ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Broadbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: da:Insulær kunst
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: no:Insulær kunst
บรรทัด 62: บรรทัด 62:
[[it:Arte insulare]]
[[it:Arte insulare]]
[[nl:Insulaire kunst]]
[[nl:Insulaire kunst]]
[[no:Insulær kunst]]
[[pt:Arte hiberno-saxónica]]
[[pt:Arte hiberno-saxónica]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:30, 23 กุมภาพันธ์ 2554

หน้า (folio 292r) จากพระวรสารเคลล์สที่เขียนตกแต่งอย่างวิจิตร

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน หรือ ศิลปะเกาะ (อังกฤษ: Hiberno-Saxon art หรือ Insular art) เป็นลักษณะงานศิลปะที่สร้างขึ้นบนหมู่เกาะบริติชในบริเตนสมัยหลังโรมัน และใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับอักษรไฮเบอร์โน-แซ็กซอน (Insular script) ที่ใช้กันในขณะนั้นด้วย สมัยที่มีการสร้างงานศิลปะดังกล่าวเรียกว่า “the Insular period in art” ซึ่งมาจากคำว่า “insula” ของภาษาละตินที่แปลว่า “เกาะ” ในช่วงเวลานี้ศิลปะของบริเตน และ ไอร์แลนด์ มีลักษณะร่วมกันที่แตกต่างจากบริเวณอื่นๆ ของยุโรป นักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะจัดศิลปะเกาะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป และ ศิลปะของยุคกลางตอนต้นของยุโรป ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง[1]

ศิลปะเกาะส่วนใหญ่มีที่มาจากคณะเผยแพร่ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตติชของคริสต์ศาสนาเคลติก หรืองานโลหะสำหรับผู้นำที่เป็นคฤหัสน์ ช่วงเวลาเริ่มต้นก็ในราว ค.ศ. 600 โดยการรวมลักษณะเคลต์และแองโกล-แซ็กซอน เช่นงานตกแต่งที่พบที่ซัททันฮู ในอังกฤษการผสานทำให้กลายเป็นศิลปะแองโกล-แซ็กซอนราว ค.ศ. 900 ขณะที่ในไอร์แลนด์ลักษณะศิลปะดังกล่าวยังคงดำเนินต่อมาจนถึงราว ค.ศ. 1200 เมื่อไปผสานกับศิลปะโรมาเนสก์ ไอร์แลนด์, สกอตแลนด์ และ ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรียทางตอนเหนือของอังกฤษเป็นศูนย์กลางอันสำคัญ แต่ก็มีตัวอย่างงานที่พบทางตอนใต้ของอังกฤษและเวลส์[2] และบนแผ่นดินใหญ่ยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณกอล (ฝรั่งเศสปัจจุบัน) ในศูนย์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยคณะเผยแพร่ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตติช และ คณะเผยแพร่ศาสนาแองโกล-แซ็กซอน อิทธิพลของศิลปะเกาะมีผลต่อศิลปะของยุคกลางของยุโรปทุกสาขา โดยเฉพาะในการตกแต่งรายองค์ประกอบของหนังสือโรมาเนสก์และกอธิค

ตัวอย่างงานศิลปะเกาะที่ยังคงหลงเหลืออยู่ส่วนใหญ่เป็นงานหนังสือวิจิตร, งานโลหะ และ งานสลักหิน โดยเฉพาะการสลักกางเขนหิน (High cross) ซึ่งเป็นการตกแต่งอย่างละเอียดแต่ไม่เน้นการแสดงความลึก ตัวอย่างก็ได้แก่พระวรสารเคลล์ส, พระวรสารลินดิสฟาร์น, พระวรสารเดอร์โรว์, เข็มกลัดเช่นเข็มกลัดทารา และ กางเขรูธเวลล์ หนังสือก็จะมีลักษณะที่เรียกว่าหน้าลายพรม และมีบ้างที่เป็นภาพเหมือนประกาศก

อ้างอิง

  1. Honour & Fleming, 244-247; Pächt, 65-66; Walies & Zoll, 27-30
  2. see Ricemarch Psalter

บรรณานุกรม

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หนังสือวิจิตรไฮเบอร์โน-แซ็กซอน