ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปางสมาธิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
*เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดี
*เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดี
*'''พระคาถาบูชา'''สำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดี สวด 19 จบ
*'''พระคาถาบูชา'''สำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดี สวด 19 จบ
ปูเรนตัม โพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะราฯ
'''ปูเรนตัม โพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะราฯ'''
จิรัสสัง วายะมัน ตานิเนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมมัน ตินติ อักขาตัง ปะริตตัน ตัมภะฌามะเหฯ
'''จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมมัน ตินติ อักขาตัง ปะริตตัน ตัมภะฌามะเหฯ'''


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:55, 28 พฤศจิกายน 2549

ไฟล์:พระปางสมาธิ.jpg
ลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิ (ปางตรัสรู้)

ปางสมาธิ เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท(เท้า)ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย)จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือ นั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกัน (ปางขัดสมาธิเพชร)

ประวัติความเป็นมา

เป็นท่านั่งสมาธิหลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดมาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก (ปางมารวิชัย) ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลส บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน ซึ่งเป็นส่วนของรูปสมาบัติ ที่เรียกว่า "เข้าฌานสมาบัติ" จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์วิปัสสนา จนได้บรรลุ "ญาณ" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "อภิญญาญาณ" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ ๓ ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "บุพเพนิวาสานุสติญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "อาสวักขยญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจสี่ คือความทุกข์ (ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) และวิธีดับทุกข์ (มรรค)

ความเชื่อและคตินิยม

  • เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดี
  • พระคาถาบูชาสำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดี สวด 19 จบ
ปูเรนตัม โพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะราฯ
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมมัน ตินติ อักขาตัง ปะริตตัน ตัมภะฌามะเหฯ

อ้างอิง

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
  • http://www.dhammathai.org/pang/pang.php
  • http://www.lekpluto.com/index02/special06.html
  • http://www.banfun.com/