ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนเซนต์ดอมินิก"

พิกัด: 13°44′58″N 100°33′34″E / 13.749426°N 100.559436°E / 13.749426; 100.559436
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fox9aj7 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 229: บรรทัด 229:
* วงโยธวาทิตร่วมแสดงดนตรีต้อนรับคณะนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา[[เอเชี่ยนเกมส์]] ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ - ธันวาคม 2541
* วงโยธวาทิตร่วมแสดงดนตรีต้อนรับคณะนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา[[เอเชี่ยนเกมส์]] ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ - ธันวาคม 2541
* วงโยธวาทิตร่วมแสดงดนตรีในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกลและแปซิฟิกตอนใต้ ([[เฟสปิกเกม]]) ครั้งที่ 7 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ - มกราคม 2542
* วงโยธวาทิตร่วมแสดงดนตรีในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกลและแปซิฟิกตอนใต้ ([[เฟสปิกเกม]]) ครั้งที่ 7 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ - มกราคม 2542
* [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดและทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "พระภัทรมหาราชเจ้า ปกเกล้านิกรเกษม" เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ]]พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] ครบ 6 รอบ - 7 ธันวาคม 2542
* [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดและทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "พระภัทรมหาราชเจ้า ปกเกล้านิกรเกษม" เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] ครบ 6 รอบ - 7 ธันวาคม 2542
* เป็นโรงเรียนต้นแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์จากการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน - ปี 2543
* เป็นโรงเรียนต้นแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์จากการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน - ปี 2543
* ได้รับประกาศนียบัตรการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล [[ISO 9002]] จากสำนักงานใหญ่บริษัท SGS ประเทศ[[ออสเตรเลีย]] - 26 กรกฎาคม 2543 ถึง 26 กรกฎาคม 2546
* ได้รับประกาศนียบัตรการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล [[ISO 9002]] จากสำนักงานใหญ่บริษัท SGS ประเทศ[[ออสเตรเลีย]] - 26 กรกฎาคม 2543 ถึง 26 กรกฎาคม 2546

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:02, 10 มีนาคม 2554

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
Saint Dominic School
ไฟล์:ตราสัญลักษณ์โรงเรียนเซนต์ดอมินิก SD.jpg
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นซ.ด. / S.D.
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญขยัน ศรัทธา ร่าเริง
สถาปนา12 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
ผู้อำนวยการคณะนักบวชซาเลเซียน
สีน้ำเงิน ขาว
เพลงเพลงสดุดีเซนต์ดอมินิก
เว็บไซต์http://www.sd.ac.th

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก (อังกฤษ: Saint Dominic School) ตั้งอยู่บนเลขที่ 1526 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนชายล้วนในเครือซาเลเซียน จัดเป็นโรงเรียนเอกชนขนาดกลาง ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ และเป็นโรงเรียนลำดับที่ 7 สังกัดของ คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย

ประวัติ

โรงเรียนได้รับการสถาปนาจัดตั้งและถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เดิมโรงเรียนมีชื่อว่า "ดอนบอสโกวิทยา" โดยแยกออกจาก "โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก"เนื่องจาก โดนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ตัดเเบ่งครึ่งไปจนถึงเเยกคลองตัน เพื่อใช้เป็นที่เรียนวิชาสายสามัญ เปิดสอนเพียงชั้น ป.1 ก-ข-ค ถึง ป.5 ก-ข-ค จำนวนนักเรียนตามบัญชีเรียก 214 คน[1] ต่อมาในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เซนต์ดอมินิก"เนื่องจาก ชื่อ เซนต์ดอมินิก ซึ่งเป็นชื่อของชมรมซาเลเซียนเก่า ได้เปลี่ยนชื่อจากชมรม เซนต์ดอมินิก เป็นชื่อชมรมอื่น เราจึงนำชื่อนี้มาใช้ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 โดยมีนายปรีชา แสงสว่าง รับเป็นเจ้าของเอง (ทั้งผู้จัดการและครูใหญ่)เพราะหลักฐานเอกสารของ มูลนิธิยังไม่เรียบร้อยต่อมาโอนการเป็นเจ้าของให้แก่ "คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย" โดยมีบาทหลวงยอห์น อุลลิอานา เป็นเจ้าของ เจ้าของโรงเรียนในปัจจุบันได้แก่ "มิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพฯ" โดย บาทหลวงมนูญ สนเจริญ เป็นผู้ถือใบอนุญาต[2]

คณะผู้ใหญ่โรงเรียนเซนต์ดอมินิกในปัจจุบัน

  • อธิการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนได้แก่ บาทหลวงมนูญ สนเจริญ
  • รองอธิการโรงเรียนได้แก่ บาทหลวงอำนวย ฤทัยคงถาวร
  • ผู้จัดการโรงเรียน(เหรัญญิก)ได้แก่ ภารดาถนัด อนันต์-คุณพ่อ เกรียงศักดิ์ ไชพรเเก้ว(ซึ่งเข้ามาใหม่ ผมเป็นเด็กในโรงเรียน เเต่ท่านน่าจะเป็น เหรัญญิก
  • ครูใหญ่ ได้แก่ นายสุธนะ ตั้งตระกูล

ปัจจุบันโรงเรียนเซนต์ดอมินิกเปิดรับตั้งแต่ระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีครูไทยจำนวน 173 คน ครูต่างชาติ จำนวน 15 คน และนักเรียนรวมประมาณ 3,000 คน

เปิดตัวชั้นประโยค

ป.1 ปีแรก ปี 2504
ป.7 ปีแรก ปี 2506
ป.4 ปีแรก ปี 2507
ม.ศ.3 ปีแรก ปี 2509
ม.ศ.5 ปีแรก ปี 2514
เริ่ม ป.1 หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ปี 2521
เริ่ม ม.1 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 ปี 2521
จบ ม.3 ปีแรก ปี 2523
เริ่ม ม.4 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 ปี 2524
จบ ป.6 ปีแรก และ ม.6 ปีแรก ปี 2526
เริ่ม ป.1, ม.1 และ ม.4 หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ปี 2534
จบ ม.3 และ ม.6 หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ปีแรก ปี 2536
เริ่ม ป.1, ป.4, ม.1 และ ม.4 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ปี 2545

สัญลักษณ์ของโรงเรียน

ตราประจำโรงเรียน

ไฟล์:รายละเอียดสัญลักษณ์ SD.gif
ตราประจำโรงเรียนประกอบด้วย โล่ ดาว หัวใจ ช่อดอกไม้และช่อชัยพฤกษ์
  • โล่ หมายถึง ความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวในการดำเนินชีวิตให้เป็นผู้ที่น่าเคารพนับถือ
  • ดาว หมายถึง ความสว่างแห่งสติปัญญา
  • หัวใจ หมายถึง ความร้อนรนในความรักต่อกันและกัน
  • ช่อดอกไม้ หมายถึง เจตนาที่บริสุทธิ์และความเที่ยงตรงในการทำความดี
  • ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง ชัยชนะหรือสัญลักษณ์แห่งความดีที่ได้กระทำ

สีประจำโรงเรียน

สีน้ำเงิน เป็นสีของท้องฟ้า ซึ่งมีความกว้างใหญ่ไพศาล โอบอุ้มจักรวาลทั้งหมด แทนความหมายที่ว่า นักเรียนของโรงเรียนเซนต์ดอมินิกจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจกว้างขวาง โอบอ้อมอารีและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อทุกคน

สีขาว เป็นสีแห่งความสะอาด บริสุทธิ์ แทนความหมายที่ว่า นักเรียนของโรงเรียนเซนต์ดอมินิกจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ มองโลกและทุกสิ่งทุกอย่างในแง่ดี

เครื่องแบบนักเรียนจากอดีตถึงปัจจุบัน

เครื่องแบบนักเรียนในสมัยแรกเริ่ม ใช้เสื้อเชิ้ตสีขาว พร้อมปักอักษรย่อ ด.ว. ต่อมาเปลี่ยนเป็น ด.ก. ภายหลังจากเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น เซนต์ดอมินิก เครื่องแบบเสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาวปักไหมแดง อักษรย่อ ซ.ด. และเลขประจำตัวบนอกขวา (มัธยมปลายติดเข็มเชิดชูเกียรติตราโรงเรียนบนอกขวา เหนืออักษร ซ.ด.) เข็ดขัดหนังสีดำ หัวเข็มขัดตราโรงเรียน กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน ถุงเท้าสีขาว และรองเท้าสีดำ [3]

เพลงประจำสถาบัน

  • เพลง สดุดีเซนต์ดอมินิก
  • เพลง บิดา อาจารย์ และเพื่อนของเยาวชน
  • Graduation Song
  • ดอนบอสโก...แสงทองแห่งจิตใจ

ทำเนียบอธิการโรงเรียนเซนต์ดอมินิก

ลำดับ รายชื่อ วาระการดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1 บาทหลวงยอห์น อุลลิอานา 2504-2505
2 บาทหลวงยอร์ช ไบน้อตตี 2506
3 บาทหลวงอัลบีโน ปองกิโอน 2507-2508
4 บาทหลวงมัสสิมีลิอาโน โกมิเอโร 2509
5 บาทหลวงแอนโทนี สมิต 2510
6 บาทหลวงประพนธ์ ชัยเจริญ 2511-2515
7 บาทหลวงยอห์น อีวาโน แปร์ตีเล่ 2515-2518
8 บาทหลวงประธาน ศรีดารุณศีล 2519-2520
9 บาทหลวงตีโต เปตรอน 2520-2521
10 บาทหลวงไรมุนโด การ์เซีย 2522
11 บาทหลวงยอห์น บัพตีสตา โกลมบีนี 2523
12 บาทหลวงบัพตีสตา แปร์โซเนนี 2524-2525
13 บาทหลวงยอห์น อีวาโน แปร์ตีเล่ 2526-2531
14 บาทหลวงชาร์ลส์ เวลาร์โด 2532-2534
15 บาทหลวงอารอน อัลโกเซบา 2535-2540
16 บาทหลวงบรรจง สันติสุขนิรันดร์ 2541-2543
17 บาทหลวงอุดม นิธิภัทราภรณ์ 2544-2551
18 บาทหลวงมนูญ สนเจริญ 2552 - ปัจจุบัน

อาคาและสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียนเซนต์ดอมินิก

อาคารเรียนในปัจจุบัน

  • SAVIO (7 ชั้น)
  • BOSCO (3 ชั้น)
  • MICHAEL RUA [4] (4 ชั้น)
  • มารีอนุสรณ์ 48 ปี 8ชั้น(+ชั้นM+ชั้นดาดฟ้า คือ 10ชั้น)

อาคารมารี (2509-2551)

อาคารมารีหรือตึกเจ้าคณะ (2509-2551) ปัจจุบันคืออาคารมารีอนุสรณ์ 48 ปี
ถ้ำพระแม่มารี เคยอยู่บริเวณอาคารมารี

อาคารมารี เป็นชื่อตึกที่ในอดีตเคยเรียกว่า "ตึกเจ้าคณะ" หรือ "บ้านเจ้าคณะ" เพราะเป็นที่ตั้งสำนักงานคณะนักบวชซาเลเซียน และเป็นที่พำนักของคุณพ่อเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนในประเทศไทย รวมทั้งผู้ใหญ่ท่านอื่นด้วย ปัจจุบันได้สร้างอาคารมารีอนุสรณ์ 48 ปีแทนอาคารมารีหลังเดิม[5]โดยเป็นตึกสีขาว เอียงเป็นตัวLมีสระว่ายน้ำหนึ่งสระ มีลิฟต์3ตัว บันได2ด้าน(ด้านหัวLเเละท้ายL)ชั้น1จะเป็นห้องโถง โดยจะมีวัดพระเเม่องค์อุปถัมป์ไว้ทำพิธีต่างๆชั้น2จะเป็นของน้อง ป.4 ชั้น 3 จะเป็นของน้อง ป.5โดยมีห้องรวมครูวิทย์เเละห้องเรียงขับร้อง ชั้น 4ของน้องป.6โดยมีห้องสมุด (ของพี่มัธยม)ชั้น5จะเป็นชั้นของห้องคอมพ์ สาระสนเทศ เเละห้องรวมครูที่ใหญ่มากๆ เเละชั้น6ของชั้นม.1จะมีห้องครูรวมสังคม ห้องlabห้อง ไวโอลิน ห้องประชุมย่อย ชั้น7 จะมีห้องม.2 ห้องพักนักบวช ผู้ใหญ่ในโรงเรียน เเละห้องรวมครูคณิตศาสตาร์ ชั้น8มีห้องม.3 ห้องพัก-ห้องรวมครูภาษาไทย เเละชั้นสุดท้าย ชั้นดาดฟ้า

ตึกมารีย์มีกล้องวงจรปิดทั้งสิ้น 24 ตัว(เฉพาะนอกห้อง)เเละมีห้องเรียน 50กว่าห้อง เเละถือเป็นตึกที่สร้างเก่าเเต่นำมาดัดเเปลงใหม่เเละทันสมัยที่สุดในโรงเรียน

ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญด้านอาคารสถานที่

  • พิธีวางศิลฤกษ์อาคารบอสโก 3 ชั้น (และสร้างเสร็จในปี 2508) - 7 กรกฎาคม 2505
  • สร้างอาคารมารี - ปี 2508-2509
  • สร้างอาคารไมเคิล รัว (ตึกวิทย์, ม.ศ.ต้น) - ปี 2511
  • สร้างอาคารบอสโก 4 ชั้น (ตึกห้องสมุด และ ม.ศ.ปลาย) - ปี 2512
  • พิธีเปิดอาคารไมเคิล รัว (ตึกวิทย์, ม.ศ.ต้น) และมอบใบรับรองวิทยฐานะ โดยนายสุกิจ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ - 7 กุมภาพันธ์ 2513
  • พิธีเปิดอาคารบอสโก 4 ชั้นและห้องสมุดมัธยมศึกษา โดยนายสมชัย วุฒิปรีชา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน - 10 พฤศจิกายน]] 2516
  • สร้างอาคารซาวีโอและหอประชุมใหญ่ - ปี 2522
  • พิธีเปิดอาคารซาวีโอและหอประชุมใหญ่ โดย ศาตราจารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน ปลัดประทรวงศึกษาธิการ - 19 ธันวาคม 2524
  • ย้ายเสาธงจากหน้าอาคารบอสโกไปอยู่ที่กึ่งกลางสนาม - ปี 2528
  • สร้างอนุสาวรีย์นักบุญยอห์น บอสโก และนักบุญดอมินิก ซาวีโอ หน้าอาคารบอสโก - ปี 2528
  • ปรับปรุงวัดน้อยอาคารมารีและตั้งชื่อใหม่ว่า "วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์" - ปี 2541
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเจิมศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังใหม่ (ตึกมารีอนุสรณ์ 48 ปี) - 7 ธันวาคม 2542
  • สร้างโดมโครงหลังคาผ้าใบบริเวณสนามวอลเลย์บอล, สนามตะกร้อ - มีนาคม-เมษยน 2545
  • สร้างอาคารมารีอนุสรณ์ 48 - ปี 2551-2552

ลำดับเหตุการ์สำคัญและรางวัลต่างๆ

  • ได้รับโล่จาก ดร.ภิญโญ สาธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโรงเรียนจัดกิจกรรม และมีนักเรียนมีความประพฤติดี (คัดจากโรงเรียนสังกัด สช. กว่า 300 โรงเรียน โดยคัดเอา 10 โรงเรียน) - 11 มกราคม 2520
  • พิธีเสกและเปิดอนุสาวรีย์นักบุญยอห์น บอสโก และนักบุญดอมินิก ซาวีโอ โดยพระคาร์ดินัล ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฆลกรุงเทพฯ - 8 ธันวาคม 2529
  • งานฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งมรณกรรมของคุณพ่อบอสโก ผู้สถาปนาคณะนักบวชซาเลเซียนอินดอร์ สเตเดียม การกีฬาแห่งประเทศไทย - 28 มกราคม 2532
  • ประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ครั้งที่ 13 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศถ้วยพระราชทาน ประเภท ก - 8 มกราคม 2537
  • ประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ครั้งที่ 14 ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ รางวัลคทากรดีเด่น - 16 มกราคม 2538
  • วงโยธวาทิตร่วมประกวดดนตรีนานาชาติ ครั้งที่ 8 ณ เมือง Alsfeld สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทนั่งบรรเลงและประเภทดนตรีสนามพร้อมทั้งโล่แห่งความประทับใจจากชาวเมือง Alsfeld - 24-28 สิงหาคม 2538
  • ได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นระดับประถมศึกษาขนาดกลาง และ ห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน - 2 ตุลาคม 2539
  • วงโยธวาทิตร่วมประกวดดนตรีชิงแชมป์โลก ครั้งทื่ 13 ณ เมือง Kerkrade ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ได้รับรางวัลเหรียญทองประเภทสวนสนาม และประเภทการแสดงสนาม รางวัลเหรียญเงินประเภทพาเหรด 5-6 กรกฎาคม 2540
  • วงโยธวาทิตร่วมแสดงดนตรีต้อนรับคณะนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ - ธันวาคม 2541
  • วงโยธวาทิตร่วมแสดงดนตรีในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกลและแปซิฟิกตอนใต้ (เฟสปิกเกม) ครั้งที่ 7 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ - มกราคม 2542
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดและทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "พระภัทรมหาราชเจ้า ปกเกล้านิกรเกษม" เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ - 7 ธันวาคม 2542
  • เป็นโรงเรียนต้นแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์จากการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน - ปี 2543
  • ได้รับประกาศนียบัตรการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9002 จากสำนักงานใหญ่บริษัท SGS ประเทศออสเตรเลีย - 26 กรกฎาคม 2543 ถึง 26 กรกฎาคม 2546
  • ได้รับรางวัลในโครงการ "หน้าบ้านหน้ามอง" จากสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร - 1 สิงหาคม 2543
  • ได้รับรางวัล "โรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพในดวงใจ" จากสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถานีวิทยุ จส.100 - 18 ตุลาคม 2544
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ - 11 มกราคม 2545
  • โรงเรียนแกนนำวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ปี 2545
  • ได้รับการประกาศเป็น สถานศึกษาเข้มแข็งปลอดยาเสพติด รับมองธง และโล่เชิดชูเกียรติจาก นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - 17 พฤศจิกายน 2546
  • ได้รับฉลองสารตราตั้งโรตารีสากล - 5 พฤศจิกายน 2547

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. [หนังสืออนุสรณ์ 2546]
  2. [หนังสืออนุสรณ์ 2546]
  3. Credit:nongdominic
  4. Michael Rua
  5. สารศิษย์เก่า ซ.ด. สัมพันธ์

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′58″N 100°33′34″E / 13.749426°N 100.559436°E / 13.749426; 100.559436