ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การท่องเที่ยวในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 100: บรรทัด 100:
*[[จังหวัดกระบี่|กระบี่]]
*[[จังหวัดกระบี่|กระบี่]]
*[[จังหวัดพังงา|พังงา]]
*[[จังหวัดพังงา|พังงา]]
*[[จังหวัดสงขลา|สงขลา]]-[[หาดใหญ่]]
*[[จังหวัดสงขลา|สงขลา]]-[[เทศบาลนครหาดใหญ่|หาดใหญ่]]


'''ภาคกลาง'''
'''ภาคกลาง'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:06, 1 มีนาคม 2554

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารในจังหวัดน่าน

การท่องเที่ยว เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทย มีส่วนทำให้ค่าจีดีพีของไทยอยู่ที่ประมาณ 6.7% ใน พ.ศ. 2550[1]

ภาพรวม

รูปหล่อ กินรี ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

สาเหตุที่การท่องเที่ยวไทยได้รับการสนับสนุนมากขึ้นใน พ.ศ. 2503 นั้น เพราะมีความมั่นคงทางการเมือง และมีการพัฒนากรุงเทพมหานครในเรื่องของการคมนาคมทางอากาศ ทำให้ธุรกิจโรงแรมและการค้าปลีกขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีความต้องการจากนักท่องเที่ยว และยังได้รับการส่งเสริมจากทหารอเมริกันที่เข้ามาพักผ่อนในช่วงสงครามเวียดนามอีกด้วย[2] พร้อมกันนั้นการท่องเที่ยวระหว่างประเทศก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการดำรงชีวิตของผู้คนที่มีเวลาว่างมากขึ้น และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้สามารถเดินทางได้เร็วกว่า, ราคาถูกกว่า และดีกว่า ด้วยโบอิง 747 ซึ่งให้บริการเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2513[3] ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชียที่ได้รับผลประโยชน์จากกรณีนี้

จำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดิมที่มีชาวต่างชาติ 336,000 ราย และทหารที่เข้ามาพัก 54,000 นายใน พ.ศ. 2510[2] กลายเป็นชาวต่างชาติมากกว่า 14 ล้านคนใน พ.ศ. 2550 โดยระยะเวลาเฉลี่ยที่อยู่ในประเทศไทยใน พ.ศ. 2550 อยู่ที่ประมาณ 9.19 วัน ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากถึง 547,782 ล้านบาท[4] ใน พ.ศ. 2550 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ไปท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก ด้วยจำนวน 14.5 ล้านคน ขณะที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก โดยมีมากถึง 82 ล้านคนเลยทีเดียว[5]

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า[6] 55% ของนักท่องเที่ยวใน พ.ศ. 2550 มาจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา และสแกนดิเนเวีย ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางและรัสเซียก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน[7] ประมาณ 55% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นผู้ที่กลับมาเพื่อเยี่ยมบ้านเกิด ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ถึงปีใหม่ เมื่อนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกหนีสภาพหนาวเย็น

การท่องเที่ยวในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 187,898 ล้านบาทใน พ.ศ. 2541 เป็น 380,417 ล้านบาทใน พ.ศ. 2550[4]

นักท่องเที่ยวชาวเอเชียส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวที่กรุงเทพมหานคร และโบราณสถาน, สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในปริมณฑล ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจะไม่มาเพียงแค่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น แต่จะเดินทางไปยังชายหาดและหมู่เกาะต่างๆทางภาคใต้ ส่วนภาคเหนือเป็นพื้นที่หลักในการเดินป่าและผจญภัยบนหมู่บ้านชาวเขา รวมไปถึงป่าและภูเขาต่างๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานเป็นภาคที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปน้อยที่สุด นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้มีการจัดตั้งตำรวจท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอีกด้วย[8]

ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการค้าประเวณียังมีเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ตาม โดยรัฐบาลไทยได้มีความพยายามที่จะติดตามและควบคุมปัญหาดังกล่าว คาดว่ามีชาวต่างชาติประมาณ 20% จากการค้าประเวณีทั้งหมดในประเทศไทย และในปัจจุบันยังมีการค้าประเวณีอย่างแพร่หลายในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น เมืองพัทยา, ถนนพัฒน์พงศ์ และหาดป่าตอง[9]

การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ มีมากขึ้นตั้งแต่ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม เปิดให้มีการท่องเที่ยวระหว่างประเทศขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 และ พ.ศ. 2533 สถานที่ท่องเที่ยวอย่างนครวัด, เมืองหลวงพระบาง และอ่าวฮาลอง สามารถแข่งขันกับประเทศไทยซึ่งเคยผูกขาดด้านการท่องเที่ยวในแถบอินโดจีน ทำให้ประเทศไทยต้องมีการกำหนดเป้าหมายต่างๆ มากขึ้น เช่น การตีกอล์ฟในวันหยุด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแผนที่จะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคอีกด้วย[10] จากข้อมูลของโลนลี่แพลเน็ต ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ใน "จุดหมายคุ้มค่าสุดสำหรับ พ.ศ. 2553" รองจากไอซ์แลนด์ ซึ่งได้รับกระทบอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์[11]

สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทย

สถิติโดยภาพรวมประจำปี

ปี (พ.ศ.) จำนวนนักท่องเที่ยว (คน) เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน (ร้อยละ) อ้างอิง
2553 15,841,683 11.96 % [12]
2552 14,149,841 -2.98 % [13]
2551 14,584,220 ไม่มีข้อมูล

15 อันดับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ข้อมูลจาก กรมการท่องเที่ยว ประจำปี พ.ศ. 2553 [14]

อันดับ ประเทศ จำนวน (คน) ร้อยละ (นักท่องเที่ยวทั้งหมด)
1  มาเลเซีย 1,969,629 12.39
2  จีน[15] 1,127,803 7.12
3  ญี่ปุ่น 984,763 6.22
4  สหราชอาณาจักร 818,303 5.17
5  เกาหลีใต้ 815,970 5.15
6  อินเดีย 791,185 4.99
7  ออสเตรเลีย 715,612 4.52
8  ลาว 689,673 4.35
9  สหรัฐ 620,496 3.92
10  เยอรมนี 612,620 3.87
11  รัสเซีย 611,019 3.86
12  สิงคโปร์ 579,105 3.66
13  ฝรั่งเศส 458,292 2.89
14  เวียดนาม 401,188 2.53
15  ไต้หวัน 385,689 2.43

คำขวัญรณรงค์เที่ยวไทย

คำขวัญหลักในการรณรงค์ท่องเที่ยวประเทศไทยคือ "มหัศจรรย์ประเทศไทย" (อังกฤษ: Amazing Thailand) ต่อมา พ.ศ. 2552 เกิดวิกฤตการณ์ด้านการท่องเที่ยวจึงมีการจัดโครงการ "มหัศจรรย์ประเทศไทย มหัศจรรย์คุณค่า" (อังกฤษ: Amazing Thailand, Amazing Value)[16]

ท่องเที่ยวไทย

ท่องเที่ยวไทย (อังกฤษ: Unseen In Thailand) เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ โดยได้รับเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยคนไทย

เสน่ห์

ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วในจังหวัดบุรีรัมย์

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายที่สุดประเทศหนึ่ง โดยมีทั้งจุดดำน้ำ, หาดทราย, เกาะนับร้อย, สถานบันเทิงที่หลากหลาย, โบราณสถาน, พิพิธภัณฑ์, หมู่บ้านชาวเขา, สวนดอกไม้และจุดชมนกที่ยอดเยี่ยม, พระราชวัง, วัดขนาดใหญ่ และมรดกโลกจำนวนมาก มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ตามหลักสูตรระหว่างอยู่ในประเทศไทย สิ่งที่นิยมได้แก่ชั้นเรียนการทำอาหารไทย, พระพุทธศาสนา และการนวดแผนไทย เทศกาลของไทยมีตั้งแต่เทศกาลที่สนุกกับการสาดน้ำอย่างสงกรานต์ ไปจนถึงประเพณีในตำนานอย่างลอยกระทง ท้องถิ่นจำนวนมากในประเทศไทยมีเทศกาลของพวกเขาเองเช่นกัน ที่มีชื่อเสียงได้แก่ "การจัดงานแสดงช้าง" ในจังหวัดสุรินทร์, "ประเพณีบุญบั้งไฟ" ในจังหวัดยโสธร เทศกาลน่าสงสัยอย่าง "ผีตาโขน" ในอำเภอด่านซ้าย.

อาหารไทยบางอย่างมีชื่อเสียงทั่วโลกด้วยการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศสด จากส้มตำอร่อยไม่แพงที่ร้านริมถนนเรียบง่ายในชนบทถึงอาหารไทยในร้านอาหารชวนชิมของกรุงเทพฯ ยากมากที่จะไม่ได้กินดีในประเทศไทย

กรุงเทพมหานครมีชื่อเสียงจากห้างสรรพสินค้าหลักในบริเวณใจกลางเมือง ให้ความหลากหลายของสินค้ายี่ห้อท้องถิ่นและนานาชาติ ไปทางเหนือของเมืองมี"ตลาดนัดจตุจักร" ซึ่งสามารถเดินทางได้สะดวกด้วยรถไฟฟ้าและใต้ดิน เป็นไปได้ว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขายสินค้าทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์ใช้งานในบ้าน[17] ไปจนถึงสัตว์ชนิดต่างๆ ตลาด "ประตูน้ำ" ใจกลางเมือง เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านผ้าและเสื้อผ้า นักท่องเที่ยวเน้นตลาดกลางคืนในถนนสีลมและบนถนนข้าวสารเป็นหลัก ซึ่งขายสินค้าเช่น เสื้อยืด, หัตถกรรม, นาฬิกาข้อมือและแว่นกันแดด ในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพมหานครสามารถหาตลาดน้ำยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงเช่นในดำเนินสะดวก "ตลาดถนนคนเดินวันอาทิตย์เย็น" จัดบนถนนราชดำเนินในเมืองเก่าเป็นไฮไลต์ของการช็อปปิ้งเมื่อไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือของประเทศไทย มันดึงดูดคนท้องถิ่นมากมายรวมทั้งชาวต่างประเทศ "ไนท์บาซาร์" ในเชียงใหม่เป็นตลาดที่นักท่องเที่ยวเน้นเช่นกัน ซึ่งขยายไปหลายช่วงของเมือง แค่ผ่านกำแพงเมืองเก่าไปตามแม่น้ำ

ภูมิอากาศ

ดวงอาทิตย์ขึ้นที่หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

ภูมิอากาศส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือ ภูมิอากาศแบบเขตร้อนหรือแบบสะวันนา ขณะที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็น ภูมิอากาศแบบมรสุม[18]

ประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้ 3 ฤดูกาล:

  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูกาลที่อากาศดีมากในเดือนธันวาคมสำหรับจังหวัดเชียงใหม่ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืน และประมาณ 28 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน อากาศดีท้องฟ้าแจ่มใส ส่วนในบริเวณที่สูงกว่าอย่างบนภูเขานั้นในเวลากลางคืนอุณหภูมิเกือบถึงจุดเยือกแข็ง ในกรุงเทพมหานคร, ภาคกลาง และภาคอีสาน จะมีอุณภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส
  • ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ในเวลากลางวันจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส เป็นช่วงเวลาที่จะมีการจัดเทศกาลต่างๆ (เช่น สงกรานต์ และประเพณีบุญบั้งไฟ) เพื่อต้อนรับฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ในเวลากลางวันจะมีอุณภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส และในเวลากลางคืนจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส โดยฝนมักจะตกลงมาในเวลากลางวันและช่วงเย็น

ภาคใต้ส่วนที่ลึกกว่าคอคอดกระจะมีภูมิอากาศแบบมรสุม ในเวลากลางวันจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 31 องศาเซลเซียส และมีฝนตกบ่อยครั้ง ภาคตะวันตกจะได้รับผลกระทบจากลมมรสุมในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ส่วนภาคตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับผลกระทบตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม[19]

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

แผนที่ประเทศไทย

ภาคใต้

ภาคกลาง

ภาคเหนือ

ภาคอีสาน

ดูเพิ่ม

หอไตร ของวัดทุ่งศรีเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี
การขายร่มที่ถนนคนเดินวันอาทิตย์ในจังหวัดเชียงใหม่
หญิงชาวกะเหรี่ยง

ทั่วไป

ศิลปะและวัฒนธรรม

ธรรมชาติและกีฬา

ภาษา

  • ภาษาไทย
  • ทิงลิช ภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากผู้ใช้ภาษาไทย
  • ฝรั่ง คำภาษาไทยที่ใช้เรียกชาวต่างชาติที่เชื้อสายยุโรป

การท่องเที่ยว

อ้างอิง

น้ำตกศรีดิษฐ์ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
  1. http://www.bangkokpost.com/tourismreview2007/10.html
  2. 2.0 2.1 http://repository.kulib.kyoto-u.ac.jp/dspace/bitstream/2433/56779/1/KJ00000132246.pdf
  3. http://www.unesco.org/education/tlsf/TLSF/theme_c/mod16/uncom16t01.htm
  4. 4.0 4.1 http://www2.tat.or.th/stat/web/static_index.php
  5. UNTWO (2008). "UNTWO World Tourism Barometer, Vol.6 No.2" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-12-03. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  6. http://www.tourismthailand.org/about-tat/about-tat-47-1.html
  7. http://www2.tat.or.th/stat/web/static_download.php?Rpt=ita
  8. http://www.amazing-thailand.com/Police.html
  9. http://www2.hu-berlin.de/sexology/IES/thailand.html
  10. http://www.bangkokpost.com/business/tourism/36769/outbound-travel-on-the-upswing
  11. http://www.bangkokpost.com/travel/travelnews/158928/thailand-second-in-best-value
  12. http://tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php?cid=30 สืบค้นข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ 2554
  13. http://tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php?cid=27 สืบค้นข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ 2554
  14. http://tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php?cid=30 สืบค้นข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ 2554
  15. ไม่รวม ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า
  16. http://issuu.com/iasiamagazine/docs/iasia_09_p01-64 page 34
  17. http://cms.iucn.org/index.cfm?uNewsID=850
  18. http://koeppen-geiger.vu-wien.ac.at/
  19. http://www.worldweather.org/089/m089.htm

แหล่งข้อมูลอื่น