ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวีปยุโรป"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: si:යුරෝපය
บรรทัด 700: บรรทัด 700:
[[sg:Aêropa]]
[[sg:Aêropa]]
[[sh:Evropa]]
[[sh:Evropa]]
[[si:යුරෝපය]]
[[simple:Europe]]
[[simple:Europe]]
[[sk:Európa]]
[[sk:Európa]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:16, 25 มกราคม 2554

แผนที่โลกแสดงที่ตั้งของทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน

ทวีปยุโรปมีพื้นที่ 10,600,000 ตร.กม. เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากทวีปออสเตรเลีย แต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ปี พ.ศ. 2546 ยุโรปมีประชากรราว 799,466,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรโลก

ประเทศในทวีปยุโรป

ประเทศ เมืองหลวง ขนาดพื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (ล้านคน) (2551)
ธงชาติกรีซ กรีซ เอเธนส์
130,463
11.2
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย ซาเกร็บ
55,882
4.4
ธงชาติเช็ก สาธารณรัฐเช็ก ปราก
78,864
10.4
ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน ซานมารีโน
61
0.03
ธงชาติเซอร์เบีย เซอร์เบีย เบลเกรด
88,361
12.1
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน
42,593
5.5
ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ ออสโล
320,466
4.8
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อัมสเตอร์ดัม
41,019
16.4
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซาราเยโว
50,537
3.8
บัลแกเรีย บัลแกเรีย โซเฟีย
109,627
7.6
เบลเยียม เบลเยียม บรัสเซลส์
30,164
10.7
เบลารุส เบลารุส มินสก์
205,194
9.7
โปรตุเกส โปรตุเกส ลิสบอน
91,320
10.6
โปแลนด์ โปแลนด์ วอร์ซอ
312,056
38.1
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ปารีส
537,666
62.0
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ
334,288
5.3
มอนเตเนโกร มอนเตเนโกร พอดกอรีตซา
91,320
10.6
มอลโดวา มอลโดวา คีชีเนา
13,812
0.6
มอลตา มอลตา วัลเลตตา
312
0.4
มาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนีย สโกเปีย
25,416
2.0
โมนาโก โมนาโก โมนาโก
1.5
0.03
ยูเครน ยูเครน เคียฟ
597,007
46.2
เยอรมนี เยอรมนี เบอร์ลิน
352,914
82.2
รัสเซีย รัสเซีย มอสโก
16,877,291
141.9
โรมาเนีย โรมาเนีย บูคาเรสต์
234,749
21.5
ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก
2,555
0.5
ลัตเวีย ลัตเวีย รีกา
63,851
2.3
ลีชเทินชไตน์ ลิกเตนสไตน์ วาดุซ
160
0.04
ลิทัวเนีย ลิทัวเนีย วิลนีอุส
64,445
3.4
นครรัฐวาติกัน นครรัฐวาติกัน วาติกัน
0.5
0.0009
สเปน สเปน มาดริด
498,936
46.5
สโลวาเกีย สโลวาเกีย บราติสลาวา
49,036
5.4
สโลวีเนีย สโลวีเนีย ลูบลิยานา
19,761
2.0
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เบิร์น
40,809
7.6
สวีเดน สวีเดน สตอกโฮล์ม
444,754
9.2
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร ลอนดอน
241,275
61.3
ออสเตรีย ออสเตรีย เวียนนา
82,885
8.4
อันดอร์รา อันดอร์รา อันดอร์ราลาเวลลา
448
0.1
อิตาลี อิตาลี โรม
297,789
59.9
เอสโตเนีย เอสโตเนีย ทาลลินน์
44,577
1.3
แอลเบเนีย แอลเบเนีย ติรานา
28,416
3.2
ไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ เรคยาวิก
101,809
0.3
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ดับลิน
69,471
4.5
ฮังการี ฮังการี บูดาเปสต์
91,953
10.0
สหภาพยุโรป ทวีปยุโรป
10,600,000 1 745.9069 2
  • 1 ไม่รวมรัสเซียตะวันออกไกล
  • 2 ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ

ลักษณะภูมิประเทศ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรป

ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่ ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของเกาะอังกฤษ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก

  1. เขตที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบที่อยู่ระหว่างที่ราบกับเขตเทือกเขา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางของทวีป มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 25 ของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ภาคใต้ของเยอรมนีและโปแลนด์
  2. เขตเทือกเขาแบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
    • เทือกเขาภาคเหนือ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เทือกเขาแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในสกอตแลนด์ เวลส์ และเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งมีขนาดเตี้ยและเกิดขึ้นมานานแล้ว
    • เทือกเขาภาคใต้ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเทือกเขานี้มีขนาดสูงและยังเป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบดี จึงเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อย ๆ

ภูมิภาค

การแบ่งภูมิภาคของทวีปยุโรป:

ทวีปยุโรป แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคใหญ่ ๆ คือ

ประวัติศาสตร์

เมืองสำคัญ

ทวีปยุโรปมีหลายเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก ทวีปยุโรปจึงเป็นทวีปที่มีการคมนาคมที่สะดวกสบายเป็นอย่างมาก การคมนาคมส่วนใหญ่จะเป็นระบบราง เช่น รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการคมนาคมระหว่างเมืองและระหว่างประเทศ

ภูมิศาสตร์

ทวีปยุโรป ทิศเหนือติดต่อกับ มหาสมุทรอาร์กติก ดินแดนเหนือสุด เกาะโนวายา เซมลิยา ทิศใต้ติดต่อกับ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออก ติดกับทวีปเอเชีย มีเทือกเขาอูราล ทะเลแคสเปียน แม่น้ำโวลกากั้นระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย

ลักษณะภูมิอากาศ

เขตอากาศของทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็น 7 เขตดังนี้

  1. เขตภูมิอากาศแบบทุนดรา หรืออากาศแบบขั้วโลก เป็นเขตอากาศที่หนาวเย็นจัดตลอดทั้งปี ส่วนฤดูร้อนสั้นประมาณ 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยของเขตนี้ เฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ มอสส์ ตะไคร่น้ำ เขตอากาศทุนดราของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและบริเวณทางเหนือสุดของประเทศรัสเซีย
  2. เขตอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนมีระยะเวลายาวกว่าเขตภูมิอากาศแบบทุนดรา ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ คือ ป่าสนหรือป่าไทกา บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์
  3. เขตอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น เพราะอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางทวีป จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทร พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบผสมกัน ส่วนบริเวณที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติจะเป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ ดินแดนของประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย
  4. เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะของอากาศในเขตนี้ คือ ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด เพราะเขตนี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เขตนี้มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื้น ฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทั้งปีอยู่ที่ 750-1,500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ครอบคลุมบริเวณของประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เยอรมนี สหราชอาณาจักร และทางตอนใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน
  5. เขตภูมิอากาศอบอุ่นชื้น ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ อากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศร้อน มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้เขตอบอุ่นหรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ออสเตรีย และฮังการี
  6. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีแสงแดดตลอดทั้งปี ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวจะมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี พืชพรรรณธรรมชาติเป็นเขตอบอุ่น เรียกว่า ป่าไม้เมดิเตอร์เรเนียน เช่น คอร์กโอ๊ก ส้ม มะนาว องุ่น มีป่าไม้มีหนามแหลม เรียกว่า ป่ามากี (maquis) บริเวณที่มีลักษณะอากาศแบบนี้ คือ บริเวณที่มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส เซอร์เบีย และกรีซ
  7. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะสำคัญของอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีปริมาณฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าขึ้นเบาบาง

ทรัพยากรธรรมชาติในทวีปยุโรป

สำหรับบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำก็มีความอุดมสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่น้ำพามาทับถมกัน จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก

เนื่องจากทวีปยุโรปอยู่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล จึงได้รับอิทธิพลจากลมตะวันตก ทำให้ทวีปยุโรปมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี โดยสถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ คือ 1,500 มิลลิเมตรต่อปี

  • ป่าไม้ เนื่องจากทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมมาก จึงทำให้ป่าไม้ส่วนใหญ่ถูกทำลาย ประกอบกับทวีปยุโรป เป็นทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงต้องใช้พื้นที่เป็นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย แหล่งป่าไม้ที่สำคัญของทวีปยุโรป คือ บริเวณสหราชอาณาจักร เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์

ลักษณะของป่าไม้ในทวีปยุโรป เป็นป่าไม้เนื้ออ่อนและป่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่พบมาก คือ ไม้สน ในประเทศฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์

  • แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญของทวีปยุโรป คือ
แร่ธาตุ
พบมากใน
เหล็ก
รัสเซีย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ยูเครน เยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย โรมาเนีย และโปแลนด์
ถ่านหิน
สหราชอาณาจักร เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ยูเครน และเยอรมนี
บอกไซต์
ฝรั่งเศส ฮังการี กรีซ และเซอร์เบีย
ตะกั่ว
บัลแกเรีย อิตาลี และเยอรมนี
น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
เขตทะเลเหนือและกลุ่มเครือรัฐเอกราช
ทองแดง
สวีเดนและสเปน
สังกะสี
เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน โปแลนด์ และอิตาลี
โพแทช
เยอรมนีและฝรั่งเศส

เศรษฐกิจ

ทวีปยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจรุ่งเรืองมาก โดยมีการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่า กลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งมีบทบาทมากต่อเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ สมาชิกจี 8 จำนวน 8 ประเทศ มีสมาชิกอยู่ในทวีปยุโรปมากถึง 5 ประเทศ คือ รัสเซีย เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสหราชอาณาจักร

  • หลังเกิดวิกฤตการเงินโลก 2010 ที่กรีซ ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงเหวอย่างหนัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มขาดสภาพคล่องทางการเงินจากปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น
  • ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปยุโรป 10 อันดับแรก1
อันดับ (ยุโรป) ประเทศ ค่าจีดีพี (ล้าน$) ปี 2552 อันดับ (โลก)
-
สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป
16,447,259
-
1
เยอรมนี เยอรมนี
3,352,742
4
2
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
2,675,951
5
3
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
2,183,607
6
4
อิตาลี อิตาลี
2,118,264
7
5
สเปน สเปน
1,464,040
9
6
รัสเซีย รัสเซีย
1,229,227
12
7
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
794,777
16
8
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
494,622
19
9
เบลเยียม เบลเยียม
470,400
20
10
โปแลนด์ โปแลนด์
430,197
21
  • ตารางแสดงประเทศในทวีปยุโรปที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
อันดับ (ยุโรป) ประเทศ ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2552 อันดับ (โลก)
1
ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก
104,512
1
2
นอร์เวย์ นอร์เวย์
79,085
2
3
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
67,560
4
4
เดนมาร์ก เดนมาร์ก
56,115
5
5
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์
51,356
6
6
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
48,223
7
7
ออสเตรีย ออสเตรีย
45,989
10
8
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์
44,492
12
9
สวีเดน สวีเดน
43,986
13
10
เบลเยียม เบลเยียม
43,533
14

บทบาทของทวีปยุโรปในเวทีโลก

วิกฤตการเงินกรีซ 2010

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:Link FA ak:Yurop