ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิศวกรรมสารสนเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


[[en:Information Engineering]]
[[en:Information Engineering]]
[[de:Information Engineering]]
[[ja:情報工学]]
[[nl:Information Engineering]]
[[zh:資訊工程]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:55, 4 ธันวาคม 2549

วิศวกรรมสารสนเทศ (Information Engineering) เป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการข้อมูลข้าวสาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความต้องการของมนุษย์

การจัดการข้อมูล ในที่นี้นั้นหมายถึงการกระทำใดๆต่อข้อมูล เช่น การจัดเก็บ การรับส่งข้อมูล การประมวลผลข้อมูล เป็นต้น

สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ จะมุ่งเน้นการศึกษาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในสาขาต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ตลอดจนถึงสาขาทางวิศวกรรมไฟ้ฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบควบคุม เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แล้วส่งผ่านระบบโครงข่ายการสื่อสารแบบมีสายหรือแบบไร้สายไปยังปลายทาง ตลอดจนการจัดเก็บและการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น


วิศวกรรมสารสนเทศในประเทศไทย

ภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศเป็นชื่อใหม่ของ ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มองย้อนกลับไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีพ.ศ.2516 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้โอนเข้าสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อเริ่มแรกนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์มีภาควิชาเพียง 3 ภาค ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม

ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2517 เริ่มแรกภาควิชานี้ตั้งอยู่ที่ศูนย์นนทบุรี และตึกโทรคมนาคมที่ลาดกระบัง โดยเปิดสอนหลักสูตร ปริญญาตรีอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ)สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรทัศน์เพียงสาขาเดียว โดย รับนักศึกษาที่จบ ป.ว.ส. สาขาไฟฟ้าโทรคมนาคม สาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งมีการเรียนรอบค่ำเป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2539 ได้เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีโทรคมนาคม และสาขาเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นอีก และได้ย้ายภาควิชาจากตึกโทรคมนาคมมาอยู่ที่อาคาร 12 ชั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้งทางภาควิชาได้มีการทำวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนทางด้าน Broadcasting จากรัฐบาลญี่ปุ่นมาตลอด ทางภาควิชาจึงได้ผลักดันหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ เข้าในแผน 8 ในปี พ.ศ. 2536 และต่อมาปี พ.ศ. 2539 ทางทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้ทำการเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ ได้ในปี พ.ศ. 2541ซึ่งภาควิชานี้เป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ

ดูเพิ่ม