ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎหมายล้มละลาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:


[[หมวดหมู่:กฎหมาย]]
[[หมวดหมู่:กฎหมาย]]
[[en:Bankruptcy]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:40, 20 มีนาคม 2554

กฎหมายล้มละลาย เป็นกฎหมายทั้งสารบัญญัิติและวิธีสบัญญัติแขนงหนึ่ง ซี่งบัญญัติถึงกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ตั้งแต่เงื่อนไขการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย วิธีการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย การขอให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ซึ่งมีทั้งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การประนอมหนี้ รวมทั้งการขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีล้มละลายได้แก่ศาลล้มละลายกลาง

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายล้มละลายที่ใช้อยู่คือพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งได้มีการแก้ไขปรับปรุงตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในการบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนั้น ไทยได้นำการวางหลักกฎหมายส่วนใหญ่มาจากกฎหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกา

การบังคับใช้กฎหมายล้มละลาย จะต่างจากการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจากกฎหมายล้มละลายเป็นเพียงการบังคับใช้เพื่อให้เจ้าหนี้ได้มีหลักประกันว่าจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้อย่างแน่นอนและเท่าเทียมกัน (pari passu) และมีลักษณะที่เปิดช่องให้มีการเจรจา ประนีประนอมกันมากกว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งมุ่งระงับข้อพิพาททางแพ่งที่มีการโต้แย้งสิทธิกันเพื่อให้เจ้าหนี้ชนะคดีและบังคับเอาจากลูกหนี้เพียงอย่างเดียว