "China evacuates citizens from Japan quake areas". Yahoo!.
  187. "Japan earthquake: Anger over Fukushima evacuation plan". BBC. 16 March 2011.
  188. "Japan earthquake and tsunami: UN predicts nuclear plume could hit US by Friday | Mail Online". The Daily Mail. London. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  189. Joe McDonald. "China activating plans to evacuate citizens from Japan". The Washington Times.
  190. "After Japan's Earthquake, Daily Deals became a Useful Tool for Daily Giving". Pinggers Blog {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น