ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Escarbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต ลบ: hr:Kraljica
Mjbmrbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ru:Царствующая королева
บรรทัด 143: บรรทัด 143:
[[pt:Rainha (título)]]
[[pt:Rainha (título)]]
[[qu:Quya]]
[[qu:Quya]]
[[ru:Царствующая королева]]
[[simple:Queen]]
[[simple:Queen]]
[[sv:Drottning]]
[[sv:Drottning]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:15, 28 มีนาคม 2554

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา

สมเด็จพระราชินีนาถ (อังกฤษ: Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริยา[ต้องการอ้างอิง]ซึ่งทรงมีและสามารถบริหารพระราชอำนาจในการปกครองของกษัตริย์เช่นเดียวกับสมเด็จพระราชาธิบดี โดยแตกต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งทรงเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใดๆ

โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์อาจจะเป็นได้ทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Regnant) และ "สมเด็จพระราชาบรมราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" หรือ Prince Consort (โดยมีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย)

การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น

การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฏบัตรซาลลิค

ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์ทรงเป็นแกรนด์ดยุคแห่งลักเซ็มเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายซาลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซ็มเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮาโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระบรมราชปิตุลาของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ

พระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินีนาถ

ต่อไปนี้คือพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินีนาถ พระมหากษัตรีย์ บางประเทศ และบางพระองค์ที่สำคัญ

สหราชอาณาจักร / อังกฤษ / บริเตนใหญ่ / ประเทศในเครือจักรภพ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงฉลองพระองค์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ไฟล์:VictoriaRI.JPG
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ

เนเธอร์แลนด์

ไฟล์:Beatrix Queen.JPG
สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์

สวีเดน

เดนมาร์ก

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2

สเปน

โปรตุเกส

ออสเตรีย, ฮังการี และโบฮีเมีย

พระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรีย พระราชินีแห่งฮังการีและโบฮีเมีย

อียิปต์โบราณ

รัสเซีย

พระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราชินี จักรพรรดินีนาถแห่งรัสเซีย

เกาหลี

จีน

  • บูเช็กเทียน
    พระมเหสีในถังไท่จง และต่อมาเป็นพระมเหสีในถังเกาจง หลังจากชิงพระราชอำนาจจากฮองเฮาหวังได้สำเร็จ พระนางก็ได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮา หลังจากถังเกาจงสวรรคต พระราชโอรสของพระนางสืบราชสมบัติเป็นฮ่องเต้แห่งจีนสองพระองค์ แต่ถูกบูเชกเทียนถอดลงเสีย และพระองค์ได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เสียเองเป็น ฮ่องเต้หญิง เพียงพระองค์เดียวของจีน อย่างไรก็ตามในบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระนางมีพระบรมราชโองการให้ลบพระปรมาภิไธยออกจากการเป็นฮ่องเต้ โดยให้เหลือประวัติศาสตร์เพียงว่าทรงเป็นฮองเฮาในฮ่องเต้ถังเกาจงเท่านั้น [12][13]

ญี่ปุ่น

สมเด็จพระจักรพรรดินีจิงกุในสงครามเกาหลี

ลักเซมเบิร์ก

แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก

เชิงอรรถ

  1. เพราะพระอิสริยยศราชินีแห่งอังกฤษยังไม่เคยมี พระราชินีคอนสอร์ทแห่งอังกฤษพระองค์แรกที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการคือสมเด็จพระราชินีมาทิลดา แห่งฟลานเดอร์ พระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งได้มีพระราชพิธีราชาภิเษกสถาปนาพระองค์เป็นพระราชินีพร้อมกับพระเจ้าวิลเลียม ส่วนพระราชินีนาถพระองค์แรกแห่งอังกฤษ ยังเป็นที่ถกเถียง
  2. เพราะอ้างว่าสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาทิลดาเป็นเพียงผู้สำเร็จราชการระหว่างการเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ และไม่เคยทรงปกครองอังกฤษจริงๆ เลย
  3. เพราะมาทิลดา กับเจนบางครั้งไม่ถูกนับรวมเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ
  4. ดูเพิ่ม พระราชินีนาถวิกตอเรีย พระนิพนธ์ ว.ณ.ประมวลมารค
  5. She was continue to be Quuen of Sweden, but as Queen Cosort not Queen Regnant, however her title didn't changed.
  6. อ่านเพิ่มใน ว.ณ.ประมวลมารค "คลั่งเพราะรัก"
  7. เพราะสองพระองค์ข้างต้นเป็นเพียงพระราชินีนาถแห่งคาสตีล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสเปนเท่านั้น
  8. เพราะผู้ปกครองที่แท้จริงคือพระราชสวามีของพระองค์ พระองค์น่าจะเป็นเพียงพระราชินีมเหสีมากกว่า
  9. ดูเพิ่มใน ธุวตารา งานเขียนของทมยันตี
  10. ดูเพิ่มในคัทริน มหาราชินี พระนิพนธ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
  11. ต่างจากพระราชินีอูลเรก้า และพระจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา ซึ่งเป็นกษัตรีย์ก่อน และค่อยเป็นพระมเหสี พระจักรพรรดินีแคทเธอรีนทรงเป็นพระมเหสีก่อน แล้วจึงเป็นกษัตรีย์ อย่างไรก็ตามผลก็คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงพระอิสริยยศเหมือนกัน
  12. พระองค์เป็นฮ่องเต้หญิงเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน ซูสีไทเฮา แม้จะพยายามเอาอย่างพระนาง แต่ก็มิได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็น ฮ่องเต้หญิง เช่นพระนางบูเช็กเทียน
  13. และไม่เหมือนกับพระราชินีอูลเรกา จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา และซารินาแคทเธอรีน มหาราชินี เพราะพระองค์ทรงเป็น ฮ่องเต้ เพียงแต่เป็นผู้หญิง ถึงอย่างไรก็ตามพระยศของพระองค์คือ ฮ่องเต้ พระยศฮองเฮา นั้นไม่ใช้สำหรับพระองค์ขณะทรงราชย์อยู่ เพราะฮ่องเต้หญิงในประวัติศาสตร์จีนมีเพียงพระองค์เดียว และฮ่องเต้หญิงก็มิใช่ตำแหน่งฮองเฮา
  14. ดูเพิ่ม คินดะอิจิกับคดีคาตกรรมปริศนา ตอนบทเพลงลูกบอลปิศาจ ของโยโคมิโซะ
  15. เพราะถือว่าสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮมมินา แห่งเนเธอร์แลนด์ (ดูด้านบน) ไม่เคยเป็นแกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์กเลย

ดูเพิ่ม