ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มกระจุกดาราจักร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต เพิ่ม: ru:Сверхскопление галактик
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ro:Super-roi de galaxii
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
[[pl:Supergromada]]
[[pl:Supergromada]]
[[pt:Superaglomerado de galáxias]]
[[pt:Superaglomerado de galáxias]]
[[ro:Super-roi de galaxii]]
[[ru:Сверхскопление галактик]]
[[ru:Сверхскопление галактик]]
[[sv:Superhop]]
[[sv:Superhop]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:02, 13 กุมภาพันธ์ 2554

กลุ่มกระจุกดาราจักร (อังกฤษ: Supercluster) คือโครงสร้างขนาดใหญ่ของกลุ่มและกระจุกดาราจักรจำนวนมาก เป็นหนึ่งในบรรดาโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล ลักษณะการมีอยู่ของกลุ่มกระจุกดาราจักรบ่งชี้ว่า ดาราจักรในเอกภพของเราไม่ได้กระจายตัวอย่างเป็นระเบียบ ดาราจักรส่วนมากจับกลุ่มอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มและกระจุก โดยกลุ่มของดาราจักรประกอบด้วยดาราจักรประมาณ 50 แห่ง ส่วนกระจุกประกอบด้วยดาราจักรหลายพันแห่ง กลุ่มและกระจุกเหล่านี้รวมกับดาราจักรเดี่ยวอีกจำนวนหนึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างที่ใหญ่กว่า เรียกว่า กลุ่มกระจุกดาราจักร

โครงสร้างระดับกลุ่มกระจุกดาราจักรนั้นเชื่อว่าเป็นโครงสร้างย่อยของกำแพงหรือชีทขนาดยักษ์ บางครั้งอาจเรียกว่า "กลุ่มกระจุกดาราจักรอันซับซ้อน" ซึ่งอาจมีความกว้างถึง 1 พันล้านปีแสง หรือมากกว่า 5% ของขนาดของเอกภพที่สังเกตได้ ขณะที่ตัวกลุ่มกระจุกดาราจักรเองอาจมีขนาดราวไม่กี่ร้อยล้านปีแสง ความเร็วโดยทั่วไปของดาราจักรอยู่ที่ประมาณ 1000 กิโลเมตรต่อวินาที ตามกฎของฮับเบิลที่ระบุว่า ดาราจักรทั่วไปสามารถเคลื่อนที่ได้ 30 ล้านปีแสงที่ความเร็วฮับเบิล 1/H ซึ่งมีค่าโดยประมาณเท่ากับอายุของเอกภพ แม้นี่จะเป็นระยะทางอันมโหฬารเมื่อเทียบกับขนาดของมนุษย์ แต่ต้องถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของกลุ่มกระจุกดาราจักร

ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างระดับที่ใหญ่กว่ากลุ่มกระจุกดาราจักร (ดูเพิ่มที่ ใยเอกภพ) ช่องว่างระหว่างกลุ่มกระจุกดาราจักรเป็นที่ว่างขนาดใหญ่ในอวกาศซึ่งไม่ค่อยมีดาราจักรอยู่ ปัจจุบันกลุ่มกระจุกดาราจักรเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่จำนวนโดยรวมของกลุ่มกระจุกดาราจักรทำให้คิดกันว่า มีความเป็นไปได้ของการกระจายตัวของโครงสร้างที่ใหญ่กว่านั้น เชื่อว่ามีกลุ่มกระจุกดาราจักรในเอกภพทั้งสิ้นประมาณเกือบ 10 ล้านแห่ง

ดูเพิ่ม