ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นดินไหวในประเทศพม่า พ.ศ. 2554"

พิกัด: 20°42′18″N 99°56′56″E / 20.705°N 99.949°E / 20.705; 99.949
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mjbmrbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: vi:Động đất Myanma 2011
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: it:Terremoto della Birmania del 2011
บรรทัด 118: บรรทัด 118:
[[es:Terremoto de Birmania de 2011]]
[[es:Terremoto de Birmania de 2011]]
[[hu:2011-es mianmari földrengés]]
[[hu:2011-es mianmari földrengés]]
[[it:Terremoto della Birmania del 2011]]
[[ko:2011년 미얀마 지진]]
[[ko:2011년 미얀마 지진]]
[[ms:Gempa bumi Myanmar 2011]]
[[ms:Gempa bumi Myanmar 2011]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:55, 26 มีนาคม 2554

แผ่นดินไหวในพม่า พ.ศ. 2554
แผ่นดินไหวในประเทศพม่า พ.ศ. 2554ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
แผ่นดินไหวในประเทศพม่า พ.ศ. 2554
เวลาสากลเชิงพิกัด??
รหัสเหตุการณ์ ISC
USGS-ANSS
วันที่*20:25:23, 24 มีนาคม 2554 (+06:30) (2554-03-24T20:25:23+06:30)
[[Category:EQ articles using 'date' or 'time'
(deprecated)]]
วันที่ท้องถิ่น
เวลาท้องถิ่น
ระยะเวลา1 นาที
ขนาด6.8 แมกนิจูด
ความลึก10 กม.
ศูนย์กลาง20°42′18″N 99°56′56″E / 20.705°N 99.949°E / 20.705; 99.949
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พม่า,  ไทย,  ลาว,  จีน,  เวียดนาม
ผู้ประสบภัยผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 60 ราย
ผู้บาดเจ็บประมาณ 90 ราย[1]
เลิกใช้แล้ว ดูเอกสาร

แผ่นดินไหวในพม่า พ.ศ. 2554 เป็นแผ่นดินไหวความรุนแรง 6.8 แมกนิจูด ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ซึ่งมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ทางตะวันออกของรัฐฉาน โดยมีจุดเกิดแผ่นดินไหวลึกลงไป 10 กิโลเมตร[2] มีแผ่นดินไหวตามเกิดขึ้นแล้ว 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งความรุนแรง 4.8 แมกนิจูด อีกครั้งหนึ่งมีความรุนแรง 5.4 แมกนิจูด[3] และแผ่นดินไหวตามที่เกิดขึ้นอีก มีความรุนแรง 5 แมกนิจูด ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากจังหวัดเชียงรายไปทางทิศเหนือ 70 กิโลเมตร และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเชียงตุง[4]

ข้อมูลทางธรณีวิทยา

แผนที่ของ USGS แสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวระดับตื้นนี้เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ซึ่งเป็นเขตมุดตัวของเปลือกโลกระหว่างแผ่นอินโด-ออสเตรเลียนและแผ่นยูเรเซียน โดยมีสาเหตุมาจากรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกตั้งแต่ที่ราบสูงยูนนาน-กุ้ยโจวลงมาถึงทางภาคเหนือของประเทศไทย และจากการที่ประเทศพม่าเป็นเขตเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวอยู่แล้วด้วย[5] แผ่นดินไหวครั้งสำคัญอื่น ๆ ในบริเวณนี้คือแผ่นดินไหวในมณฑลยูนนาน พ.ศ. 2554 และ แผ่นดินไหวในประเทศลาว พ.ศ. 2550

แผ่นดินไหว

เวลา 20.55 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศพม่า โดยมีจุดศูนย์กลางบริเวณเชิงเขาในประเทศพม่าใกล้กับชายแดนไทยและลาว ในรัฐฉานทางภาคตะวันออกของพม่า ลึกลงไปใต้ดิน 10 กิโลเมตร วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.7 ริกเตอร์ โดยแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ในหลายเมืองของพม่า ตั้งแต่ตองยี พะโค ชเวยิน ตองอู มัณฑะเลย์ และเนย์ปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า โดยเฉพาะที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก สามารถรับรู้ได้มากที่สุด[6] และแรงสั่นสะเทือนสามารถรับรู้ได้ในหลายประเทศ เช่น ทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย กรุงเวียงจันทน์ของประเทศลาว กรุงฮานอยของประเทศเวียดนาม และแคว้นสิบสองปันนาของประเทศจีน[7]

สำหรับประเทศไทย ในเวลา 20.55 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นทั่วทุกพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย โดยภายในตัวเมืองรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนได้ครั้งแรกในเวลา 20.55 น. และครั้งที่ 2 ในเวลา 21.30 น. โดยแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นครั้งละประมาณ 5 วินาที โดยในครั้งแรกที่ประชาชนเริ่มรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน ได้เริ่มหนีออกมาอยู่นอกตัวอาคารบ้านเรือนกันจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ภายในตึกสูง เช่น อพาร์ทเม้นท์ และหอพัก สำหรับในครั้งแรก ซึ่งการสั่นสะเทือนยาวนานถึงประมาณ 7 วินาที ส่งผลให้ไฟฟ้าในหลายจุดดับลง และเป็นปกติได้ในเวลาไม่นานนัก สำหรับการติดต่อสื่อสาร นอกจากระบบ AIS ที่ยังพอสามารถใช้การได้ในบางช่วง ส่วนที่เหลือทุกระบบไม่สามารถใช้การได้เป็นส่วนใหญ่

ในขณะเดียวกัน แรงสั่นสะเทือนได้ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหลายจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง พิษณุโลก ลำพูน แพร่ พะเยา และในภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร โดยพื้นที่ในกรุงเทพฯ รับรู้แรงสั่นสะเทือนในอาคารสูงบริเวณอโศก พระรามเก้า สีลม บางรัก รัชดา ประตูน้ำ และอีกหลายจุด ส่งผลให้พนักงานที่ยังทำงานอยู่วิ่งหนีออกมานอกอาคาร เช่น ผู้ที่ทำงานในตึกจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เพลส (ตึกแกรมมี่) ชั้น 37 พบเห็นโคมไฟโยก มู่ลี่โยก เมื่อยืนขึ้นก็อาการมึน ๆ ผู้ที่อยู่ชั้น 10 บนตึกมาลีนนท์ (ที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3) ไฟห้อยบนตึกโยกอย่างแรง เห็นได้ชัดถึงการสั่นไหว และรู้สึกปวดหัวมาก ขณะที่อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 13 ที่เป็นสำนักงานชั่วคราวของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย พบโคมไฟโยกอย่างเห็นได้ชัด ที่จังหวัดนนทบุรี ผู้ที่อยู่ที่ตึกของโรงพยาบาลนนทเวช ชั้น 16 รับรู้ถึงแรงสั่น ที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ชั้น 11 และผู้ที่อยู่คอนโดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องอพยพลงมาชั้นล่างเพื่อความปลอดภัย[8]

อย่างไรก็ตาม ไม่มีการประกาศเตือนภัยสึนามิ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ระบุว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในภาคพื้นดินที่อยู่ห่างไกลเกินกว่าจะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอินเดีย

ตำแหน่งและความรุนแรง

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานตำแหน่งและความรุนแรงของแผ่นดินไหวสามครั้งใหญ่ดังนี้ [9]

วันที่ เวลา (UTC+7) จุดศูนย์กลาง ละติจูด ลองจิจูด ขนาด (ริกเตอร์) ลึกจากพื้นดิน (กม.) หมายเหตุ
24 มี.ค. 2554 20:55 สหภาพพม่า 20° 52' 12 N 99° 54' 36 E 6.7 10 รู้สึกสั่นไหวได้หลายพื้นที่ของภาคเหนือและกรุงเทพมหานคร
24 มี.ค. 2554 21:23 สหภาพพม่า 20° 35' 24 N 99° 51' 36 E 4.9 10
24 มี.ค. 2554 22:54 สหภาพพม่า 20° 42' 36 N 99° 50' 24 E 5.3 40

นอกจากนี้ยังมีแผ่นดินไหวตามที่มีความรุนแรงน้อยกว่าอีกหลายครั้ง

ผลกระทบในประเทศไทย

ความเสียหายในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นความเสียหายด้านอาคารสถานที่ ทั้งโบราณสถาน สถานที่ราชการ เส้นทางคมนาคมและบ้านเรือนของประชาชน ในพื้นที่ที่รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน

โบราณสถาน ศาสนสถาน

โบราณสถานเชียงแสน ในจังหวัดเชียงรายเป็นจุดที่พบความเสียหายมากที่สุด คือ พระธาตุเจดีย์หลวง ที่ยอดพระธาตุตั้งแต่ระฆังคว่ำด้านบนสุดความยาวประมาณ 3 เมตรหักโค่นลงมา กระทบกับเจดีย์เล็ก ที่ตั้งอยู่ใกล้ฐานของพระธาตุเจดีย์หลวง จนทำให้แตกหักทั้งยอดเจดีย์และพระธาตุองค์เล็ก พบรอยแตกร้าวที่องค์พระธาตุ นอกจากนี้ ยังมีการพังทลายของอิฐและคอนกรีตฉาบด้านนอกเป็นโพลงขนาดใหญ่[10] และที่พระธาตุจอมกิตติที่ยอดฉัตรของพระธาตุหักเอียงลงมา มีรอยร้าวรอบองค์พระธาตุ และแผ่นทองหุ้มพระธาตุบิดตัวและร่วงหล่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ทำรั้วกั้นห้ามเข้า เพื่อความปลอดภัยของประชาชน[11]

พระพุทธนวล้านตื้อ หรือ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำโขง บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ พบองค์พระมีรอยร้าวบริเวณพระเศียรด้านหลัง เส้นพระศก(เส้นพระเกศารูปก้นหอย) ร่วงหายไป 1 เส้น[12]

วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน จิตรกรรมฝาผนังรูปภาพยักษ์มาทำร้ายแม่ของคันธนกุมาร บริเวณประตูขึ้นทางทิศเหนือของวิหารของวัด ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว

สถานที่ราชการ

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พบรอยแตกร้าวระหว่างจุดเชื่อมต่อของอาคารสมเด็จย่าและอาคารเฉลิมพระเกียรติ จนต้องมีการอพยพผู้ป่วยออกมาจากอาคาร จากการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและโยธาธิการและผังเมืองของจังหวัด พบว่าเป็นเพียงการหลุดร่อนของปูนที่ฉาบไว้โดยไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ซึ่งจะได้ให้เจ้าหน้าที่กองแบบแผน กระทรวงสาธารณสุข มาทำการประเมินความเสียหายและดำเนินการซ่อมแซม และเตรียมนำผู้ป่วยขึ้นไปนอนพักบนอาคารดังกล่าวต่อไป[13]

อัคคีภัย

เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในห้างสรรพสินค้าเดอะแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยไฟไหม้อุปกรณ์ก่อสร้างบริเวณชั้นใต้ดินซึ่งกำลังมีการก่อสร้างเป็นลานจอดรถ ใช้เวลาในการดับเพลิงไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพลิงจึงสงบ โดยไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ปรากฏเพียงรอยไหม้บนพื้นเพียง 15 ตารางเมตร ไม่ได้ลุกลามมาทางห้าง ส่วนใหญ่มีเพียงควันลอยเข้าไป ทั้งนี้ มีบริษัท ซินเทค เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างบริเวณที่เกิดไฟไหม้

จากการสอบสวนเบื้องต้นคาดว่า ไฟไหม้วัสดุก่อสร้างซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นที่เก็บวัสดุก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม อยู่ระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุเพลิงไหม้ที่แท้จริงต่อไป [14]

อ้างอิง

  1. "Dozens killed and injured in Burma quake: official". The Sydney Morning Herald. Agence France-Presse. March 25, 2011. สืบค้นเมื่อ March 25, 2011.
  2. Magnitude 6.8 – MYANMAR
  3. Earthquakes, USGS. "Magnitude 5.4 – MYANMAR". United States Geological Survey. Earthquake Hazards Program. สืบค้นเมื่อ March 24, 2011.
  4. "North-east Burma hit by two 7.0 magnitude earthquakes". BBC. March 24, 2011. สืบค้นเมื่อ March 24, 2011.
  5. Hazard Risk Profile, ASEAN. "Earthquake". Post Nargis Knowledge Management Portal. Disaster Risk Management. สืบค้นเมื่อ 24 มี.ค. 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  6. แผ่นดินไหว!พม่าตายอย่างน้อย25ราย
  7. แผ่นดินไหวพม่าทำถนนแม่สายร้าว
  8. ระทึก!พม่าแผ่นดินไหว7ริกเตอร์สะเทือนถึงเชียงราย-กรุงเทพฯ
  9. แผ่นดินไหวที่ MYANMAR
  10. เจดีย์เก่าแก่กว่า 600 ปี ยอดหักจากแผ่นดินไหว
  11. แผ่นดินไหวพม่า! โบราณสถาน 4 แห่งในเชียงรายเสียหายหนัก
  12. โบราณสถานเชียงแสนเสียหายหนัก เหตุแผ่นดินไหวพม่า
  13. เหยื่อแผ่นดินไหวพม่าข้ามฝั่งเข้า รพ.แม่สาย คาดบ้านถล่ม-คนตายร่วมครึ่งร้อย
  14. ไฟไหม้ห้างแพลตตินั่ม สงบแล้ว

แหล่งข้อมูลอื่น