ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
|}}
|}}


'''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว''' รัชกาลที่ 3 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] พระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ"
'''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว''' รัชกาลที่ 3 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] พระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ" ( [[31 มีนาคม]] [[พ.ศ.2330]] - [[2 เมษายน]] [[พ.ศ.2394]])


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ใน[[รัชกาลที่ 2|พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] และองค์แรกที่ประสูติแต่[[เจ้าจอมมารดาเรียม]] เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ ([[31 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2330]]- [[2 เมษายน]] [[พ.ศ. 2394]]) ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]กับเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น [[กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย]] เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ [[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2367]] รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ใน[[รัชกาลที่ 2|พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] และองค์แรกที่ประสูติแต่[[เจ้าจอมมารดาเรียม]] เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ [[31 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2330]] ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]กับเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น [[กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย]] เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ [[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2367]] รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี
ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 5 พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ [[2 เมษายน]] [[พ.ศ. 2394]] รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา
ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 5 พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ [[2 เมษายน]] [[พ.ศ. 2394]] รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:05, 21 มีนาคม 2554

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ทับ)
ครองราชย์21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รัชสมัย27 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลถัดไปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประสูติ31 มีนาคม พ.ศ. 2330
สวรรคต2 เมษายน พ.ศ. 2394
พระราชบุตร51 พระองค์
วัดประจำรัชกาล
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดากรมสมเด็จพระศรีสุราลัย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ" ( 31 มีนาคม พ.ศ.2330 - 2 เมษายน พ.ศ.2394)

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี

ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 5 พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา

พระนามเต็ม

ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม "ทับ" ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเต็มว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว"

พระราชประวัติ

เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3

พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

พระราชกรณียกิจ

พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล

การคมนาคม

ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน

การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศน์ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายกและวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดารามและวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น

การศึกษา

ทรงทำนุบำรุง และ สนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปั้นตึ้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พุทธศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม

ด้านความเป็นอยู่

พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฏีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่องๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีศาสนาจารย์และนายแพทย์ชาวอเมริกันและอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ เอ็ม.ดี. หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของ หมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2339 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387

หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิสรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404

เหตุการณ์สำคัญในสมัย

  • พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
    • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่3แห่งราชวงศ์จักรี
    • โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้พระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
  • พ.ศ. 2369 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้:
    • ลงนามในสัญญา เบอร์นี
    • เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
  • พ.ศ. 2371 ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
  • พ.ศ. 2372 เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
    • กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    • โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
    • ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
  • พ.ศ. 2377 ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
  • พ.ศ. 2382 ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และ มีการเผาฝิ่น และ โรงยา ฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น เหล่านั้น
  • พ.ศ. 2393 อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
  • พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2394รวมพระชนมายุได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมับิตได้นานถึง 27 ปีเท่ากับพระราชอัยกา(พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

ดูเพิ่ม

ราชตระกูล

อ้างอิง

  • บ้านฝันดอตคอม
  • อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา,2543,หน้า 30-36
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(ราชวงศ์จักรี)

(พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว